Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72153
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัญญา กันตะบุตร-
dc.contributor.authorสุกัญญา ตาตุen_US
dc.date.accessioned2021-09-10T03:45:26Z-
dc.date.available2021-09-10T03:45:26Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72153-
dc.description.abstractThis independent study is aimed to study the impact of tourism towards quality of life of resident in Mueang Lampang District by using quality of life concept to apply in this research. The data was collected by using the questionnaires from 400 samples and analyzed by using descriptive statistics consisted of frequency, percentage, mean, and validity test by Factor Analysis and reliability test using the Cronbach's Alpha of the component used to measure the impact of tourism towards quality of life, then analyzed the relationship between the elements affecting the quality of life and the satisfaction of the quality of life by using multiple regression analysis at the statistical significance value of 0.05. The results were summarized as follows. The findings revealed that most of the respondents were single female with the age of 21-30 years. They educated in undergraduate. Most of the respondents’ occupation are students and the average salary less than 10,000 baht. These respondents lived in Muang Lampang District for 11-20 years, mostly in Chompoo Subdistrict. They most agreed on promoting of tourism . The results of the Factor Analysis found that all 8 variables consisted of Community wellbeing, Urban issues, Way of life, Community pride and awareness, Natural/ cultural preservation, Economic strength, Recreation amenities, and Crime and substance abuse (Andereck & Nyaupane, 2011) can be re-grouped into four new variables of quality of life: Community image, Economic structure, Community well-being, and Community problem management. The results of the impact of tourism on quality of life in terms of Community image found that tourism had moderate impact on quality of life. The sub-element with the highest average score in this group was the Community pride. In terms of Economic structure, it was found that tourism had high positive impact on the quality of life. The sub-element with the highest average score was the diversity of festivals, fairs and community museums. In terms of Community well-being, it was found that tourism had moderate impact on quality of life. The sub-element with the highest average score were the beauty of the community. In terms of Community problem management, it was found that tourism had moderate impact on quality of life. The sub-element with the highest average score was suitable land zoning. The result of analyzing relationship between the elements impact the quality of life and the satisfaction of the quality of life, it was found that Community problem management impact to the overall quality of life. The Community well-being and Community problem affecting the quality of life to the resident who live near tourist attractions. All of four elements did not affect the quality of life of the residents who live away from tourist attractions.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอเมืองลำปางen_US
dc.title.alternativeImpact of Tourism Towards Quality of Life of Residents in Mueang Lampang Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc915.9367-
thailis.controlvocab.thashการท่องเที่ยว -- ลำปาง-
thailis.controlvocab.thashลำปาง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิต -- ลำปาง-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 915.9367 ส4111ผ 2563-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อคุณภาพชีวิต ของประชาชนในอำเภอเมืองลำปาง โดยใช้แนวคิดองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตมาประยุกต์ใช้ใน งานวิจัยและทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย และนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความเที่ยงตรง (Validity ) โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และทดสอบความน่าเชื่อถือ (Reliability) โดยใช้ค่าครอนบาคอัลฟ่า (Cronbach’s Alpha) ขององค์ประกอบที่ใช้วัดผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อคุณภาพชีวิต และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจของคุณภาพชีวิต โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังต่อไปนี้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองลำปาง 11-20 ปี โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตำบลชมพู ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) พบว่า ตัวแปรทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านความ ผาสุกในชุมชน ด้านปัญหาในเมือง ด้านวิถีชีวิต ด้านความภาคภูมิใจและความตระหนักของชุมชน ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ด้านสิ่งอำนวยความ สะดวกเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และด้านการป้องกันอาชญากรรมและการใช้สารเสพติด (Andereck & Nyaupane , 2011) สามารถนำมาจัดกลุ่มตัวแปรใหม่ได้ 4 องค์ประกอบคุณภาพชีวิต ดังนี้ ด้านภาพลักษณ์ของชุมชน ด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ด้านความผาสุกในชุมชน และด้านการจัดการปัญหาในชุมชน ผลการศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อคุณภาพชีวิตในด้านภาพลักษณ์ของชุมชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านภาพลักษณ์ของชุมชนส่งผลกระทบ ปานกลางต่อคุณภาพชีวิต โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านความ ภาคภูมิใจของชุมชน ในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อ องค์ประกอบด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบทางบวกมากจากการท่องเที่ยวต่อคุณภาพชีวิตโดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านความหลากหลายของเทศกาลงานแสดงสินค้าและพิพิธภัณฑ์ชุมชน ในด้านความผาสุกในชุมชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านความผาสุกในชุมชนส่งผลกระทบปานกลางต่อคุณภาพชีวิต โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากที่สุด คือ ความสวยงามของชุมชน และในด้านการ จัดการปัญหาในชุมชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านการ จัดการปัญหาในชุมชนส่งผลกระทบปานกลางต่อคุณภาพชีวิต โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมากที่สุด คือ ด้านการแบ่งเขตที่ดินอย่างเหมาะสม (โซนนิ่ง) เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจของคุณภาพชีวิต พบว่า องค์ประกอบด้านการจัดการปัญหาในชุมชนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในภาพรวม องค์ประกอบด้านความผาสุกในชุมชนและด้านการจัดการแก้ปัญหาในชุมชนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในกลุ่มที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว และองค์ประกอบชีวิตทั้ง 4 ด้านไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในกลุ่มที่อาศัยอยู่ห่างจากแหล่งท่องเที่ยวen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601532076 สุกัญญา ตาตุ.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.