Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72152
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัญญา กันตะบุตร-
dc.contributor.authorปัณณภัสร์ ปันดอนen_US
dc.date.accessioned2021-09-10T03:42:25Z-
dc.date.available2021-09-10T03:42:25Z-
dc.date.issued2020-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72152-
dc.description.abstractThe objective of this independent study was to study the attitude of consumers in Mueang Chiang Mai District towards the service marketing mix of Smart Bus of Regional Transit Corporation Company Limited. This study was conducted based on a conceptual framework of attitude, namely: cognition, opinion, and behavioral trend as well as marketing mix (4 P’s), namely: product, price, place, and promotion. The researcher collected data from 314 people who have lived / worked / studied in Mueang Chiang Mai District and both Thai and foreign tourists who have traveled in Mueang Chiang Mai District. A questionnaire was used as a research instrument. The data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, and mean as well as inferential statistics used to compare the difference of mean between two population groups (t-test). The results of this study indicated that most of the respondents were female students / students, had single status, were 21-30 years old, graduated with a bachelor's degree / have been studying in bachelor's degree, earned monthly income 10,001-20,000 baht and never used Smart Bus. In terms of attitude, the respondents’ overall cognition on RTC Smart Bus was at the moderate level. In terms of marketing mix, an aspect with the highest mean was product, that was drivers should drive politely and obey traffic laws, followed by place, that was seats and roof should be provided in RTC Smart Bus, promotion, that was font size in publicity signs should be clearly legible, price, what was QR CODE payment channel should be available to pay for RTC Smart Bus fare, respectively. Besides, the respondents were prone to use and recommend others to use the service of RTC Smart Bus in the future. When mean scores on consumer opinion on the market mix of RTC Smart Bus between people who have lived / worked / studied in Mueang Chiang Mai District and both Thai and foreign tourists who have traveled in Mueang Chiang Mai District were compared, there were the differences in sub-factors of place, such as booths should be set to sell RTC Transit Rabbit Card should be available in large department stores in Mueang Chiang Mai District and RTC Smart Bus signs should be prepared in 3 languages, Thai, English and Chinese. It was found that people who have lived / worked / studied in Mueang Chiang Mai District had higher agreement with these items than tourist group.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อส่วนประสมการตลาดบริการของรถโดยสารอัจฉริยะ ของบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัดen_US
dc.title.alternativeAttitude of consumers in Mueang Chiang Mai District towards service marketing mix of smart bus of regional transit corporation company limiteden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.8342-
thailis.controlvocab.thashบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashรถยนต์โดยสาร -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 658.8342 ป114ท 2563-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อส่วนประสมการตลาดบริการของรถโดยสารอัจฉริยะ ของบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์-เรชั่น จำกัด ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น และแนวโน้มพฤติกรรม และส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix : 4 P’s) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านการจัดจำหน่าย (Place) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เก็บข้อมูลจากผู้ที่อาศัย/ ทำงาน/ กำลังศึกษา ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่มาท่องเที่ยวในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน 314 ราย โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ยังใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่ม (t-test) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/ นักศึกษา เพศหญิง มีสถานะภาพโสด อายุ 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี/ กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี รายได้ 10,001-20,000 บาท และไม่เคยใช้บริการรถโดยสารอัจฉริยะฯ ด้านทัศนคติพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริการรถโดยสารอัจริยะฯ ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยระดับความคิดเห็นในภาพรวมต่อส่วนประสมการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์และบริการสูงที่สุด ในเรื่องพนักงานขับรถควรขับรถอย่างสุภาพและปฏิบัติตามกฎจราจร รองลงมาคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ในเรื่องป้ายรถโดยสารอัจฉริยะฯ RTC ควรมีที่นั่งและหลังคากันแดดและฝน ด้านการส่งเสริมการตลาด ในเรื่องป้ายประชาสัมพันธ์และแจ้งข้อมูลควรมีขนาดตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และด้านราคา ในเรื่องควรมีช่องทางการชำระค่าโดยสารรถอัจฉริยะฯ RTC ผ่านทาง QR code ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มพฤติกรรมอาจจะใช้บริการและอาจจะแนะนำให้ผู้อื่นใช้บริการรถโดยสารอัจฉริยะฯ RTC ในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการตลาดของรถโดยสารอัจฉริยะฯ ระหว่างผู้ที่อาศัย/ ทำงาน/ กำลังศึกษา ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่มาท่องเที่ยวในอำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่ามีความแตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยของด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่ ควรมีการตั้งบูธจำหน่ายบัตร RTC Transit Rabbit Card ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ และข้อมูลบนป้ายรถโดยสารอัจฉริยะฯ RTC ควรมี 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และจีน โดยกลุ่มที่อาศัย/ ทำงาน/ กำลังศึกษา ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เห็นด้วยมากกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601532059 ปัณณภัสร์ ปันดอน.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.