Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมจินตนา แขนงแก้วen_US
dc.contributor.authorนพดล จอกแก้วen_US
dc.contributor.authorศิริมา ปัญญาเมธีกุลen_US
dc.date.accessioned2021-04-23T08:50:34Z-
dc.date.available2021-04-23T08:50:34Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 141-155en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttps://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_3/12.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72019-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีen_US
dc.description.abstractกิจกรรมในงานก่อสร้างถนนเป็นหนึงในแหล่งกำเนิดที่ก่อใหเ้กิดฝุ่นละอองขนาดไม่ เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในบริเวณหน่วยงานก่อสร้าง ส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อคนงาน ในหน่วยงานก่อสร้างและประชาชนบริเวณโดยรอบ ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีแก้ไขและลดปัญหาการเกิดฝุ่นละอองจากบริเวณ แหล่งกำเนิด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษากระบวนการวัดและวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองที่มีแหล่งกำเนิด จากกิจกรรมก่อสร้างถนนด้วยเครื่องมือวัดฝุ่นแบบพกพา (Dylos air quality monitor) โดยเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง ที่เกิดจากกิจกรรมก่อสร้างได้แก่กิจกรรมเทดินและกิจกรรมเกลี่ยดิน ณ พื้นที่ก่อสร้างของโครงการบูรณะโครงข่าย สายหลักระหว่างภาค ทางหลวงหมายเลข 1 สายตากถึงพะเยา ตอน 4 ส่วนที่ 1 (ลำปาง-งาว) (เป็นตอน ๆ) แบ่งเป็นกิจกรรม ละ 3 วัน วันละ 8 ชั่วโมง จำนวนชุดข้อมูลทั้งหมด 204 ชุดข้อมูล และนำเสนอแนวทางการลดปริมาณฝุ่นละออง ที่เกิดจากกิจกรรมก่อสร้างถนนด้วยการปรับปรุงขั้นตอนการก่อสร้างได้แก่ 1. เพิ่มการฉีดพ่นน้ำในกิจกรรมเทดิน 2.เพิ่มการติดตั้งแผงกันฝุ่นละอองรอบบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในกิจกรรมเกลี่ยดิน จากการศึกษาพบว่าปริมาณเฉลี่ย ของฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในกิจกรรมเทดิน ประกอบดว้ย 1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่าเท่ากับ 688,261 particle/ft3 และ 2.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มีค่าเท่ากับ 92,854 particle/ft3 และปริมาณเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในกิจกรรมเกลี่ยดิน ประกอบด้วย 1. ฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่าเท่ากับ 810,790 particle/ft3 และ 2.ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มีค่าเท่ากับ 31,057 particle/ft3 เมื่อทำการปรับปรุงขั้นตอนการก่อสร้างในกิจกรรมก่อสร้างได้แก่การฉีดพ่นน้ำ และการใช้แผงกันฝุ่นละออง พบว่าสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในบริเวณก่อสร้างได้สูงสุด 83 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติแบบทั่วไป Activities of road construction are known as a major source of particulate matter occurrences. The activities create both particulate matter 2.5 (PM2.5) and particulate matter 10 (PM10) which affects construction labors and people in the surrounding area. Nowadays, the problem of particulate matter occurrences from the source area still remain and it cannot be solved. Thus, this research aims to study the process of measurement and analyze particulate matter occurrences from road construction activities by using Dylos air quality monitor. In this research, the data were collected at a selected road construction site in 2 activities, which are filling activities and grading activities. The selected road construction site is the road rehabilitation project between the regional highway network: National highway 1 Tak-Phayao route part 4 section 1 (Lampang-Ngao). Data in each activity was collected 8 hours a day in 3 days. The total number of data collection is 204 sample sets. Finally, reduction methods of particulate matter occurrence from road construction activities are proposed using construction process improvement. The methods are water spray in the filling activity and dust screen installation in the grading activity. From this study, the average of particulate matter 2.5 (PM2.5) and particulate matter 10 (PM10) in filling activity are 688,261 particle/ft3 and 92,854 particle/ft3 , respectively. The average of particulate matter 2.5 (PM2.5) and particulate matter 10 (PM10) particulate matters in grading activity are 810,790 particle/ft3 and 31,057 particle/ft3 , respectively. After the implementation of water spray in the filling activity and dust screen installation in the grading activity, the particulate matter occurrence was reduced by 83 percentage compared to the conventional practice.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectฝุ่นละอองen_US
dc.subjectกิจกรรมก่อสร้างถนนen_US
dc.subjectการปรับปรุงการก่อสร้างen_US
dc.subjectparticulate matteren_US
dc.subjectroad construction activityen_US
dc.subjectconstruction process improvementen_US
dc.titleการวัดและลดปริมาณการเกิดฝุ่นละอองจากกิจกรรมในโครงการก่อสร้างถนนen_US
dc.title.alternativeMeasurement and Reduction of Particulate Matter from Road Construction Activitiesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.