Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71050
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี-
dc.contributor.advisorอภิญญา เฟื่องฟูสกุล-
dc.contributor.advisorอริยา เศวตามร์-
dc.contributor.authorสาลาม๊ะ หลงสะเตียะen_US
dc.date.accessioned2020-10-22T03:43:09Z-
dc.date.available2020-10-22T03:43:09Z-
dc.date.issued2020-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71050-
dc.description.abstractThis thesis aims to understand the phenomenon of domestic violence against Aceh Muslim Wives as a result of social changes in a historical context that affects the transformation of gendered power relation discourse between husband and wife in households and society. The aforementioned shift causes the distillation which normalized domestic violence against women and condenses the culture of violence against women in the private sphere. The study applied ethnographic research by collecting data from the lived experiences of 13 women aged between 25 and 65 who have defined themselves as victims of domestic violence perpetrated by their husbands in Banda Aceh, Kabupaten Aceh Besar, and Kabupaten Aceh Utara. The ethnographic fieldwork was conducted from October 2014 to February 2017. The study shows that, firstly, macro-structural changes especially in terms of religion in a historical context related to power relations between husband and wife opened an opportunity to turn over the old value of gendered power relations between husband and wife and elevated males status over women. This increased male gender-based power over their wives unconditionally. Secondly, the social transition of Aceh due to politics in relation to the religion or the interpretation of the Islamic law regarding gendered power relations played a role in pushing women to the edge. This results in the function of the power of men working across, breakthrough and insert social classes and status, which underscore the importance of class and status were acting not as the main factors of understanding domestic violence against women. Lastly, the two aforementioned changes did not only give men more gendered power but also internalized women with the subjectivity as Aceh Muslim women. In negotiating the definition of women in marital relationships in Aceh, most women chose to identify themselves as Aceh Muslim Wives, although they held different definitions of wife in regard to violence. Therefore, divorce or getting out of a marital relationship did not necessarily mean that those women challenged patriarchy in their families. This was because the tradition in Aceh barely had an opportunity for women to define themselves outside the box, in which they had to rely on their husbands and family. With no way to define their freedom of gender, the women of Aceh remain dependent on their husbands and families to build their subjectivity whether it is during a relationship or after divorce. In the meantime, their own relatives or kinship were found to be the main factors that supported the women’s inferiority and most of them were likely to protect the men.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัวen_US
dc.subjectผู้หญิงen_US
dc.subjectเขตปกครองพิเศษอาเจะห์en_US
dc.titleความรุนแรงในครอบครัวกับการต่อรองตัวตนและความทุกข์ทนของผู้หญิงในเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียen_US
dc.title.alternativeDomestic violence and negotiating subjectivities and suffering of women in Aceh special region, Indonesiaen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashความรุนแรงในครอบครัว-
thailis.controlvocab.thashเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว-
thailis.controlvocab.thashความรุนแรงในคู่สมรส-
thailis.controlvocab.thashสตรีมุสลิม-
thailis.controlvocab.thashสตรีมุสลิม -- การดำเนินชีวิต-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการทำความเข้าใจปรากฏการณ์การใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อภรรยามุสลิมอาเจะห์ ในฐานะผลิตผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในบริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อการพลิกผันของชุดวาทกรรมความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวและสังคม เป็นการพลิกผันที่ก่อให้เกิดการกลั่นตัวไปสู่การทำให้ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน และเกิดการฝังแน่นด้วยวัฒนธรรมการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในปริมณฑลส่วนตัว การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาโดยเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงผู้นิยามตัวเองเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวโดยสามี อายุระหว่าง 25 – 65 ปี จำนวน 13 กรณี ในเขตพื้นที่เมืองบันดาอาเจะฮ์ (Banda Aceh) มณฑลอาเจะห์ เบซาร์ (Kabupaten Aceh Besar) และมณฑลอาเจะห์ตอนเหนือ (Kabupaten Aceh Utara) การทำวิจัยภาคสนามเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 – เดือนกุมภาพันธ์ 2560 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ประการแรก การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระดับมหภาค โดยเฉพาะโครงสร้างทางศาสนาในบริบททางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา ได้เปิดโอกาสให้เกิดการพลิกผันของระบบคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในครอบครัวระหว่างสามีภรรยาจากชุดเดิม นำไปสู่การสามารถทำให้ผู้ชายในฐานะสามีเลื่อนฐานะและชนชั้นเหนือผู้หญิง โดยเป็นอำนาจที่ทำงานบนฐานของความเป็นเพศชายในฐานะเพศซึ่งมีอำนาจนำที่ชอบธรรมเหนือภรรยาโดยไร้เงื่อนไข ประการที่สอง ผลจากการเปลี่ยนผ่านของสังคมอาเจะห์อันเนื่องมาจากการเมืองของการใช้ศาสนาหรือการเมืองเรื่องตีความกฎหมายอิสลามว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศ มีส่วนผลักผู้หญิงไปอยู่ในสภาวะปลายสุด ที่เป็นผลพวงจากการทำงานของอำนาจนำของผู้ชายที่ข้าม ฝ่า และแทรกสถานะและชนชั้นทางสังคม ซึ่งทำให้ชนชั้นหรือสถานะไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้เข้าใจความรุนแรงต่อผู้หญิงในระบบครอบครัวได้เลย ประการที่สาม การเปลี่ยนแปลงทั้งสองประการข้างต้น ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่สภาวการณ์ที่ผู้ชายมีอำนาจทางเพศเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการที่ผู้หญิงมีการรับเอาตัวตนความเป็นผู้หญิงมุสลิมอาเจะห์ (Internalized) เข้ามาเป็นตัวตนของตนเอง ซึ่งทำให้พบว่า ในการต่อรองความหมายเรื่องความเป็นผู้หญิงในอาเจะห์ในระบบความสัมพันธ์ครอบครัวระหว่างสามีภรรยานั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะต่อรองตัวตนในฐานะที่เป็นภรรยามุสลิมอาเจะห์ เพียงแต่ผู้หญิงมีการเลือกที่จะนิยามความเป็นภรรยาในมิติที่เชื่อมโยงกับความรุนแรงที่ต่างกัน ดังนั้น การหย่า การออกจากความสัมพันธ์สามีภรรยาจึงไม่อาจพิจารณาได้ว่า ผู้หญิงได้ท้าทายระบบอำนาจชายเป็นใหญ่ในครอบครัว การที่เป็นเช่นนี้ เนื่องด้วย ในสังคมจารีตแบบอาเจะห์ ผู้หญิงไม่พื้นที่มากพอที่จะสามารถนิยามตัวตนออกนอกกรอบของความเป็นผู้หญิงที่จะไม่พึ่งพาสามีและครอบครัว การต้องเผชิญกับความรุนแรงของผู้หญิง ถึงที่สุด ในเมื่อสังคมไม่เปิดพื้นที่ให้กับการนิยามเสรีภาพทางเพศของผู้หญิง ในฐานะที่จะเป็นผู้หญิงอิสระ ผู้หญิงจึงยังคงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาสามีและครอบครัวในการสร้างตัวตนของตนเอง ไม่ว่าจะในปัจจุบันหรือในอนาคตหลังจากออกจากความสัมพันธ์ผ่านการหย่าร้างไปแล้ว ในขณะเดียวกัน พบว่า ในเครือญาติใกล้ชิดของผู้หญิงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสนับสนุน หรือผลิตซ้ำการตกเป็นเบี้ยล่างผู้ชายของผู้หญิง และเครือญาติส่วนใหญ่จะปกป้องผู้ชายen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
560451004 สาละม๊ะ หลงสะเตียะ.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.