Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69773
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาคริต โชติอมรศักดิ์-
dc.contributor.authorวรลักษณ์ ไก่งามen_US
dc.date.accessioned2020-10-05T08:07:41Z-
dc.date.available2020-10-05T08:07:41Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69773-
dc.description.abstractThe study of “Analysis of Drought Characteristics and Agricultural Risk Areas in Northern Thailand by Meteorological Drought Index” is the analysis of characteristics of the spatial and temporal of meteorological drought in northern Thailand, according to the meteorological region, during the years 1980 - 2017 (38 years) during the rainy season in Thailand. This study aimed to 1) analyze of characteristics of the spatial and temporal drought in northern Thailand, and 2) analyze the risk areas in agricultural land use areas in northern Thailand. The methodology of the first objective is to analyze of characteristics of the spatial and temporal drought in northern Thailand from 1980 - 2017 during the rainy season. First, check the efficiency of rainfall data, that used in the study, are gridded rainfall data from the Climatic Research Unit (CRU) with a spatial resolution of 0.5 ° x 0.5 °, compared with monthly rainfall data from 31 observation stations of the Thai Meteorological Department (TMD) in northern Thailand by analyzing the relationship between rainfall data both forms. The results of this study showed that the correlation coefficient between TMD’s monthly observed rainfall data and CRU’s gridded data is high with a range of 0.826 - 0.983 at the significance level of 0.01. Therefore, CRU’s gridded data is as effective as rainfall data from observation stations, which indicates that the CRU’s gridded data can be represented as the observation data. In this study used CRU’s gridded data instead of observation data. For the analysis of characteristics of the spatial and temporal drought, by analyzing the Standardized Precipitation Index (SPI) from CRU's precipitation gridded data covering the northern region. By calculating the SPI index in 2 different periods which is the 3-month SPI index (SPI3) and the 6-month SPI index (SPI6) to analyze the drought of the rainy season from May to October. It consists of analyzing the characteristics of the spatial and temporal of meteorological drought during the rainy season from analyzing the SPI3 of July (average of May - July), SPI3 of August (average of June - August), SPI3 of September (average of July - September), SPI3 of October (average of August - October) and drought throughout the rainy season from analyzing the SPI6 of October (average of May - October). This study focuses on severe drought to extreme drought (≤ -1.50), especially in the year of severe drought to extreme drought, representing more than 25% of the northern region. For the second Objective, analyze the risk areas in agricultural land use areas, by using the results from Objective 1 analysis together with agricultural land use data. The findings of this research found that meteorological drought from the analysis of the SPI3 of July found that there was severe drought to extreme drought areas, representing more than 25% of the northern region for 2 years, namely 1987 and 2015. In 2015, there was severe drought to extreme drought areas 97.10%, and there was drought risk area in the agricultural land use areas: extreme risk 82.456%, severe risk 12.943% of the agricultural land use area. The analysis of the SPI3 of August found that there was severe drought to extreme drought areas, representing more than 25% of the northern region for 3 years, namely 1982 1993 and 2015. In 2015, there was severe drought to extreme drought areas 77.28%, and there was drought risk area in the agricultural land use areas: extreme risk 46.07%, severe risk 22.908% of the agricultural land use area. The analysis of the SPI3 of September found that there was severe drought to extreme drought areas, representing more than 25% of the northern region for 3 years, namely 1986 1989 and 2015. In 2015, there was severe drought to extreme drought areas 46.44%, and there was drought risk area in the agricultural land use areas: extreme risk 4.232%, severe risk 42.932% of the agricultural land use area. The analysis of the SPI3 of October found that there was severe drought to extreme drought areas, representing more than 25% of the northern region for 5 years, namely 1981 1986 1998 2004 and 2015. In 1998, there was severe drought to extreme drought areas 45.25%, and there was drought risk area in the agricultural land use areas: extreme risk 22.196%, severe risk 26.707% of the agricultural land use area. In addition, the analysis of the SPI6 of October found that there was severe drought to extreme drought areas, representing more than 25% of the northern region for 2 years, namely 1993 and 2015. In 2015, there was severe drought to extreme drought areas 92.27%, and there was drought risk area in the agricultural land use areas: extreme risk 72.297%, severe risk 16.626% of the agricultural land use area.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภัยแล้งen_US
dc.subjectอุตุนิยมวิทยาen_US
dc.subjectดัชนีภัยแล้งen_US
dc.subjectการเกษตรen_US
dc.titleการวิเคราะห์ลักษณะภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงด้านการเกษตรบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยด้วยดัชนีภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยาen_US
dc.title.alternativeAnalysis of drought characteristics and agricultural risk areas in Northern Thailand by meteorological drought indexen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashการใช้ที่ดิน -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashน้ำในการเกษตร -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashผลิตผลเกษตร -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์ลักษณะภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงด้านการเกษตรบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยด้วยดัชนีภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยา” เป็นการวิเคราะห์ลักษณะเชิงพื้นที่และเวลาของภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยาบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยตามการแบ่งภาคทางอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่ปีค.ศ.1980 - 2017 รวมทั้งหมด 38 ปี ในช่วงฤดูฝน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะภัยแล้งที่เกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยในเชิงพื้นที่และเวลา และ 2) วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย วิธีการศึกษาสำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ลักษณะภัยแล้งเชิงพื้นที่และเวลาบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 - 2017 ในช่วงฤดูฝน เริ่มจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของข้อมูลปริมาณน้า ฝนตรวจวัดที่จะใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนรูปแบบกริดจาก CRU ความละเอียดเชิงพื้นที่ 0.5° x 0.5° เปรียบเทียบกับข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนตรวจวัดจากสถานีอุตุนิยมวิทยาบริเวณภาคเหนือทั้งหมด 31 สถานี โดยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลปริมาณน้ำฝนทั้ง 2 รูปแบบ โดยผลการศึกษาพบว่าข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนทั้ง 2 รูปแบบมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง โดยมีค่าความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.826 - 0.983 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ดังนั้นข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนรูปแบบกริดจาก CRU มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนตรวจวัดจากสถานี ในการศึกษานี้จึงใช้ข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนรูปแบบกริดจาก CRU แทนข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนตรวจวัดจากสถานี ในส่วนของการวิเคราะห์ลักษณะภัยแล้งเชิงพื้นที่และเวลา ทำได้โดยการคำนวณค่าดัชนีปริมาณน้ำ ฝนมาตรฐานหรือดัชนี SPI จากข้อมูลปริมาณน้ำ ฝนรูปแบบกริดจาก CRU ในช่วงเวลา 3 เดือน (SPI3) และ 6 เดือน (SPI6) ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ประกอบด้วยการวิเคราะห์ลักษณะเชิงพื้นที่และเวลาของภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงฤดูฝนจากการวิเคราะห์ดัชนี SPI3 ของเดือนกรกฎาคม (ค่าเฉลี่ยของเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม) สิงหาคม (ค่าเฉลี่ยของเดือนมิถุนายน - สิงหาคม) กันยายน (ค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคม - กันยายน) ตุลาคม (ค่าเฉลี่ยของเดือนสิงหาคม - ตุลาคม) และช่วงตลอดฤดูฝนจากการวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI6 ของเดือนตุลาคม (ค่าเฉลี่ยของเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม) การศึกษานี้ให้ความสนใจกับภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก (≤ -1.50)โดยเฉพาะปี ที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เป็นการนำผลการศึกษาจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการใช้ที่ดินด้านการเกษตร เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยาที่เกิดขึ้นในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตร ผลการศึกษาพบว่า ภัยแล้งจากการวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI3 ของเดือนกรกฎาคม มีพื้นที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก มากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 2 ปี ได้แก่ ปี ค.ศ. 1987 และ 2015 โดยปี ค.ศ. 2015 มีพื้นที่มากที่สุดคือ 97.10% และมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรระดับรุนแรงมาก 82.456% ระดับรุนแรง 12.943% ของพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรภัยแล้งจากการวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI3 ของเดือนสิงหาคม มีพื้นที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 3 ปี ได้แก่ ปี ค.ศ. 1982 1993 และ 2015 โดยปี ค.ศ. 2015 มีพื้นที่มากที่สุดคือ 77.28% และมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรระดับรุนแรงมาก 46.07% ระดับรุนแรง 22.908% ของพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตร ภัยแล้งจากการวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI3 ของเดือนกันยายน มีพื้นที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก มากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 3 ปี ได้แก่ ปี ค.ศ. 1986 1989 และ 2015 โดยปี ค.ศ. 2015 มีพื้นที่มากที่สุดคือ 46.44% และมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรระดับรุนแรงมาก 4.232% ระดับรุนแรง 42.932% ของพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตร ภัยแล้งจากการวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI3 ของเดือนตุลาคม พบว่ามีพื้นที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก มากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 5 ปี ได้แก่ ปี ค.ศ. 1981 1986 1998 2004 และ 2015 โดยปี ค.ศ. 1998 มีพื้นที่มากที่สุดคือ 45.25% และมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรระดับรุนแรงมาก 22.196% ระดับรุนแรง 26.707% ของพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตร และภัยแล้งจากวิเคราะห์ค่าดัชนี SPI6 ของเดือนตุลาคม พบว่ามีพื้นที่เกิดภัยแล้งระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก มากกว่า 25% ของพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 2 ปี ได้แก่ ปี ค.ศ. 1993 และ 2015 โดยปี ค.ศ. 2015 มีพื้นที่มากที่สุดคือ 92.27% และมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรระดับรุนแรงมาก 72.297% ระดับรุนแรง 16.626% ของพื้นที่การใช้ที่ดินด้านการเกษตรen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580431010 วรลักษณ์ ไก่งาม.pdf17.36 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.