Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา วัฒนภิญโญ-
dc.contributor.authorวรกันยา พรหมพลen_US
dc.date.accessioned2020-08-27T01:39:23Z-
dc.date.available2020-08-27T01:39:23Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69732-
dc.description.abstractPha Luang Waterfall Forest Park is a forest park with diverse natural resources and beautiful therefore has been promoting eco-tourism from local departments to be an important tourist attraction of the area. However, the area around the forest park is mainly community, therefore tourism development should consider the effects that may occur on areas and communities. Study of Eco-tourism Development Guidelines in Pha Luang Waterfall Forest Park, Ubon Ratchathani Province aims to study 1) quality standards of the eco-tourism 2) attitudes of local communities in participation in eco-tourism development and 3) carrying capacity of the recreation area of Pha Luang Waterfall Forest Park to lead to suggestions for eco-tourism development that is consistent with the area and suitable for the context of the community. Data collecting from the use assessment form for quality standards for Eco-tourism, questionnaire for tourists from 88 samples and questionnaires for people in Ban Na Lern community from 258 samples together with focus group discussion with a group of 8 people representatives in the community and assess carrying capacity of the area in tourism Result of the study Pha Luang Waterfall Forest Park found that from evaluating the quality standards for Eco-tourism classified to very good standards. Due to the forest park having beautiful natural resources and high fertile and allowing villagers to use resources in the forest area to use for consumption and distribution for a small income according to the traditional way of life. There is a clear space usage determination by having a nature trail for tourists to visit and learn. There is security officers for tourists. There is a tourist service center providing information media and knowledge and there are officials who have expertise and knowledge about natural resources in the area. There are complete services and facilities but still don't have service shop and food shop. As for community participation in tourism, it was found a little of community participation, such as training of youth interested in being a guide, a meeting to exchange ideas on tourism development between the park and the community, but not continuously. The study of tourist satisfaction found that the tourists were the most satisfied with the knowledge and entertainment next is the service, followed by public relations, and least satisfied with the facilities. As for the attitudes of the people in Ban Na Lern community towards eco-tourism development in the area, it is found that most villagers have a good attitude towards tourists and tourism development. They want to increase the number of tourists because of the benefits in terms of income and nowadays tourists do not cause negative impacts to the community but may affect natural resources and cleanliness. The promotion of community participation is still not enough but they are ready and want to encourage community participation in the development of eco-tourism in the area. Therefore, eco-tourism development guidelines therefore should promote participation in tourism development together with knowledge and understanding of principles of eco-tourism and conservation of natural resources in order to develop the tourism area sustainably. The carrying capacity of Pha Luang Waterfall Forest Park area is determined by two factors, which are physical and facilities and social factor. The results show that the current tourism uses are still under the carrying capacity. However, if the number of tourists in the future increases, may have the use of area beyond the carrying capacity. The forest park should therefore be surveillance and have measures to prevent the effects or problems that may occur.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในวนอุทยานน้ำตก ผาหลวง จังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeEco-tourism Development Guidelines in Pha Luang Waterfall Forest Park, Ubon Ratchathani Provinceen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวนอุทยานน้ําตกผาหลวง เป็นวนอุทยานที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและสวยงาม จึงได้รับ การส่งเสริมจากหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของพื้นที่ อย่างไรก็ตามจากการที่ พื้นที่โดยรอบวนอุทยานส่วนใหญ่เป็นชุมชน ดังนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวจึงควรคํานึงถึงผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นต่อพื้นที่และชุมชนด้วย การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในวนอุทยาน น้ําตกผาหลวง จังหวัดอุบลราชธานี จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มาตรฐานคุณภาพในการเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) ทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 3) ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวของวนอุทยานน้ําตกผาหลวง เพื่อ นําไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สอดคล้องกับพื้นที่และเหมาะสม กับบริบทของชุมชน โดยรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิง นิเวศ แบบสอบถามสําหรับนักท่องเที่ยว จากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 33 ราย และแบบสอบถามสําหรับ ประชาชนในชุมชน จากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 25 ราย ร่วมกับการสนทนากลุ่มกับตัวแทนประชาชน ในชุมชน จํานวน 8 ราย และการประเมินความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาวนอุทยานน้ําตกผาหลวง พบว่า จากการประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จัดอยู่ ในเกณฑ์ระดับมาตรฐานดีมาก จากการที่วนอุทยานมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและมีความอุดม สมบูรณ์สูง และอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปนําทรัพยากรในพื้นที่ป่ามาใช้ประโยชน์เพื่อบริโภคและ จําหน่ายเพื่อเป็นรายได้เล็กน้อย ตามวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการกําหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่ชัดเจน โดยมี การจัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมและศึกษาเรียนรู้ มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้บริการสื่อข้อมูลความรู้และมี เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชํานาญเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ มีบริการและสิ่งอํานวยความ สะดวกในด้านต่างๆ ครบถ้วนแต่ยังไม่มีบริการร้านค้า ร้านอาหาร ค้านการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การท่องเที่ยว พบว่า ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย เช่น การจัดฝึกอบรมเยาวชนที่สนใจเป็น มัคคุเทศก์และการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างทางวนอุทยาน กับชุมชนแต่ไม่ต่อเนื่อง ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึง พอใจในด้านการได้รับความรู้และความบันเทิงมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการให้บริการ ตามมาด้วย ด้านการประชาสัมพันธ์ และพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านสิ่งอํานวยความสะดวก สําหรับทัศนคติของประชาชนในชุมชนบ้านนาเลินที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อนักท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยว พวกเขาต้องการให้ มีจํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ในแง่ของรายได้ และปัจจุบันนักท่องเที่ยว ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อชุมชน แต่อาจส่งผลในด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านความ สะอาด ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนยังมีน้อย แต่พวกเขามีความพร้อมและต้องการให้มี การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ ดังนั้นแนวทาง พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้น ร่วมกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจหลักการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นการพัฒนา พื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่วนอุทยานน้ําตกผาหลวง พิจารณาจากปัจจัยชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพและสิ่งอํานวยความสะดวกและปัจจัยด้านสังคม ผลการศึกษา พบว่า การใช้ ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันยังอยู่ภายใต้ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ อย่างไรก็ตามหากในอนาคตนักท่องเที่ยวมีจํานวนเพิ่มขึ้น อาจมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกินขีด ความสามารถในการรองรับได้ ทางวนอุทยานจึงควรเฝ้าระวังและมีมาตรการในการป้องกันปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
570431018 วรกันยา พรหมพล.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.