Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69717
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst.Prof.Dr.Pitipong Yodmongkol-
dc.contributor.advisorAsst.Prof.Dr.Worawit Janchai-
dc.contributor.advisorLect. Dr.Pradorn Sureephong-
dc.contributor.authorChainarong Luengvilaien_US
dc.date.accessioned2020-08-25T01:09:01Z-
dc.date.available2020-08-25T01:09:01Z-
dc.date.issued2017-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69717-
dc.description.abstractEven though all the lawyers are demanded both higher and more capacities to solve the legal conflicts in the globalization where all people and business transactions are easily connected, but the core competency for lawyers: legal knowledge; legal attitude; and lawyering skills are still be the fundamental aspects of competent novice lawyers. Particular, lawyering skill competency is the tacit knowledge which time-consuming to learn and transfer to each other. Any lawyer who lacks of lawyering skill knowledge and capacity may cause to ineffectiveness of legal implementation, legal enforcement, and legal services which definitely impact to people and society interest. Meanwhile the legal education in Thailand has been popular among new generation for many reasons; honourable social engineering career; satisfied-higher income of judges and public prosecutors. However, the increasing number of new law students enrolled each year does not reflect the achievement of Thai law schools. But the number of competent graduated law students are the real key points instead. According to the problem justification in the research found that lawyering skill learning opportunity under Thai legal education is inappropriate situation. There are aspects considered unclear; unsystematic in term of learning promotion. For instance, the national legal education institutes; Thai Bar Association; had no any suggestions, or guidelines on what and level of fundamental lawyering skills should be trained for law students or novice lawyers before entering to the legal practicing arena. Therefore, it seemed the law schools has not been urged by any suggestions of such the national legal education institute to policy deployment for lawyering skill learning promotion. Interestingly, the undergraduate law curriculum among all level of Thai legal education is only the compulsory program for all lawyers, therefore it supposed to be the primary source where all law students must be learned and trained the core competency in particular lawyering skill knowledge as proper as their age and life experiences before graduation. Because there are some law career paths which graduate law students can practice law without any further legal education. But it is perceived to be legal-content oriented and lack of lawyering skill learning promotion. Although there are some lawyering skills; legal reasoning, legal analysis, legal writing, has highlighted during lecturing of compulsory legal courses, but they were not be taught and feedback systematically toward each students’ performance after grading announcement. Adding more lawyering skill courses may cause to curriculum revision because the total courses credits has already reached the proper maximum. Such the obstacles as mentioned are time-consuming and possible to inconsistent outcome if any law school try to solve each factor by factor. For instance, law curriculum revision may cause to hard talk discussion among all legal educators in the law school since the philosophy of curriculum, what existing courses shall be eliminated, combined, or changed for providing additional lawyering skill courses, what types and number of lawyering skill courses should be registered into the curriculum. Encouraging by policy the law lecturers to responsible unfamiliar new lawyering skill courses may cause to defensive routine crisis. Based on the Double Loop Learning Theory, the research alternatively proposed a knowledge management model by using serious game as the self-lawyering skill knowledge transferring tool for the undergraduate law students. The model were associated with the gap analysis results and designed by the integration of experts’ knowledge, learning theory, and serious game concept. By this approach, the law school can possible to promote lawyering skill knowledge learning for law students by their own management without involving to any time-consuming obstacles, such as law curriculum revision, defensive routine of law lecturers, lower learning impact of lecture base approach, etc. Within the KM model as proposed, the research methodology were all about; 1. Knowledge area identification because Thai legal education have no any idea about what fundamental lawyering skills should be learned by the undergraduate law students, 2. Research area identification to scope and allow the research demonstrate and prove effectiveness of the KM model solution within the research period, 3. Hard-to-reach qualified skilful legal expert identification for knowledge capturing stage. Due to Thailand has no any institute certified how skilful of each lawyer but in fact they are well known among community of practice. 4. Designing and verifying the effectiveness of the standalone KM model which integrated by the lawyering skill knowledge, learning theories, and serious game concept to effectively transfer cognitive lawyering skill knowledge and stimulate learning engagement to undergraduate law students. According to the research methodology, the research proposed the two KM models for cognitive knowledge transferring of the factual investigation skill and the mediation skill. Due to the research found that apart from they were two core skills from the eight as identified by the major law career paths, the law students of CMU had significantly dissatisfied self-confidence level at both skills according the self-confidence evaluation analysis. Moreover, the two core skills are also very important for lawyering works. The fact finding skill helps lawyers effectively gather and verify the trustworthiness of facts related the conflict prior any legal decision shall be made. The mediation is also now the alternative legal justice paradigm in Thailand which lawyer must be trained otherwise the lawyers may not help their legal clients discover amicable solution in the mediation process. The two KM models’ effectiveness verification stage shown that the voluntary sampling law students of CMU had significant higher cognitive knowledge level when compared the pre and post-test results analysis. And the samples demonstrated learning engagement with fun in various aspects as shown in the video records and interviewing respondents after learning through the KM models by using serious game. Finally, the KM models also helped the sampling law students recognized their self-awareness on lawyering skill capacity gap after learning through the KM models. To conclude, the KM models as proposed and designed in according with the research methodology had proved to be the self-learning tools for transferring the cognitive lawyering skill knowledge from the external legal experts outside the law schools to mass young new generation undergraduate law students. Moreover, this two KM models are not only perceived to be the first time ever new learning method applicable in Thai law school instead of lecture based teaching, but they are expected to be the alternative way to minimize the lawyering skills capacity gap between the undergraduate law students in law school and legal professions in community of practice. Lastly, the research ideas can also guide for developing the remaining six fundamental lawyering skills KM models or another types of skill learning in other fields.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleA Serious Game for Enhancing Fundamental Lawyering Skills for Thai Law Studentsen_US
dc.title.alternativeเกมส์จริงจังเพื่อเพิ่มพูนทักษะวิชาชีพกฎหมายขั้นพื้นฐานสาหรับ นักศึกษากฎหมายไทยen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractถึงแม้นักกฎหมายในสังคมยุคโลกาภิวัตน์จา เป็นต้องมีความสามารถที่หลากหลายและสูงมาก ขึ้นเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางกฎหมายที่คนและธุรกิจในปัจจุบันติดต่อเชื่อมโยงถึง กันโดยง่าย แต่สมรรถนะหลักของนักกฎหมายอันได้แก่ สมรรถนะทางองค์ความรู้กฎหมาย ทัศนคติ ต่อวิชาชีพกฎหมาย และทักษะวิชาชีพทางกฎหมายก็ยังคงเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสา คัญสา หรับนัก กฎหมายรุ่นใหม่ โดยเฉพาะสมรรถนะเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายอันเป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัว บุคคลซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และยากต่อการถ่ายถอดความรู้เหล่านี้ไปยังบุคคลอื่น แต่อย่างไรก็ ตามนักกฎหมายที่ขาดองค์ความรู้และความสามารถเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายอาจส่งผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพในการปรับใช้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และรวมถึงการให้บริการทางกฎหมาย อื่นซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ในขณะที่การศึกษานิติศาสตร์ของประเทศไทยได้รับความนิยมจากกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่อย่าง ต่อเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ คุณค่าของวิชาชีพกฎหมายที่ถูกยกย่องเปรียบเสมือนเป็น วิศวกรทางสังคมวิชาชีพหนึ่ง (Social engineering career) หรืออัตราค่าตอบแทนที่สูงขึ้นในวิชาชีพผู้ พิพากษาและอัยการ อย่างไรก็ตามจา นวนนักศึกษานิติศาสตร์เข้าใหม่ในแต่ละปี ที่เพิ่มขึ้นไม่น่าจะสิ่ง ยืนยันความสา เร็จของการศึกษานิติศาสตร์ หากแต่สิ่งชี้วัดความสา เร็จน่าจะเป็นจา นวนของบัณฑิต นิติศาสตร์ที่ความรู้ความสามารถมากกว่า แต่จากการวิเคราะห์หาความสาคัญของปัญหาในงาน ศึกษาวิจัยนี้พบว่าการส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้เชิงทักษะวิชาชีพนักกฎหมายในการศึกษา นิติศาสตร์อยู่ในภาวะที่ไม่เหมาะสม พบว่าสภาวะหลายๆอย่างแสดงให้เห็นว่าไม่มีการส่งเสริมการ เรียนรู้เชิงทักษะวิชาชีพนักกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นระบบ อาทิเช่น ไม่ปรากฎอย่างชัดเจนว่า สถาบันทางนิติศาสตร์ระดับชาติเช่น เนติบัณฑิตยสภาได้มีการออกคำแนะนำ หรือแนวทางว่า นักศึกษานิติศาสตร์ หรือนักกฎหมายรุ่นใหม่ของไทยควรจะได้เรียนรู้เชิงทักษะวิชาชีพขั้นพื้นฐานใน ระดับใดก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาและเข้าสู่ภาควิชาชีพ คณะนิติศาสตร์จึงไม่ได้มีนัยทางนโยบายที่จะ นำเอาแนวทางเหล่านั้นมาดำเนินการเพื่อให้มีการส่งเสริมสมรรถนะเชิงวิชาชีพนักกฎหมายแต่อย่างใด สิ่งที่หน้าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการศึกษานิติศาสตร์ไทยใน ทุกระดับก็จะพบว่าหลักสูตรปริญญาตรีนิติศาสตร์นั้นเป็นเพียงการศึกษานิติศาสตร์ภาคบังคับระดับ เดียวที่นักกฎหมายทุกคนต้องสำเร็จการศึกษา ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงควรถูกคาดหมายให้เป็นแหล่ง ศึกษาที่นักศึกษานิติศาสตร์จะต้องได้มีโอกาสเรียนรู้ ฝึกฝนให้ถึงพร้อมด้วยสมรรถนะหลักโดยเฉพาะ สมรรถนะเชิงวิชาชีพทางกฎหมายในระดับที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัยวุฒิและประสบการณ์ชีวิต ก่อนสำเร็จการศึกษา เพราะบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีก็สามารถทำงานด้านกฎหมาย ได้ในหลายๆตำแหน่งงานโดยไม่จำเป็ นต้องศึกษาต่อทางนิติศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นใดๆอีก แต่ การศึกษาพบว่าหลักสูตรปริญญาตรีนิติศาสตร์กลับมีลักษณะเน้นการเรียนการสอนเชิงเนื้อหาสาระ ของกฎหมายเป็นสำคัญและขาดการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมาย ถึงแม้จะมีเชื่อได้ ว่ามีการเน้นย้ำถึงทักษะการให้เหตุผลทางกฎหมายก็ดี ทักษะการวิเคราะห์ทางกฎหมายก็ดี หรือทักษะ การเขียนทางนิติศาสตร์ก็ดี แต่มิได้มีการสอนและให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่อระดับ ความสามารถเชิงทักษะเหล่านั้นอย่างเป็นระบบนอกจากการประกาศลำดับขึ้นที่ได้ของกระบวนวิชา เท่านั้นเอง หากจะมีการแก้ปัญหาโดยการเพิ่มกระบวนวิชาเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายเข้าไปในการ เรียนการสอนของหลักสูตรปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็อาจส่งผลให้ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร เนื่องจากจำนวนหน่วยกิตของหลักสูตรมีจำนวนอยู่ในระดับที่สูงมากพอแล้ว หากคณะนิติศาสตร์จะพยายามแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบหลายประการที่ละประเด็นก็อาจ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาใช้เวลาที่ยาวนานและไม่อาจคาดเดาผลสำเร็จได้โดยแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น หากต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็อาจส่งผลให้เกิดการอภิปรายถกเถียง อย่างกว้างขวางในหลายประเด็น เช่น ปรัชญาการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์ หรือกระบวนวิชา ปัจจุบันวิชาใดที่ควรถูกทดแทน ยุบรวม หรือเปลี่ยนแปลงประการใดเพื่อทำให้มีหน่วยกิตว่างพอ สำหรับกระบวนวิชาเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมาย หรือทักษะวิชาชีพทางกฎหมายทักษะใดและ จำนวนเท่าใดที่ควรนำเข้าสู่การเรียนการสอนภายใต้หลักสูตรอย่างเป็ นทางการ หรือปัญหาการ ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์ผู้สอนเข้ามาร่วมรับผิดชอบในกระบวนวิชาเชิงทักษะวิชาชีพทาง กฎหมายที่ไม่คุ้นเคยก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Defensive Routine) ในกลุ่ม ผู้สอนขึ้นได้ ดังนั้น งานศึกษาวิจัยนี้ได้นำเสนอทางเลือกใหม่อันเป็นอิทธิพลทางความคิดของทฤษฎีการ เรียนรู้แบบห่วงคู่ (Double Loop Learning) ในการจัดการความรู้โดยใช้เกมส์จริงจัง (Serious game) เพื่อให้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับการถ่ายถอดองค์ความรู้เชิงทักษะวิชาชีพทาง กฎหมายให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์ ต้นแบบการเรียนรู้ที่เป็นทางเลือกใหม่นี้ได้ถูก พัฒนาบนปัญหาและโอกาสที่ได้จากการวิเคราะห์จนนำไปสู่การออกแบบที่เป็นการผสานระหว่าง ทฤษฎีการจัดการจัดการความรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และแนวคิดของเกมส์จริงจัง แนวทางแก้ไขที่เป็น ทางเลือกใหม่นี้จะช่วยให้คณะนิติศาสตร์สามารถส่งเสริมการศึกษาองค์ความรู้เชิงทักษะวิชาชีพทาง กฎหมายให้กับนักศึกษานิติศาสตร์ได้โดยการบริหารจัดการของคณะนิติศาสตร์เองแบบไม่ต้อง เกี่ยวข้องกับปัญหาอุปสรรคหลายๆ ประการที่อาจส่งผลให้ต้องเสียเวลามาก เช่น การปรับปรุง หลักสูตรนิติศาสตร์ การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของผู้สอนนิติศาสตร์ หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการ สอนแนวบรรยายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้การนำเสนอต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่นำเสนในงานวิจัยนี้ ระเบียบวิธีวิจัยได้ นำเสนอภายใต้แนวทางสำคัญโดยสรุป ดังนี้ 1. การค้นหาขอบเขตของงานวิจัยเนื่องจากการศึกษานิติศาสตร์ไทยไม่ปรากฎแนวคิดว่า อะไรคือทักษะวิชาชีพขั้นพื้นฐานทางกฎหมายที่นักศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ควร ได้รับการศึกษาพัฒนา 2. การค้นหาพื้นศึกษาวิจัยสำหรับการสาธิตและพิสูจน์ประสิทธิภาพของต้นแบบการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นข้อเสนอทางแก้ไขปัญหาในงานวิจัยนี้ภายใต้เงื่อนเวลาการ ศึกษาวิจัย 3. การค้นหาผู้เชี่ยวชาญเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายที่ไม่ปรากฎการรับรองหรือรวบรวม ของหน่วยงานใดๆในประเทศไทยอย่างเด่นชัดแต่มีอยู่จริงในแวดวงนักกฎหมายเพื่อ นำไปสู่การจับความรู้เชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายที่ถูกระบุในการค้นหาพื้นศึกษาวิจัย 4. การออกแบบและตรวจสอบประสิทธิภาพต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้น โดยการผสานขององค์ความรู้เชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมาย กับทฤษฎีการเรียนรู้และ แนวคิดของเกมส์จริงจังเพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะคิดเกี่ยวกับองค์ความรู้เชิงทักษะ วิชาชีพทางกฎหมายและกระตุ้นความผูกพันในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาปริญญา ตรีนิติศาสตร์ได้ งานศึกษาวิจัยนี้ นำเสนอต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยดังกล่าว 2 ทักษะวิชาชีพขั้นพื้นฐานทางกฎหมายซึ่งได้แก่ ทักษะการสืบค้นข้อเท็จจริงเพื่องานกฎหมาย และ ทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เนื่องจากการศึกษาวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้พบว่าทักษะวิชาชีพทาง กฎหมายทั้งสองทักษะดังกล่าวเป็ นสองในแปดทักษะวิชาชีพพื้นฐานทางกฎหมายที่สำคัญในงาน กฎหมายแต่นักศึกษานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่ทดลองศึกษามีระดับความไม่ มั่นใจในความสามารถของตนเองโดยเฉลี่ยสูงในทั้งสองทักษะดังกล่าว ทักษะทั้งสองถือเป็นทักษะ พื้นฐานที่สำคัญในงานกฎหมายเพราะทักษะการสืบค้นข้อเท็จจริงเพื่องานกฎหมายช่วยให้นัก กฎหมายสามารถรวบรวมและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทก่อน การนำข้อเท็จจริงนั้นไปประกอบการตัดสินใจทางกฎหมายต่อไป สำหรับทักษะการไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทก็ถือเป็นทางเลือกใหม่ของกระบวนทัศน์ทางกระบวนการยุติธรรมของไทยซึ่งนักกฎหมายควร จะต้องได้เรียนรู้ฝึกฝนมิเช่นนั้นอาจไม่สามารถช่วยให้ลูกความของตนหาทางออกอย่างสันติภายใต้ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ จากการทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งสองทักษะนั้น พบว่า อาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีองค์ความรู้มากขึ้นอย่างมี นัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างคะแนนรวมของแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่าน การเล่นเกมส์ นอกจากนี้ อาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงความผูกพันในการเรียนรู้ ด้วยความสนุกในหลากหลายลักษณะตามที่ปรากฎในบันทึกภาพเคลื่อนไหวและบทสัมภาษณ์ ภายหลังการเรียนรู้ผ่านต้นแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาจากเกมส์จริงจัง และประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบคือ ต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ช่วยให้อาสาสมัครนักศึกษานิติศาสตร์กลุ่มตัวอย่างได้ตระหนักรู้ ด้วยตนเองถึงระดับช่องว่างความสามารถของตนเองที่เกี่ยวกับทักษะวิชาชีพพื้นฐานทั้งสองภายหลัง การเรียนรู้ผ่านต้นแบบทั้งสองทักษะดังกล่าว โดยสรุป ต้นแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่นำเสนอและออกแบบตามระเบียบวิธีวิจัยนี้พิสูจน์ ให้เห็นแล้วว่าสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงทักษะวิชาชีพพื้นฐานทางกฎหมายจากนักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกคณะนิติศาสตร์ไปสู่นักศึกษานิติศาสตร์คนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ จำนวนมาก อีกทั้งต้นแบบการถ่ายถอดความรู้ดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นเครื่องมือการเรียนรู้แนวใหม่ ครั้งแรกสำหรับการเรียนการสอนเชิงทักษะวิชาชีพทางกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ไทยแทนวิธีการ บรรยายและยังคาดหมายได้ว่ามีส่วนช่วยลดช่องว่างความแตกต่างของระดับความสามารถเชิงทักษะ วิชาชีพทางกฎหมายระหว่างนักศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์กับนักกฎหมายวิชาชีพในภาคปฏิบัติลงได้ อีกทางหนึ่งด้วย ท้ายที่สุดแนวคิดที่ปรากฎในงานวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาต้นแบบ การถ่ายทอดความรู้สำหรับอีก 6 ทักษะวิชาชีพพื้นฐานทางกฎหมายที่เหลืออยู่หรือรูปแบบการเรียนรู้ ทักษะประเภทต่างๆในวงการอื่นๆ อีกได้en_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
532151004 ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย.pdf12.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.