Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69685
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLect. Dr. Siya Uthai-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Chusak Wittayapak-
dc.contributor.authorMay Saung Ooen_US
dc.date.accessioned2020-08-20T01:04:32Z-
dc.date.available2020-08-20T01:04:32Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69685-
dc.description.abstractThe Ridge to Reef (R2R) negotiation process is a struggle for international conservation in the resource-rich area of Tanintharyi, Myanmar. It has become a hot issue involving powerful and powerless actors. This study focuses on the opposition to the R2R project mounted by local communities and civil societies. This case is of particular interest compared to other power struggles, as it pits civil society against international organizations rather than the state. I argue that the negotiations by local Karen communities are motivated by the desire to maintain their existing cultural identities in terms of customs, beliefs and heritage and to claim self-determination using their ancestral lands. This study employs the concepts of “Negotiation Process,” “Legitimacy,” and “Customary Land Management System.” Empirical data includes documentation, semi-structured interviews and observation. The study looked at six villages in Lenya-Bokepyin and Manoro areas of the southern Tanintharyi Region. It engaged with numerous community actors and recorded their reactions and various means of resisting the R2R negotiation process. The communities constructed their negotiating power by collecting evidence emphasizing their ability for sustainable use of the land and resources. Throughout the process, there obtained a mix of distributive and integrative negotiations. Interestingly, third-party engagement occurred in the negotiation process; however, it was used as a mediation process. The Nationwide Ceasefire Accord was an external factor which cut across the process. Each stakeholder has engaged in the negotiation process through a written statement, email conversation, community mobilization activity, workshops, training and meetings. The multi-level stakeholder engagement occurred without uprisings or internal conflicts and collective dilemmas. This lack of conflict is one of the significant findings of this study, and it speaks to an underlying sense of belonging to communities and localities. The local Karen communities resisted international conservation in large part by referencing the “Kaw.” The “Kaw” is the Karen people’s accumulated knowledge gained over generations and embedded in local Karen customs. The Karen actors, including local communities, CBOs, CSOs and KNU, mobilized local institutions and networks, as well as social and cultural capital to resist the conservation initiative. Their advocacy and lobbying to the authorities of the Myanmar government happened at the local, township, regional and union level. The Karen’s legitimation actions were launched with active public participation. Active consent within the community created a dynamic tightly linked to voluntariness, rather than fear. This study shows that local power and authority is sufficiently robust to engage in a negotiation process with the state and other powerful actors. Also, it confirms that by cultivating public support, a bottom-up approach is likely to avert conflict. Accordingly, Myanmar’s struggle for a democratic federal union needs to adhere to the bottom-up approach for sustainable peace.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleNegotiation Process of Karen Communities on Land Legitimacy and Customary Land Management in Dual Administration Zone: Tanintharyi Region, Myanmaren_US
dc.title.alternativeกระบวนการต่อรองของชุมชนกะเหรี่ยงต่อความชอบธรรมในที่ดินและการจัดการที่ดินแบบจารีตในเขตการบริหารคู่ขนานทานินตายี ประเทศเมียนมาen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractกระบวนการเจรจาต่อรองในโครงการ Ridge to Reef (R2R) ที่ปรากฏให้เห็นในพื้นที่เขตทานินตายี ประเทศเมียนมา แสดงให้เห็นถึงการช่วงชิงพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับนานาชาติ และยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการเจรจาต่อรองระหว่างตัวแสดงที่มีอำนาจและไร้อำนาจ โดยงานศึกษาวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นของฝ่ายคัดค้านและต่อต้านโครงการ Ridge to Reef (R2R) โดยชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม กรณีศึกษาในพื้นที่ดังกล่าว สร้างปรากฏการณ์ที่แตกต่างไปจากกรณีการต่อสู้ทางทางอำนาจในพื้นที่อื่น ๆ เนื่องจากเป็นการต่อต้านของภาคประชาสังคมต่อการปฏิบัติการขององค์กรระหว่างประเทศ มากกว่าจะเป็นการต่อต้านการปฏิบัติการของตัวแสดงที่เป็นรัฐ ผู้วิจัยพบว่าการเจรจาต่อรองโดยชุมชนชาวกะเหรี่ยงในท้องถิ่นถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาให้เกิดการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ทั้งในด้านจารีต มรดกทางวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดจนการอ้างสิทธิของตนเองในการใช้พื้นที่ที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดด้าน “กระบวนการเจรจาต่อรอง (Negotiation Process)” “ความชอบธรรม (Legitimacy)” และ “ระบบการจัดการที่ดินตามจารีตประเพณี (Customary Land Management System)” โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์อันประกอบไปด้วยเอกสารอ้างอิง การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการณ์ ตลอดจนการศึกษาตัวแสดงในชุมชนและบันทึกปฏิกิริยาของตัวแสดงต่าง ๆ เหล่านั้น ตลอดจนวิธีการอันหลากหลายที่ถูกใช้เพื่อแสดงการคัดค้านในกระบวนการเจรจาต่อรองโครการ R2R โดยการศึกษาในครั้งนี้ครอบคลุมทั้งสิ้น 6 หมู่บ้านในพื้นที่ Lenya-Bokepyin และ Manoro ทางตอนใต้ของเขตทานินตายี ชุมชนท้องถิ่นเหล่านี้สร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองด้วยการรวบรวมพยานหลักฐาน อันปรากฏให้เห็นถึงความสามารถของท้องถิ่นในการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั้งยังประยุกต์ใช้วิธีผสมผสานระหว่างการแยกส่วนและการรวมเป็นหนึ่งของการเจรจาต่อรองที่เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการ และยังมีการค้นพบที่น่าสนใจคือการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเจรจาต่อรองด้วยการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยของบุคคลที่สาม ในกรณีของข้อตกลงการหยุดยิงในประเทศของเมียนมา (Nationwide Ceasefire Accord) เป็นปัจจัยภายนอกที่ได้ก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญในกระบวนการเจรจาต่อรองนี้ นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาต่อรองผ่านแถลงการณ์แบบลายลักษณ์อักษร บทสนทนาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมการระดมผู้คนในชุมชน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตอดจนการประชุมและฝึกอบรม ซึ่งปฏิสัมพันธ์หลากระดับของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้เกิดขึ้นโดยไร้การต่อต้าน ความยัดแย้ง หรือสภาวการณ์ที่สร้างความลำบากใจร่วมแต่อย่างใด สถานะที่ไร้ซึ่งความขัดแย้งดังว่านี้คือข้อค้นพบที่สำคัญประการหนึ่งของงานวิจัย และยังชี้ให้เห็นถึงนัยด้านความรู้สึกเป็นเจ้าของที่มีต่อชุมชนและความเป็นท้องถิ่นอีกประการหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ชุมชนชาวกะเหรี่ยงในท้องถิ่นแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวด้วยการอ้างถึง “กอว์ (Kaw)” อันหมายถึงชุดความรู้และภูมิปัญญาที่สั่งสมและสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษและฝังรากลึกลงในขนบธรรมเนียมของชาวกะเหรี่ยงในท้องถิ่น ตัวแสดงชาวกระเหรี่ยงที่ประกอบไปด้วยชุมชนท้องถิ่น องค์กรภาคชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม และสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้ระดมสรรพกำลังด้านองค์กรและเครือข่ายต่าง ๆ สมสบด้วยทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อต่อต้านแผนริเริ่มการอนุรักษ์ดังกล่าวในครั้งนี้ ซึ่งการโน้มน้าวและชักจูงเจ้าหน้าที่ภาครัฐของรัฐบาลเมียนมาร์ปรากฏให้เห็นทั้งในระดับท้องถิ่น เมือง ภูมิภาค ตลอดจนถึงระดับสหภาพ การมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นจากสาธารณชน ช่วยผลักดันปฏิบัติการเพื่อสร้างความชอบธรรมของชาวกะเหรี่ยงให้ดำเนินไปได้ นอกจากนี้ ความยินยอมเห็นชอบที่เกิดขึ้นนั้น มิได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้คนแต่อย่างใด หากแต่เป็นพลวัตที่เชื่อมโยงอย่างแน่นหนากับความสมัครใจของชุมชนเหล่านั้นเอง งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าพลังอำนาจของท้องถิ่นนั้นแข็งแรงเพียงพอในกระบวนการเจรจาต่อรองกับภาครัฐและตัวแสดงที่มีอำนาจอื่น ๆ และชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนจากสาธารณะและกระบวนการการมีส่วนร่วมจากล่างขึ้นบนมีความเป็นไปได้ในการยับยั้งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น และความพยายามเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นสหพันธรัฐประชาธิปไตยของเมียนมานั้นก็ควรที่จะยึดหลักการดังกล่าวนี้เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน เฉกเช่นเดียวกันen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610435808 May Saung Oo.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.