Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย ์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข-
dc.contributor.authorภูดิท อักษรดิษฐ ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-20T01:03:22Z-
dc.date.available2020-08-20T01:03:22Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69672-
dc.description.abstractThe purposes of the research were to 1) synthesize the quality of life indicators of undergraduate students in upper northern universities, 2) analyze the factor indicators of the quality of life for the undergraduate students in upper northern universities and 3) study the factors may influence the quality of life of undergraduate students in upper northern universities.The sample consisted of the 1,442 undergraduate students who were studying in upper northern universities in the academic year 2018. The Independent variations were studied and divided into 2 groups: Group 1 were the personal factors such as self-esteem, life satisfaction, mental and physical and Group 2 were the social environmental factors that influenced students’ lives among families, friends and societies, instructors and universities. The questionnaires were used to collect data and yield for .963 of its validity. The data were analyzed by using an Exploratory Factor Analysis (EFA) by Equamax with Principle Component Analysis (PCA) and the path analysis between factors influencing the quality of life of the undergraduate students in upper northern universities by MPlus Program.The results of this research were as follow : 1. The result was indicated 33 indicators of the quality of life of undergraduate students in upper northern universities.2. The result of analyzing the factor indicators of the quality of life for theundergraduate students in upper northern universities demonstrated the level of 6 factors of the quality of life of undergraduate students in in upper northern universities which were university service satisfactions, social services, social lives, study lifestyles, anxiety feelings, and leisure activities. Each factor was described by the variance of 71.177% from 33 items and the factor loading had shown .573 to .848. 3. The result of the analysis on the factor indicators of the quality of life for theundergraduate students in upper northern universities found that; 3.1 The personal factors such as self-esteem, life satisfaction, mental and physical had influenced the quality of life for the undergraduate students in upper northern universities hada total effect size and statically significance at the .01 level. 3.2 The social environmental factors which influenced students’ lives among families, friends, and societies, instructors and universities had both direct and indirect influences upon the quality of life for the undergraduate students in upper northern universities through their factors were statically significant at .01 level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดีบอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Quality of Life of Undergraduate Students in Upper North Universitiesen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) สังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ภาคเหนือตอนบน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพ ชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษา ระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน ปีการศึกษา 2561 จํานวน 1,442 คน มาจากการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) ตัวแปรอิสระที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ปัจจัยภายในตนเอง ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกาย และกลุ่มที่ 2 ปัจจัยภายนอกตนเอง ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ และ การปรับตัวในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตนักศึกษา และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา " มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 963 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ใช้การหมุนแกนด้วยวิธี Equamax วิธีการประมาณค่า Principal Component Analysis (PCA) และวิเคราะห์เส้นทางระหว่างปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบนด้วยโปรแกรม สําเร็จรูปตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบนด้วยโปรแกรมเอ็มพรัส ผลการวิจัยสรุปดังนี้1. ผลการสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ภาคเหนือตอนบน พบว่า ตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ภาคเหนือ ตอนบนมีทั้งสิ้น 33 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน มี 6 องค์ประกอบ คือ ความพึงพอใจต่อการให้บริการ การทําประโยชน์เพื่อสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคม การเรียน ความเครียด และกิจกรรมนันทนาการ โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมด ได้ร้อยละ 71.177 จากตัวแปร 33 ตัวแปร ที่มีค่าถ่วงน้ําหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.573 – 0.848 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน พบ: ( 3.1 ปัจจัยภายในตนเอง ประกอบด้วย ความภาคภูมิใจในตนเอง ความพึงพอใจใน ชีวิต สุขภาพจิต และสุขภาพร่างกาย มีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน โดยมีค่าขนาดอิทธิพลที่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3.2 ปัจจัยภายนอกตนเอง ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ ระหว่างนักศึกษากับเพื่อน ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ และการปรับตัวใน มหาวิทยาลัย มีอิทธิทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัย ภาคเหนือตอนบน โดยส่งผ่านตัวแปรปัจจัยภายในตนเอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580232024 ภูดิท อักษรดิษฐ์.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.