Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69642
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ตุลยา ตุลาดิลก-
dc.contributor.authorภูษณิศา ชมภูจันทร์en_US
dc.date.accessioned2020-08-19T08:47:11Z-
dc.date.available2020-08-19T08:47:11Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69642-
dc.description.abstractThis independent study aimed at exploring Corporate Social Responsibility (CSR) disclosure of companies listed on the Market for Alternative Investment (MAI) and volume of disclosure implemented in accordance with the 8 Corporate Governance Codes (CG-Codes) as imposed by the Stock Exchange of Thailand (SET) since year 2014 as principles, requirements, and procedure for the CSR disclosure annual statement: Form 56-1. It also aimed to compare levels of monetary and non-monetary disclosure as well as to observe the tendency of CSR disclosure from during the year 2015-2017 to figure out volume, tendency and levels of CSR disclosure of the company listed on the MAI according to the SET’s 8 CG-Codes framework. The researcher gathered CSR disclosure information by counting words of CSR disclosure annual statements (Form 56-1) and annual reports (Form 56-2) of 387 data during year 2015-2017 , as published on each company website after the CSR disclosure regulations were implemented in 2014. Data obtained were analyze by the descriptive statistics to figure the total quantity of the disclosure in an overview then, separated into groups of monetary and non-monetary information as well as categorized those industrial companies into 8 business categories. Hereafter were shown the findings of CSR disclosure volume of the studied companies found in their annual statements (Form 56-1), annual reports (Form 56-2), and sustainability reports published on the company’s website as well as the company’s website being launched in response to the CSR policy, and the analyses on quantity and level of CSR disclosure in monetary and non-monetary aspects in an overview from 2015-2017. The findings presented that the 2nd principle: anti-corruption was disclosed the highest level; while the 8th principle: innovation and innovation dissemination was disclosed at the lowest level. However, in an overview, the CSR disclosure increased from year 2014 after the CSR disclosure framework was implemented. Regarding the analysis on quantity CSR disclosure in monetary aspect from 2015-2017, the 4th principle: fair treats to labors was only one principle that had been disclosed along 3 years, starting from 2015. The disclosure level of the 7th principle: engagement in community and social development increased in 2016; while the disclosure level of the 6th principle: environmental responsibility increased in 2017. The findings suggested that the disclosure level of these three mentioned principles tended to increase every year. Regarding the analysis on quantity of CSR disclosure in non-monetary aspect from the year 2015-2017, the 2nd principle: anti-corruption was disclosed the highest level; while the 8th principle: innovation and innovation dissemination was disclosed at the lowest level. The findings suggested that in an overview, most studied companies gained their volume for non-monetary disclosure. Regarding the analysis on quantity of CSR disclosure of each business category as observed from the year 2015-2017, business categories that had the highest disclosure volume included service business, industrial business, and properties and construction business, respectively. In the meanwhile, the analysis on level of disclosure for each business category presented that the 1st principle: equitable business operation was weighted as the most important principle to be disclosed; while the 8th principle: innovation and innovation dissemination was weighted as the least important principle to be disclosed.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอen_US
dc.title.alternativeCorporate Social Responsibility Disclosure of Companies Listed on Market for Alternative Investmenten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นความอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลตามหลักการ 8 ข้อ ที่ประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2557 ตามแนวความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลตาม แบบ 56-1 เพื่อเปรียบเทียบระดับการเปิดเผยข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน รวมถึงแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 - 2560 เพื่อให้ทราบปริมาณ แนวโน้มและระดับของการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยใช้กรอบแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการหลักการ 8 ข้อ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดในการศึกษาผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมโดยนับจำนวนคำจากรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) เว็บไซต์ของบริษัท ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558-2560 จำนวนทั้งหมด 387 ชุดข้อมูล โดยหลักการประกาศใช้ข้อบังคับใช้ในปีพ.ศ.2557 นำมาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการศึกษาปริมาณการเปิดเผยในภาพรวมทั้งหมด และแยกเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเงิน ไม่เป็นตัว รวมถึงจำแนกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม 8 กลุ่มธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่ปีพ.ศ.2558-2560 บริษัทมีปริมาณในการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายงานข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ56-2) รายงานที่จัดทำแยกเล่มที่เปิดเผยในเว็บไซต์ของบริษัท รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทที่มีการเปิดเผยข้อมูลตามหลักการแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ การวิเคราะห์ปริมาณและระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวมทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินในปีพ.ศ.2558 - 2560 หลักการที่มีการเปิดเผยมากที่สุดคือ ข้อ 2 การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ส่วนหลักการที่มีปริมาณการเปิดเผยน้อยที่สุด คือ ข้อ 8 นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมฯ ในภาพรวมมีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ.2557 หลังการประกาศบังคับใช้กรอบแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม การวิเคราะห์ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นตัวเงินในปีพ.ศ. 2558 - 2560 หลักการที่มีการเปิดเผยตลอดระยะเวลา 3 ปี คือ ข้อ 4 การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม เป็นหลักการเดียวที่มีการเปิดเผยตั้งแต่ ปีพ.ศ.2558 หลักการ ข้อ 7 การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม มีการเปิดเผยเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ.2559 และหลักการ ข้อ 6 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการเปิดเผยเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ.2560 ทั้งสามหลักการมีแนวโน้มการเปิดเผยที่เพิ่มขึ้นทุกปี การวิเคราะห์ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินตั้งแต่ ปีพ.ศ.2558 - 2560 หลักการที่มีการเปิดเผยมากที่สุด คือ ข้อ 2 การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ส่วนหลักการที่มีปริมาณการเปิดเผยน้อยที่สุด คือ ข้อ 8 นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมฯ ในภาพรวมบริษัทส่วนใหญ่มีปริมาณการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์ปริมาณการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชองต่อสังคมโดยจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558- 2560 กลุ่มธุรกิจที่มีปริมาณการเปิดเผยข้อมูลมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจบริการ กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ระดับการเปิดเผยข้อมูลตามจำนวนบริษัทฯ จำแนกตามกลุ่มธุรกิจ หลักการที่บริษัทให้ความสำคัญในการเปิดเผยมากที่สุด คือ ข้อ 1 การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม หลักการที่ให้ความสำคัญในการเปิดเผยน้อยที่สุด คือ ข้อ 8 นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมฯen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591532222 ภูษณิศา ชมภูจันทร์.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.