Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69641
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ตุลยา ตุลาดิลก-
dc.contributor.authorเพชราพร เทพาคำen_US
dc.date.accessioned2020-08-19T08:47:05Z-
dc.date.available2020-08-19T08:47:05Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69641-
dc.description.abstractThis independent study aimed to investigate the quantity and trend of the changes on corporate social responsibilities (CSR) disclosure of environmental, social and governance companies during 2016 – 2018, according to the Corporate Social Responsibility disclosure guidelines of the Securities and Exchange Commission, Thailand (SEC) and the Stock Exchange of Thailand (SET) that has been enforced from January 1st, 2014. The data were collected from an annual statement (Form 56-1) together with other referential sources which are presented the CSR disclosure in the Form 56-1. The findings revealed that the principle on a fair treat to the labor received the highest level of disclosure in 2016. In 2017, the principle on community involvement and development received the highest level of disclosure. In 2018, the principle on a labor practices received the highest level of disclosure. Moreover, the findings presented that the principle on a respect of human rights was disclosed at the lowest level during the three years. The results of the study on the CSR disclosure categorized by industry showed that in 2016, the financial industry earned the highest level of CSR disclosure. It valued the highest level of concern on community involvement and development; but paid the lowest level of concern on respect of human rights. In 2017, the property and construction industry earned the highest level of CSR disclosure. It paid the highest level of concern on community involvement and development; but paid the lowest level of concern on equitable business operation. In 2018, the resource industry earned the highest level of CSR disclosure. It paid the highest level of concern on environmental sustainability; but paid the lowest level of concern on respect for human rights. The results of the study on trend of the changes on CSR disclosure of all numbers of studied companies being conducted in accordance with the 8 CSR principles showed that the principle on community involvement and development tended to achieve a positive change the most; while the principle on responsibilities to consumers tended to be able to reach for the change at the lowest level. The findings also revealed that the principle on community involvement and development had the highest level of CSR disclosure; while the principle on CSR innovation had the lowest level of CSR disclosure.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลen_US
dc.title.alternativeCorporate Social Responsibility Disclosure of Environmental, Social and Governance Companiesen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล ระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง ปี พ.ศ. 2561 ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 โดยเก็บข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รวมถึงแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ในแบบ 56-1 ผลการศึกษาพบว่า ปี พ.ศ. 2559 เปิดเผยหลักการเรื่องการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมมากที่สุด ปี พ.ศ. 2560 เปิดเผยหลักการเรื่องการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคมมากที่สุด และปี พ.ศ. 2561 เปิดเผยหลักการเรื่องการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าทั้งสามปีมีการเปิดเผยหลักการเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนน้อยที่สุด การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม แบ่งตามอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2559 กลุ่มธุรกิจการเงินมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคมมากที่สุดและให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนน้อยที่สุด ปี พ.ศ. 2560 กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคมมากที่สุดและให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรมน้อยที่สุด และปี พ.ศ. 2561 กลุ่มทรัพยากรมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากที่สุดและให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนน้อยที่สุด การศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการวัดระดับการเปิดเผยข้อมูลเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมตามจำนวนบริษัทฯ ตามหลักการ 8 ข้อ พบว่า หลักการเรื่องการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคมมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุด และหลักการเรื่องความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า หลักการเรื่องการร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคมมีระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด และหลักการเรื่องการมีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมฯ มีระดับการเปิดเผยน้อยที่สุดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591532221 เพชราพร เทพาคำ.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.