Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69588
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Asst. Prof. Dr. Siriwadee Chomdej | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Siriwan Ongchai | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Korakot Nganvongpanit | - |
dc.contributor.author | Chakkrapong Kuensaen | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-15T03:04:14Z | - |
dc.date.available | 2020-08-15T03:04:14Z | - |
dc.date.issued | 2020-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69588 | - |
dc.description.abstract | LL-37 is the only human cathelicidin-family host defense peptide and has been reported to interact with invading pathogens causing inflammation at various body sites. Recent studies showed high levels of LL-37 in the synovial-lining membrane of patients with rheumatoid arthritis, a common type of inflammatory arthritis. The present study aims to investigate the role of LL-37 on mechanisms associated with pathogenesis of rheumatoid arthritis and how the product of LL-37 induction, HA fragment, affected the disease mechanisms. The effects of LL-37 on the expression of proinflammatory cytokines, hyaluronan (HA) metabolism-related genes, cell death-related pathways, and cell invasion were investigated in SW982, a human synovial sarcoma cell line. Time-course measurements of proinflammatory cytokines and mediators showed that LL-37 significantly induced IL6 and IL17A mRNA levels at early time points (3–6 hr). HA-metabolism-related genes (i.e., HA synthase 2 (HAS2), HAS3, hyaluronidase 1 (HYAL1), HYAL2, and CD44) were co-expressed in parallel. In combination, LL-37 and IL-17A significantly enhanced COX2, TNF, and HAS3 gene expression concomitantly with the elevation of their respective products, PGE2, TNF, and HA. Cell invasion rates and FN1 gene expression were also significantly enhanced. However, LL-37 alone or combined with IL-17A did not affect cell mortality or cell cycle. Treatment of SW982 cells with both LL-37 and IL-17A significantly enhanced IKK and p65 phosphorylation. These findings suggest that the chronic production of a high level of LL-37 may synchronize with its downstream proinflammatory cytokines, especially IL-17A, contributing to the co-operative enhancement of pathogenesis mechanisms of rheumatoid arthritis, such as high production of proinflammatory cytokines and mediators together with the activation of HA-metabolism-associated genes and cell invasion. Furthermore, the by-product of the induced inflammation, the accumulated HA fragment possessed the pro-inflammatory properties as well. Partly through TLR4 receptor, HA fragment could upregulate gene expression of TNF, IL1 and IL6. It also showed a positive feedback loop induction on the production of LMW-HA by HAS3 and induced TLR4-independently cell migration in SW982 cell. These phenomena demonstrate how LL-37 could be a potent inducer of RA at an early stage, induced by exogenous invasion or the hypersensitized innate immune system. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Effects of Human Cathelicidin on Hyaluronan Metabolism and Mechanisms Related to Rheumatoid Arthritis | en_US |
dc.title.alternative | ผลของแคเธลิซิดินที่พบในมนุษย์ต่อเมแทบอลิซึมของไฮยาลูโรแนนและกลไกที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | LL-37 คือเปปไทด์ต่อต้านจุลชีพในตระกูลแคเธลิซิดินเพียงชนิดเดียวที่พบในมนุษย์และมีรายงานว่า LL-37 สามารถตอบสนองต่อจุลชีพที่เข้ามาในร่างกายโดยทำให้เกิดการอักเสบบริเวณต่างๆ ทั่วร่างกาย และยังมีงานวิจัยที่พบปริมาณของ LL-37 ที่สูงกว่าปกติในเยื่อหุ้มข้อของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของ LL-37 ต่อกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ อันได้แก่การแสดงออกของยีนไซโตไคน์ก่อการอักเสบและยีนที่ควบคุม เมแทบอลิซึมของไฮยาลูโรแนน กลไกที่ควบคุมการตายของเซลล์ และการบุกรุกของเซลล์ ซึ่งทั้งหมดถูกตรวจสอบในเซลล์เชื้อสายมะเร็งเยื่อหุ้มข้อ SW982 จากการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับไซโตไคน์ก่อการอักเสบและเมดิเอเตอร์พบว่า LL-37 กระตุ้นการแสดงออกของยีน IL6 และ IL17A อย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ชั่วโมงที่สาม นอกจากนี้ที่เวลาใกล้เคียงกันยังพบการแสดงออกที่มากขึ้นของยีนที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของ ไฮยาลูโรแนน ได้แก่ HA synthase 2 (HAS2), HAS3, hyaluronidase 1 (HYAL1), HYAL2 และ CD44 และเมื่อ IL-17A ถูกเลือกมาใช้กระตุ้นร่วมกับ LL-37 พบว่าการแสดงออกของยีน COX2, TNF และ HAS3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญพร้อมกับปริมาณของผลิตภัณฑ์ของยีนเหล่านั้นด้วยอันได้แก่ PGE2, TNF และไฮยาลูโรแนน อัตราการบุกรุกของเซลล์และการแสดงออกของยีน FN1 ก็ถูกกระตุ้นโดย LL-37 และ IL-17A อย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่าทั้ง LL-37 และ IL-17A ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการตายของเซลล์หรือวัฏจักรเซลล์ เมื่อศึกษาเส้นทางการส่งสัญญาณภายในเซลล์พบว่าการเติมหมู่ฟอสเฟตของ IKK และ p65 ซึ่งเป็นโมเลกุลหลักของเส้นทาง NF-kB ถูกกระตุ้น จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า LL-37 ที่มีปริมาณมากในเซลล์เป็นเวลานานอาจทำงานร่วมกับไซโตไคน์ก่อการอักเสบที่ถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นมา เช่น IL-17A ในการเหนี่ยวนำกลไกที่เกี่ยวกับการเกิดโรคข้ออักเสบ เช่น การผลิตไซโตไคน์และเมดิเอเตอร์ก่อการอักเสบปริมาณมาก การกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของไฮยาลูโรแนน และการบุกรุกของเซลล์ ยิ่งไปกว่านั้นไฮยาลูโรแนนสายสั้นที่เป็นผลผลิตที่เกิดจากการอักเสบหลังจากถูก LL-37 กระตุ้น ยังสะสมอยู่นอกเซลล์และมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการอักเสบอีกด้วย ไฮยาลูโรแนนสายสั้นสามารถกระตุ้นการแสดงออกของยีน TNF, IL1 และ IL6 ผ่านทาง ตัวรับ TLR4 มันยังสามารถกระตุ้นการผลิตไฮยาลูโรแนนขนาดกลางโดย HAS3 แบบวนลูป และกระตุ้นการเคลื่อนที่ของเซลล์ SW982 โดยไม่ผ่านตัวรับ TLR4 ปรากฏการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า LL-37 เป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ในระยะเริ่มแรกได้ ทั้งนี้การเพิ่มปริมาณของ LL-37 อาจเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก หรือการที่ร่างกายมีสภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน | en_US |
Appears in Collections: | SCIENCE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
580551073 จักรพงศ์ ขึ้นแสน.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.