Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69562
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Somporn Sungkarat-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Sureeporn Uthaikhup-
dc.contributor.advisorProf. Chaicharn Pothirat, M.D.-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Chalerm Liwsrisakun, M.D.-
dc.contributor.authorBusaba Chuatrakoonen_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:03:42Z-
dc.date.available2020-08-14T03:03:42Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69562-
dc.description.abstractAccumulating evidence has demonstrated that individuals with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) have balance deficits and high incidence of falls. As falls could have devastating consequences, identifying fall risk factors and individuals who are at risk of falls are needed, so that optimal fall prevention interventions could be designed and implemented. It has been suggested that balance training should be part of pulmonary rehabilitation (PR) program for individuals with COPD. However, there has been limited evidence on the benefits of such program. The first study aimed to systematically review balance impairment and effectiveness of exercise interventions in improving balance performance and reducing fall risk in individuals with COPD. Four databases (i.e. Scopus, CINAHL, PubMed, and Cochrane Library) with 24 key words related to COPD, balance impairment, and exercise intervention were used in search strategy. The result of the 15 included studies revealed that individuals with COPD had poorer balance performance as measured by three balance approaches (i.e. functional, systematic, and quantitative laboratory approaches) than those with non-COPD. Further, the findings from four randomized controlled trials (RCTs) suggested that intervention strategies including adding balance training to the PR program, Tai Chi, and cycling exercise programs might be effective in improving balance in individuals with COPD. The second study aimed to examine physiological impairments contributing to fall risk in 114 individuals with COPD compared to 57 individuals with non-COPD. All participants underwent fall risk assessment using the Physiological Profile Assessment (PPA) which included 5 subdomains (i.e. visual contrast sensitivity, proprioception, quadriceps muscle strength, reaction time, and postural sway). In addition, the Timed-Up and Go (TUG) was used to evaluate functional balance performance. The results showed that individuals with COPD had significantly poorer performance in all subdomains of PPA and had higher risk of falls than those with non-COPD (all p < 0.05). Further, they took significantly longer time to complete TUG than the non-COPD participants (p < 0.05). There was a moderate correlation between the PPA composite score and the TUG score (r = 0.046, p < 0.001).The third study aimed to investigate the effectiveness of home-based balance training incorporated with PR program on balance and fall risk in individuals with COPD. Forty-eight individuals with COPD who had impaired balance were randomly allocated into the home-based balance training incorporated with PR program and the home-based PR program (24 per group). The training frequency was 3 sessions per week for 8 consecutive weeks with the duration of 45 and 65 minutes per session for the PR and PR plus balance group, respectively. Primary outcomes were balance performance and fall risk, and secondary outcomes were balance confidence, dyspnea level, exercise capacity, and disease-related symptoms related to quality of life. These outcomes were assessed at baseline and after 8-week of training. The results revealed that participants in the home-based balance training incorporated with PR group demonstrated significantly better balance performance and lower fall risk than those in the home-based PR program alone (p < 0.05). For the secondary outcomes, there were significant improvements in balance confidence, exercise capacity, and disease-related symptoms in the home-based balance training incorporated with PR program compared to the home-based PR program alone (p < 0.05).The overall findings of this thesis confirm previous findings that individuals with COPD had balance impairment and increased fall risk which emphasize the need for identifying balance impairment and fall risk in individuals with COPD. Further, the study findings provide evidence that homed-based balance training incorporated with standard PR program is feasible and beneficial for balance improvement and fall risk reduction, thus, may be considered as alternative to hospital-based and PR alone program particularly for individuals with COPD who have balance deficits.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleAssessment and Management of Balance Impairment and Fall Risk in Individuals with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD)en_US
dc.title.alternativeการประเมินและการจัดการความบกพร่องของการทรงตัวและความ เสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractหลักฐานงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความบกพร่องในการทรงตัวและมีอุบัติการณ์การหกล้มสูง ซึ่งการหกล้มนั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงอื่นๆตามมา ดังนั้นการศึกษาเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มจึงเป็นสิ่งที่จาเป็น เพื่อให้สามารถออกแบบและให้การรักษาเพื่อป้องกันการหกล้มได้อย่างเหมาะสม ที่ผ่านมามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม หลักฐานงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของโปรแกรมดังกล่าวยังมีจำกัด การศึกษาแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความบกพร่องในการทรงตัว และประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกาลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยสืบค้นผ่าน 4 ฐานข้อมูล ได้แก่ Scopus, CINAHL, PubMed และ Cochrane Library โดยคำสืบค้นสาคัญที่เกี่ยวข้องกับ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง การทรงตัว และการออกกำลังกาย จำนวน 24 คา ผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัยที่ถูกรวบรวมอยู่ในการศึกษานี้จำนวน 15 งานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความสามารถในการทรงตัวที่แย่กว่าผู้ที่ไม่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง แสดงจากผลการประเมินการทรงตัวทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ functional balance approach, systemic balance approach และ quantitative laboratory approach นอกจากนี้ข้อมูลจากงานวิจัยจำนวน 4 งานในรูปแบบ Randomized Controlled Trials (RCTs) เสนอแนะว่าโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด โปรแกรมการฝึกไทชิ และโปรแกรมการออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน มีประสิทธิผลในการเพิ่มความสามารถในการทรงตัวในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง การศึกษาที่สองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 114 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีภาวะปอดอุดกั้นเริ้อรัง จำนวน 57 คน อาสาสมัครถูกประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มโดยใช้ชุดแบบประเมิน Physiological Profile Assessment (PPA) ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบย่อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสายตา ด้านการรับรู้ของข้อต่อ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ด้านปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น และด้านการทรงตัวขณะยืน นอกจากนี้ยังได้รับการประเมินการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว โดยการทดสอบ Timed-Up and Go (TUG) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความบกพร่องของการทดสอบย่อยทั้ง 5 ด้าน และมีความเสี่ยงต่อการหกล้มที่สูงกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง อีกทั้งผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังยังใช้เวลาในการทดสอบ TUG นานกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (p < 0.05) และการศึกษานี้ยังพบความสัมพันธ์ในระดับปานกลางระหว่างผลการทดสอบด้วย PPA และ TUG (r = 0.46, p < 0.001) การศึกษาที่สามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านต่อความสามารถในการทรงตัวและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาสาสมัครประกอบด้วยผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีความบกพร่องในการทรงตัว จำนวน 48 คน ซึ่งได้รับการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้าน และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้าน (จานวน 24 คนต่อกลุ่ม) โดยแต่ละกลุ่มออกกาลังกายตามโปรแกรมที่กำหนด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ สำหรับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านจะใช้เวลาฝึก 45 นาที และโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านใช้เวลา 65 นาที ตัวแปรหลักในการศึกษา ได้แก่ ความสามารถในการทรงตัวและความเสี่ยงต่อการหกล้ม ส่วนตัวแปรรอง ได้แก่ ความมั่นใจในการทรงตัว ระดับความเหนื่อย ความสามารถในการออกกาลังกาย และอาการที่สัมพันธ์กับภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพชีวิต โดยทาการประเมินตัวแปรทั้งหมดก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการหกล้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านเพียงอย่างเดียว (p < 0.05) ส่วนผลการศึกษาของตัวแปรรองพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านมีความมั่นใจในการทรงตัวสูงขึ้นความสามารถในการออกกาลังกายเพิ่มขึ้น และอาการที่สัมพันธ์กับภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านเพียงอย่างเดียว (p < 0.05) ผลการศึกษาโดยรวมในดุษฎีนิพนธ์นี้ยืนยันผลการศึกษาก่อนหน้าว่า ผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความบกพร่องในการทรงตัวและมีความเสี่ยงในการหกล้มสูง ซึ่งจาเป็นที่จะต้องศึกษาเพื่อระบุความบกพร่องในการทรงตัวและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง นอกจากนี้ผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้ยังแสดงหลักฐานว่า โปรแกรมการฝึกการทรงตัวร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่บ้านมีความเป็นไปได้ในการฝึกและมีประโยชน์ในการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว และลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ดังนั้นโปรแกรมดังกล่าวอาจเป็นทางเลือกในการนาไปพิจารณาใช้แทนโปรแกรมการฟื้นฟูที่โรงพยาบาล หรือโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพียงอย่างเดียวในผู้ที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังร่วมกับมีความบกพร่องในการทรงตัวen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591155902 บุษบา ฉั่วตระกูล.pdf8.74 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.