Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69561
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ดร.ชโลบล วงศัสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | รัตนชัย ตัญญะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-14T03:03:37Z | - |
dc.date.available | 2020-08-14T03:03:37Z | - |
dc.date.issued | 2020-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69561 | - |
dc.description.abstract | Threadfin bream genus Nemipterus have been high economic values because it is one of the important export products of Thailand. At present, the amount of threadfin bream caught from the Gulf of Thailand has been highly decreasing. The possible cause of this reduction due to parasitic infection affecting fish’s life. From the study of total 100 threadfin breams, 50 Nemipterus hexodon and 50 N. japonicus, between December 2018 to June 2019. In N. hexodon were found 3 species of helminths, including 2 species of Monogenean (Calydiscoides nemipteris and Microcotyle sp.) and 1 species of Nematode (Anisakis typica). While in N. japonicus were found 6 species of helminths including 2 species of Monogenean (C. nemipteris and Microcotyle sp.) 1 species of Trematode (Opecoelus sp.) 2 species of Nematode (Anisakis typica and Camallanus sp.) and 1 species of Acanthocephalan (Rhadinorhynchus cololabis). Total prevalence of the helminths in N. hexodon and N. japonicus were 78% and 66%, respectively. Total intensity were 7.23, 16.36 and total abundance were 5.64 and 10.80, respectively. Morphological study of the Anisakis third-stage larvae by Scanning Electron Microscope demonstrated the mucron at the posterior end were cylindrical shape and molecular study of the larvae by sequencing of the ITS1-5.8S-ITS2 region of ribosomal DNA was confirmed the larvae to be Anisakis typica. Thus, the morphological of the A. typica larvae under SEM in the present study suggested to use as a criterion for classification and the study of diversity of anisakid nematodes in Thailand. As well as the results of the diversity of helminths in threadfin breams sold in Chiang Mai which is ช the first study and report in Chiang Mai, can be used as a database for planning, prevention and reducing the risk of parasitic disease in humans and animals. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสำรวจหนอนพยาธิในปลาทรายแดง (Nemipterus spp.) ที่วางจาหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Survey of Helminths in Threadfin Bream (Nemipterus spp.) Sold in Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปลาทรายแดงในสกุล Nemipterus เป็นปลาที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นหนึ่ง ในสินค้าส่งออกที่สําคัญของไทย ในปัจจุบันพบว่าปลาทรายแดงที่จับได้จากบริเวณอ่าวไทยมีปริมาณ ลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดหนอนพยาธิที่ส่งผลต่อการดํารงชีวิตของปลา จากการศึกษาปลาทรายแดงโม่ง (Nemipterus herodon) และปลาทรายแดงญี่ปุ่น (N. japonicus) ชนิดละ 50 ตัว ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 ถึงมิถุนายน 2562 พบว่าในปลาทรายแดงโม่งมีการติด หนอนพยาธิทั้งหมด 3 ชนิด เป็นหนอนพยาธิปลิงใส 2 ชนิด คือ Calvdiscoides nenipteris และ Microcotyle sp. และหนอนพยาธิตัวกลม 1 ชนิด คือ Anisakis typica ส่วนปลาทรายแดงญี่ปุ่น มีการติดหนอนพยาธิทั้งหมด 6 ชนิด เป็นหนอนพยาธิปลิงใส 2 ชนิด คือ C. nemipteris และ Microcotyle sp. หนอนพยาธิใบไม้ 1 ชนิด คือ Opecoelus sp. หนอนพยาธิตัวกลม 2 ชนิด คือ Anisakis typica และ Canallanus sp. และหนอนพยาธิหัวหนาม 1 ชนิด คือ Rhadinorhynchus cololabis ค่าความชุกรวม (total prevalence) ของหนอนพยาธิในปลาทรายแดงโม่งและปลาทรายแดงญี่ปุ่น เท่ากับ 78% และ 66% ตามลําดับ ค่าความหนาแน่นรวม (total intensity) เท่ากับ 7.23 และ 16.36 และ ค่าความอุดมสมบูรณ์รวม (total abundance) เท่ากับ 5.64 และ 10.80 ตามลําดับ สําหรับการศึกษา ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนระยะที่ 3 ของหนอนพยาธิอะนิสซาคิสด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบลักษณะที่สําคัญ คือ mucron บริเวณปลายหางเป็นรูปทรงกระบอก และจากการศึกษาด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาโดยการหาลําดับนิวคลีโอไทด์บริเวณตําแหน่ง ITS15.8S-ITS2 บน ribosomal DNA ยืนยันว่าตัวอ่อนหนอนพยาธิตัวกลม คือ Anisakis typica ดังนั้น ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนหนอนพยาธิ 4. typica ภายใต้ SEM จากการศึกษาในครั้งนี้อาจใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดจําแนกตัวอ่อนหนอนพยาธิอะนิสซาคิสได้ และ ผลการศึกษาทางอณูชีววิทยาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาความหลากหลายของหนอนพยาธิ อะนิสซาคิสในประเทศไทย ตลอดจนผลการศึกษาความหลากหลายของหนอนพยาธิในปลาทรายแดง ที่วางจําหน่ายในจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาและรายงานเป็นครั้งแรกในจังหวัด เชียงใหม่ สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคพยาธิใน คนและสัตว์ต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | SCIENCE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610531080 รัตนชัย ตัญญะ.pdf | 16.61 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.