Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69551
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชนิดาสุวรรณประสิทธ์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ดร.พิษณุ วงศพ์รชัย-
dc.contributor.authorณฏั ฐ์สุขพรสวรรค์en_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:47Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:47Z-
dc.date.issued2020-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69551-
dc.description.abstractThe objective of the study of semi-automatic Phayao-Fault zone extraction by satellite imagery are 1) to select the suitable method for lineament extraction, 2) to select of the lineaments by comparison and 3) to analyze relationship between fault line and physical characteristics in the Phayao-Fault zone are using Landsat 8 OLI which acquired on 15 February 2016 and 22 February 2016 The process of the study included satellite images improvement comparison using 3*3 pixels windows size filtering between Sobel Filter, Laplacian Filter, Directional Filter, Principal Component Analysis, and LD_B7 which was a method developed in this study and lineaments extraction using Canny Algorithm the previous step. The process of lineament classification from digital elevation model, slope, 3Dof digital elevation model, satellite images, improved satellite image, Google Map, geological structure, and surveys dataset. Finally, the relationship analyzing between extracted fault lines and physical characteristics of the study area. The result of study showed that LD_B7 did the better result than other techniques in study for satellite images, improvement and lineament extraction with 3*3 pixels window size filtering in SWIR2 band. It was proved by accuracy assessment using 4 method including visual interpretation, classified with overlay dataset, classified with lineament sampling collection, and sensitivity assessment using different date extraction. The result of classified lineament from LD_B7 found the fault lines appeared on the extracted lineaments. There were extracted fault lines in each direction including 1) in north-south direction 408 lines with 17.65% of north-south direction, 2) in east-west direction 480 lines with 20.99% of east-west direction, 3) in northeast-southwest direction 330 lines with 14.31% of northeast-southwest direction and 4) in northwest-southeast direction 313 lines with 13.67% of northwest-southeast direction. The most fault lines found in north-south direction. Along with other lineaments from agriculture field boundary, water body boundary, mountain ridge, and topographic shadow ware found from LD_B7 extraction method. For the relationship between lineaments and physical characteristics of the study area, the most of extracted fault lines were normal fault. Additionally, the extracted fault lines were checked with 18 survey points. And found that 10 fault evidence from field survey data with 55.66% of the total survey point were correlated to extracted fault lines. On the other hand, 6 points with 33.33% were not correlated to the extracted fault lines and there were 2 points with 11.11% that had no extracted fault line overlap but the neighbor fault lines with similar direction were found. The study of semi-automatic Phayao-Fault zone extraction by satellite imagery, was carried out the guideline of specific lineament extraction, especially fault line, which are useful for investigating fault line. For getting more accuracy and precision, the appropriate dataset and methodology should be concerned for the further study.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการสกัดกลุ่มแนวรอยเลื่อนพะเยาแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมen_US
dc.title.alternativeSemi-Automatic Phayao-Fault Zone Extraction by Satellite Imageryen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการสกัดกลุ่มแนวรอยเลื่อนพะเยาแบบกึ่งอัตโนมัติจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสมสําหรับการสกัดแนวเส้นจากภาพถ่ายดาวเทียม 2) เพื่อ จําแนกแนวรอยเลื่อนจากแนวเส้นที่ได้จากการสกัด และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวรอย เลื่อนกับลักษณะกายภาพบริเวณพื้นที่กลุ่มแนวรอยเลื่อนพะเยา ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 OLI วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยมีขั้นตอนการศึกษา ประกอบด้วย ขั้นตอนการคัดเลือกวิธีการที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่เหมาะสม ด้วยขนาดตัวกรอง 3*3 พิกเซล จากวิธีการ Sobel Filter, Laplacian Filter, Directional Filter, Principal Component Analysis และ LD B7 ซึ่งเป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในการศึกษาครั้งนี้ ขั้นตอนการสกัดแนว เส้นจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วย Canny Algorithm ขั้นตอนการจําแนก ชนิดของแนวเส้นจาก ข้อมูลความสูงเชิงเลข ความลาดชัน ความสูงเชิงเลข 3 มิติ ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายดาวเทียมจากการปรับปรุงคุณภาพ ภาพจาก Google Map โครงสร้างทางธรณี และข้อมูล ภาคสนาม จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวรอยเลื่อนที่สกัดได้กับลักษณะทางกายภาพ ในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า วิธีการ LD B7 เป็นวิธีการที่เหมาะสมสําหรับปรับปรุงคุณภาพข้อมูลภาพถ่าย ดาวเทียมและการสกัดแนวเส้น ด้วยขนาดตัวกรอง 3*3 พิกเซล ในช่วงคลื่น SWIR 2 ให้ผลลัพธ์ข้อมูล แนวเส้นที่ดีกว่าวิธีการอื่นที่ทําการศึกษา โดยอ้างอิงจากผลการตรวจสอบทั้ง 4 วิธี ได้แก่ การ ตรวจสอบด้วยสายตา การจําแนกแบบซ้อนทับหรือคาบเกี่ยวข้อมูล การจําแนกแบบเก็บตัวอย่างแนวเส้น และการตรวจสอบความอ่อนไหวของขั้นตอนการสกัดแนวเส้นจากข้อมูลในช่วงเวลาที่แตกต่าง กัน ผลการจําแนกแนวเส้นที่สกัดได้จากวิธีการ LD B7 พบว่า มีแนวเส้นที่เป็นแนวรอยเลื่อนปรากฎอยู่ใน แนวเส้นที่สกัดได้ โดยพบแนวรอยเลื่อนวางตัวในแต่ละทิศที่สกัดได้ ประกอบด้วย 1) แนวรอยเลื่อน วางตัวในทิศ เหนือ-ใต้ จํานวน 408 แนวเส้น คิดเป็นร้อยละ 17.65 ของแนวเส้นที่วางตัวในทิศเหนือ ใต้ 2) แนวรอยเลื่อนวางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก จํานวน 480 แนวเส้น คิดเป็นร้อยละ 20.99 ของ แนวเส้นที่วางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก 3) แนวรอยเลื่อนวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ จํานวน 330 แนวเส้น คิดเป็นร้อยละ 14.31 ของแนวเส้นที่วางตัวในทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และ4) แนวรอยเลื่อนวางตัวในทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตก เฉียงเหนือ จํานวน 313 แนวเส้น คิดเป็นร้อยละ 13.67 ของแนวเส้นที่วางตัวในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งแนวเส้นส่วนใหญ่ที่สกัดได้วางตัวในทิศ เหนือ-ใต้ นอกจากนี้ยังมีแนวเส้น ชนิดอื่นที่สามารถสกัดได้จากวิธีการ LD B7 ได้แก่ แนวเส้นที่เป็นขอบเขตแปลงเกษตร แนวเส้นที่ เป็นขอบเขตของแหล่งน้ําแนวสันเขา และแนวเส้นที่เกิดจากเงาของภูมิลักษณ์ในพื้นที่ ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูลแนวเส้นและข้อมูลลักษณะกายภาพของพื้นที่ศึกษา พบว่า แนวรอยเลื่อนในพื้นที่ศึกษาที่สกัดได้ส่วนใหญ่เป็นแนวรอยเลื่อนแบบปกติ และพบว่า ข้อมูล ภาคสนามที่ใช้อ้างอิงตําแหน่งของแนวรอยเลื่อนทั้ง 18 จุด มีแนวเส้นที่สกัดได้สอดคล้องกับตําแหน่ง ข้อมูลภาคสนามทั้งหมด 10 จุด คิดเป็นร้อยละ 55.66 และการสํารวจภาคสนามพบหลักฐานแนวรอย เลื่อนแต่วิธีการไม่สามารถสกัดได้มีทั้งหมด 6 จุด คิดเป็นร้อยละ 33.33 และแนวเส้นบริเวณจุดสํารวจ ไม่สามารถสกัดได้แต่สามารถสกัดแนวเส้นได้จากบริเวณใกล้เคียงและมีทิศทางการวางตัวตรงกับ ข้อมูลภาคสนามมีทั้งหมด 2 จุด คิดเป็นร้อยละ 11.11 การศึกษาการสกัดกลุ่มแนวรอยเลื่อนพะเยาแบบกึ่งอัตโนมัติจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในครั้งนี้ได้ ผลลัพธ์เป็นวิธีการสําหรับสกัดแนวเส้นแบบเฉพาะจงอย่างแนวรอยเลื่อน ซึ่งสามารถช่วยในการ ค้นหาแนวเส้นที่เป็นแนวรอยเลื่อนได้ ทั้งนี้เพื่อให้แนวเส้นรอยเลื่อนที่สกัดได้มีความถูกต้องและ แม่นยํายิ่งขึ้นไปควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงการเลือกใช้ข้อมูลและวิธีการที่เหมาะสมต่อไปen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580431014 ณัฏฐ์ สุขพรสวรรค์.pdf12.91 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.