Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69504
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพงศ์ พีระเชื้อ | - |
dc.contributor.advisor | รองศาสตราจารย์ ดร.นฤนาถ ศราภัยวานิช | - |
dc.contributor.author | ธรรวา สุนพิชัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-11T02:25:52Z | - |
dc.date.available | 2020-08-11T02:25:52Z | - |
dc.date.issued | 2020-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69504 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to study the relationship between perceived audit quality, communication style, client’s satisfaction, client’s loyalty and the moderating effect of information exchange on the relationship between client’s satisfaction and client’s loyalty. This research collected the data from 423 informants which are in non – listed companies group by using a structured questionnaire. The collected data was analyzed by Structural Equation Model (SEM). The results of this research disclosed that perceived audit quality had significant positive effect on client’s satisfaction but perceived audit quality did not have significant effect on client’s loyalty. Furthermore, affiliation communication style between auditor and client had significant positive effect on perceived audit quality and client’s satisfaction. However, dominance communication style between auditor and client did not have significant effect on perceived audit quality and client’s satisfaction. In addition, client’s satisfaction also had significant positive effect on client’s loyalty. Moreover, the results indicated that in low Information exchange situation strengthened the relationship between client’s satisfaction and client’s loyalty. In order to increase client’ s audit quality perception and satisfaction, auditor should communicate to client by demonstrating sympathy, sincerity and speaking clearly to the main point by using simple language. In addition, to create client’ s satisfaction that will result in client’s loyalty. The auditor should focus on audit quality. For instant, to show that auditor is independent, clearly understanding the client’ s business model and professionalism. In terms of information exchange, the results indicated that in low information exchange situation strengthened the relationship between client’s satisfaction and client’s loyalty because the majority of client in non – listed companies which have deficient accounting and auditing knowledge. Therefore, client’s suspicion can be occured during exchange the information. To mitigate client’s suspicion, the auditor should provide the knowledge about the importance and benefits of audit process by using simple language. As a result of decreased client’s suspicion, the loyalty also will be increased. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าของสำนักงานสอบบัญชีที่ให้บริการกิจการที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | en_US |
dc.title.alternative | Factors Affecting Client’s Loyalty in Audit Firms Providing Services for Non – Listed Companies | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพงานสอบบัญชี รูปแบบการสื่อสารระหว่างผู้สอบบัญชีกับลูกค้า ความพึงพอใจ และความจงรักภักดีของลูกค้า รวมถึงผลกระทบเชิงกำกับของการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มกิจการนอกตลาดทุนจำนวน 423 ชุดข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้คุณภาพงานสอบบัญชีมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การรับรู้คุณภาพงานสอบบัญชีไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความจงรักภักดีของลูกค้า นอกจากนี้ การสื่อสารในรูปแบบเป็นมิตรมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการรับรู้คุณภาพงานสอบบัญชีและความพึงพอใจของลูกค้า ในขณะที่การสื่อสารในรูปแบบที่เป็นการครอบงำ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อการรับรู้คุณภาพงานสอบบัญชีและความพึงพอใจของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้ามีผลในเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า สถานการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่ำมีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของลูกค้าที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้ามากกว่าสถานการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง ดังนั้นผู้สอบบัญชีควรสื่อสารกับลูกค้าโดยแสดงถึงความเป็นมิตรและจริงใจ พูดจาอย่างชัดเจนตรงประเด็นและใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าสามารถรับรู้ได้ถึงคุณภาพงานสอบบัญชีมากขึ้น และยังทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้สอบบัญชีควรทำให้ลูกค้าเห็นถึงคุณภาพในงานสอบบัญชีที่ให้บริการแก่ลูกค้า เช่น การแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและมีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจลักษณะการดำเนินธุรกิจของลูกค้าอย่างแท้จริง มีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการลูกค้า เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในการให้บริการของผู้สอบบัญชี ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูล พบว่าความพึงพอใจของลูกค้ามีผลต่อความจงรักภักดีในสถานการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่ำมากกว่า สถานการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง เนื่องมาจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกผู้สอบบัญชีของกลุ่มกิจการนอกตลาดทุนส่วนใหญ่มักไม่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านบัญชีและการสอบบัญชี ดังนั้นการที่ผู้สอบบัญชีและ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลบ่อยครั้ง อาจส่งผลให้ลูกค้าเกิดข้อคำถามหรือเกิดความสงสัยเพิ่มขึ้นในสิ่งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน จึงส่งผลให้ความจงรักภักดีของลูกค้าลดลง ดังนั้นผู้สอบบัญชีควรพูดคุยกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของกระบวนการสอบบัญชีโดยสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และ เมื่อลูกค้าเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสอบบัญชี ก็จะทำให้ลูกค้าลดความสงสัยต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีเพิ่มมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | BA: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
591532202 ธรรวา สุนพิชัย.pdf | 7.03 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.