Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69496
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อ.ทพ.ดร. ธีระพงษ์ ม้ามณี | - |
dc.contributor.author | สาธร รักทองสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-11T02:24:32Z | - |
dc.date.available | 2020-08-11T02:24:32Z | - |
dc.date.issued | 2020-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69496 | - |
dc.description.abstract | Objective: To investigate the effect of different surface treatments and thermocycling on the shear bond strength (SBS) between nickel-chromium alloy and resin cements. Methods: 305 nickel-chromium alloy rods diameter 6 millimeters height 2 millimeters were prepared and embedded in metal ring. Embedded specimens were randomly divided into 5 groups (n=60): (1) no surface treatment (Control); (2) sandblasting with aluminium oxide (Sandblast); (3) apply Cesead N Opaque Primer (MDP); (4) sandblasting with aluminium oxide and apply CeseadTM N Opaque primer (Sandblast + MDP); (5) treated with CoJetTM system (Cojet). Surface treated specimens were devided into 3 subgroups (n=20) according to types of resin cement. Then, the composite rod was bonded with NX3 NexusTM or RelyXTM Ultimate or Super-Bond C&B resin cement to the treated alloy surface. Bonded specimens in each resin cement group were devided into 2 subgroups (n=10) according to storage condition. After water storage at 37 °C for 24 h, and 5,000 cycles of thermocycling the specimens were subjected to SBS test with Instron® 5566 universal testing machine at a cross-head speed of 0.5 mm/min. All bond strength data were recorded and calculated in megapascal. Data were analyzed using three-way ANOVA and Dunnett T3 multiple comparison test at the significant level of 0.05. The 5 remaining specimens were surface treated according to 5 groups and observed by scanning electron microscope. Results: The mean SBS of Cojet group was significantly higher than that of other surface treatment groups (p<0.05). The mean SBS of Super-Bond C&B was significantly higher than that of other resin cements (p<0.05). After 5,000 cycles of thermocycling, the mean SBS of all groups was significantly decreased (p<0.05). Conclusion: CoJetTM was the most effective surface treatment in the term of increasing shear bond strength between nickel-chromium alloy and resin cement. Super-Bond C&B showed significantly higher bond strength compared to other cements. Shear bond strength decreased after thermocycling. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของการเตรียมพื้นผิวและเรซินซีเมนต์ต่อความแข็งแรงยึดเฉือนกับ โลหะผสมนิกเกิลโครเมียม | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Surface Treatments and Resin Cements on Shear Bond Strength to Nickel-Chromium Alloy | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์แต่ละชนิดกับโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียมเมื่อเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการทำเทอร์โมไซคลิง วิธีวิจัย สร้างชิ้นทดสอบโลหะผสม 305 ชิ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ความสูง 2 มิลลิเมตร ฝังในแบบหล่อโลหะ แบ่งเป็น 5 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มละ 60 ชิ้น กลุ่มที่ 1 ไม่ทำการปรับสภาพพื้นผิว (Control) กลุ่มที่ 2 เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทราย (Sandblast) กลุ่มที่ 3 เตรียมพื้นผิวด้วยซีสีด เอ็นโอเพคไพรเมอร์ (MDP) กลุ่มที่ 4 เตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับทาไพรเมอร์ซีสีดเอ็นโอเพคไพรเมอร์ (Sandblast + MDP) กลุ่มที่ 5 เตรียมพื้นผิวด้วยการเคลือบซิลิการะบบโคเจ็ท (Cojet) จากนั้นแบ่งโลหะผสมที่เตรียมพื้นผิวเป็น 3 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 20 ชิ้น ตามชนิดเรซินซีเมนต์ ยึดแท่งเรซินคอมโพสิตด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดเนกซัสธรี เรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมต หรือ เรซินซีเมนต์ชนิดซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี แบ่งชิ้นทดสอบของเรซินซีเมนต์แต่ละชนิดเป็น 2 กลุ่มย่อย ตามวิธีการจัดเก็บ กลุ่มละ 10 ชิ้น หลังการแช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง และทำเทอร์โมไซคลิงที่อุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียส จำนวน 5,000 รอบ นำชิ้นทดสอบไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอน อัตราเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที บันทึกข้อมูลและคำนวณเป็นหน่วยเมกะปาสคาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความแปรปรวนแบบสามทางเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) และเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดดันเนตต์ทีสาม นำชิ้นทดสอบที่เหลืออีก 5 ชิ้นมาเตรียมผิวด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มเพื่อส่องดูลักษณะพื้นผิวของโลหะผสมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนชนิดส่องกราดกำลังขยาย 2,000 เท่า ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของกลุ่มเคลือบซิลิการะบบโคเจ็ทมีค่าสูงกว่าการเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีการอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของกลุ่มที่ยึดด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีมีค่าสูงกว่าเรซินซีเมนต์ชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และภายหลังการทำเทอร์โมไซคลิงค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของทุกกลุ่มมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทำเทอร์โมไซคลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา การเตรียมพื้นผิวด้วยการเคลือบซิลิการะบบโคเจ็ท และการใช้เรซินซีเมนต์ชนิดซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีช่วยเพิ่มความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียมกับ เรซินซีเมนต์ทั้งก่อนและหลังการทำเทอร์โมไซคลิง โดยการทำเทอร์โมไซคลิงส่งผลให้ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนลดลง | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590931021 สาธร รักทองสุข.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.