Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69407
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLalida Shank-
dc.contributor.advisorNopakarn Chandet-
dc.contributor.authorWanutchaya Duangintaen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T03:20:40Z-
dc.date.available2020-08-07T03:20:40Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69407-
dc.description.abstractThe root of Moringa oleifera (drumstick tree) was selected for the investigation of anti-fungal enzymatic activity of chitinase and glucanase. Natural root and root-derived calli were extracted with 0.02 M sodium acetate buffer, pH 5.6. Results showed that activity of chitinase was not detectable in native root of drumstick tree, but was detected in root-derived calli in 0-80%sat. protein precipitate at 0.026 ± 0.008 µu/mg. Glucanase activity in native root was also undetectable, but observed in crude extract of root-derived calli, 0-80%sat. protein precipitate and supernatant at 0.043 ± 0.009, 0.008 ± 0.000 and 0.002 ± 0.002 mu/mg, respectively. The specific activity of the enzymes from root-derived calli were found higher than that from native root of drumstick tree. The calli were cultured for future screening of anti-fungal enzymes. The seeds of moringa were used to produce seedlings for the moringa callus culture. Seedling of drumstick tree was produced by culturing on MS (Murashige & Skoog) agar medium at pH 5.8 for 6 weeks. The leaf, shoot and root segments of the seedling were cultured separately on MS agar medium containing 0.5, 1.0, 3.0 and 7.0 mg/L of 2,4-D (2,4-dichlorophenoxy acetic acid). The callus culture was havested at 10-13 weeks after subculturing in MS medium containing 1.0 mg/mL of 2,4-D. The enzymatic production in calli was studied in the elicited callus culture with elicitors including chitosan, methyl jasmonate and salicylic acid at various concentrations (10.0, 15.0, 30.0 and 45.0 mg/mL) in MS suspension with constant shaking at 90 rpm for 48 hr. The activity screening was performed using 0.02 M sodium acetate buffer, pH 5.6 at 25 °C. Root derived calli showed the specific activity without elicitation at 1.217 ± 0.216 pu/µg. Leaf-derived calli showed the highest chitinase specific activity of 0.721 ± 0.055, 1.586 ± 0.706 and 0.606 ± 0.143 pu/µg when elicitated with salicylic acid, methyl jasmonate and chitosan at 45.0, 30.0 and 15.0 mg/mL, respectively. Root-derived calli exhibited glucanase specific activity at 0.074 ± 0.012 and 0.448 ± 0.039 µu/µg for 10.0 and 15.0 mg/mL of methyl jasmonate and chitosan, respectively, while leaf-derived calli showed 0.010 ± 0.004 µu/µg at 10.0 mg/mL of methyl jasmonate and 0.013 ± 0.004 µu/µg at 15.0 mg/mL for chitosan elicitation. Production of all studied enzymes in shoot-derived calli was not affected by elicitors. Protease activity was not detectable in all callus culture at these conditions. This investigation revealed that methyl jasmonate and chitosan significantly enhanced the production of anti-fungal enzymes in callus culture of drumstick tree, while salicylic acid only slightly affected such production. All callus culture derived from shoot, root and leaf showed high activity of chitinase and glucanase in root and leaf-derived calli. The leaf-derived calli with higher activity were elicited bymethyl jasmonate (10.0 and 30.0 mg/mL) and chitosan (10.0 and 15.0 mg/mL) for 6 days. The calli were collected and extracted at different times of elicitation. The specific activity of chitinase and glucanase were the highest at 10.0 and 30.0 mg/mL of methyl jasmonate, respectively, on the third day. The methyl jasmonate was able to enhance the specific activity better than chitosan. The enhancement of chitinase and glucanase production by elicitors is an alternative mean to obtain the enzymes for future applications.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAnti-fungalen_US
dc.subjectEnzymesen_US
dc.subjectDrumstick tree callusen_US
dc.titlePotential anti-fungal enzymes from drumstick tree callus (moringa oleifera Lam.)en_US
dc.title.alternativeเอนไซม์ที่มีศักยภาพในการต้านเชื้อราจากแคลลัสของมะรุมen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc572.7-
thailis.controlvocab.thashEnzymes-
thailis.controlvocab.thashFungi-
thailis.controlvocab.thashMoringa oleifera-
thailis.manuscript.callnumberTh 572.7 W251P-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ต้านเชื้อราเช่น ไคติเนสและกลูคาเนสจากมะรุม โดยการสกัดมะรุมด้วยโซเดียมอะซิเตทบัฟเฟอร์ที่มีความเข้มข้น 0.02 โมลาร์ พีเอช 5.6 พบว่าสารสกัดหยาบในรากมะรุมสดไม่มีแอคติวิตีของไคติเนส แต่ในแคลลัสจากรากมะรุมพบแอคติวิตี เมื่อตกตะกอนด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตที่ความอิ่มตัวร้อยละ 0-80 ที่ 0.026 ± 0.008 ไมโครยูนิตต่อมิลลิกรัม ไม่พบแอคติวิตีของกลูคาเนสในมะรุมสด แต่สามารถตรวจพบในสารสกัดหยาบ สารสกัดที่ตกตะกอนด้วยเกลือแอมโมเนียมซัลเฟตที่ความอิ่มตัวร้อยละ 0-80 และสารสกัดสุดท้ายของแคลลัสรากมะรุมมีแอคติวิตีที่ 0.043 ± 0.009, 0.008 ± 0.000 และ 0.002 ± 0.002 ไมโครยูนิตต่อมิลลิกรัม ตามลำดับ แอคติวิตีจำเพาะของเอนไซม์ที่สกัดจากแคลลัสจากการเพาะเลี้ยงรากมะรุม มีแอคติวิตีสูงกว่ารากมะรุมในธรรมชาติ ดังนั้นจึงได้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส และทำการศึกษาเอนไซม์ที่มีฤทธิ์การต้านเชื้อราต่อไป การเพาะเลี้ยงเมล็ดมะรุมบนอาหารกึ่งแข็ง MS (Murahinge & Skoog) พีเอช 5.8 เป็นเวลา 6 สัปดาห์จะได้ต้นกล้ามะรุม จากนั้นนำส่วนใบ ลำต้น และราก มาตัดเป็นชิ้นขนาด 0.1 x 0.1 เซนติเมตร เลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็ง MS ที่เติม 2,4-D (2,4-dichlorophenoxy acetic acid) ความเข้มข้น 0.5, 1.0, 3.0 และ 7.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 10-13 สัปดาห์พบว่า อาหารที่เติม 2,4-D 1.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ดีที่สุด การศึกษาการผลิตเอนไซม์ที่แคลลัสสร้างขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยตัวเหนี่ยวนำ ได้แก่ ไคโตซาน เมทิลแจสโมเนต และกรดซาลิซิลิก ทำที่ความเข้มข้นต่างๆ (10.0, 15.0, 30.0 และ 45.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ในอาหารเหลวพร้อมเขย่าตลอดเวลาที่ 90 รอบต่อนาที เป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยการตรวจหา แอคติวิตีของเอนไซม์ทำโดยใช้โซเดียมอะซิเตทบัฟเฟอร์ ที่พีเอช 5.6 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แคลลัสจากรากมีแอคติวิตีจำเพาะของไคติเนสเมื่อไม่มีการเหนี่ยวนำที่ 1.217 ± 0.216 พิโคยูนิตต่อไมโครกรัม ส่วนแคลลัสใบแสดงแอคติวิตีจำเพาะของไคติเนสสูงสุดที่ 0.721 ± 0.055, 1.586 ± 0.706 และ 0.606 ± 0.143 พิโคยูนิตต่อไมโครกรัม เมื่อเหนี่ยวนำด้วย กรดซาลิซิลิก เมทิลแจสโมเนต และไคโตซานที่ความเข้มข้น 45.0, 30.0 และ 15.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ แคลลัสจากรากมีแอคติวิตีจำเพาะของกลูคาเนสที่ 0.074 ± 0.012 และ 0.448 ± 0.039 ไมโครลิตรต่อไมโครกรัม เมื่อเหนี่ยวนำด้วย 10.0 และ 15.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ของเมทิลแจสโมเนต และไคโตซานตามลำดับ แคลลัสจากใบมีเอคติวิตีจำเพาะเท่ากับ 0.010 ± 0.004 ไมโครยูยิตต่อไมโครกรัม ที่ 10.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรของเมทิลแจสโมเนต และ 0.013 ± 0.004 ไมโครยูนิตต่อไมโครกรัมของ 15.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเหนี่ยวนำด้วยไคโตซาน แอคติวิตีของเอนไซม์ที่ศึกษาในแคลลัสจาก ลำต้นไม่ถูกกระทบโดยการเหนี่ยวนำด้วยตัวเหนี่ยวนำ โดยตรวจไม่พบแอคติวิตีของโปรติเอสในแคลลัสทั้งหมดในสภาวะที่ทำการทดลองนี้ได้ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมทิลแจสโมเนตและ ไคโตซานสามารถเพิ่มการผลิตเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราจากแคลลัสมะรุมได้อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่กรดซาลิซิลิกมีผลต่อการผลิตเอนไซม์น้อยมาก แคลลัสที่ได้จากทั้งลำตัน ราก และใบแสดงแอคติวิตีของไคติเนสและกลูคาเนสในแคลลัสจากรากและใบเท่านั้น แคลลัสจากใบซึ่งมีแอคติวิตีสูงกว่าจึงถูกนำมาเหนี่ยวนำด้วยเมทิลแจสโมเนต (10.0 และ 30.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และ ไคโตซาน (10.0 และ 15.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) เป็นเวลา 6 วัน เมื่อเก็บแคลลัสที่มีการเหนี่ยวนำมาสกัดที่เวลาต่างกัน แอคติวิตีจำเพาะของไคติเนสและกลูคาเนสพบได้สูงสุด เมื่อเหนี่ยวนำด้วยเมทิลแจสโมเนตที่ 10.0 และ 30.0 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ เป็นเวลา 3 วัน เมทิลแจสโมเนตสามารถเพิ่มแอคติวิตีจำเพาะของเอนไซม์ได้สูงกว่าไคโตซาน การเพิ่มความสามารถการผลิตไคติเนสและกลูคาเนสโดยตัวเหนี่ยวนำเป็นหนึ่งทางเลือกที่สามารถได้เอนไซม์เพื่อการประยุกต์ต่อไปen_US
Appears in Collections:GRAD-Sciences and Technology: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.