Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. จันทนา สุทธิจารี-
dc.contributor.authorฑริดา ใบเกษมen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:02:03Z-
dc.date.available2020-08-07T01:02:03Z-
dc.date.issued2014-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69377-
dc.description.abstractThis dissertation is on the adaptability of local governments in border areas of democratic state and socialist state to the ASEAN Economic Community (AEC). The case studies include Chiang Khong district, Chiang Rai province, Thailand and Houy Xai district, Bo Kaew province, Lao People’s Democratic Republic. The purposes of the study were: (1) to examine approaches and factors affecting the adaptability of local governments in study areas to the AEC; (2) to analyze the problems and obstacles in adapting to the AEC and; (3) to suggest solutions to such problems and obstacles . The adaptability includes those in the political, economical and socio-cultural spheres of the local areas examined. Based on the qualitative approach, this research employs the methods of document analysis and interviews with the samples of local governments, entrepreneur and local people. The finding revealed that local governments in study areas of Thailand and Lao PDR apply different approach in adapting themselves politically, economically and socio-culturally to the AEC. Politically, the Thai local governments created new AEC policies for the government officials to put into practice. They also promoted democracy and public participation, and encouraged the leaders' adaptation. As for Laos, the local governments paid attention to the issues of establishing political stability, strengthing and consolidating the Lao People’s Revolutionary Party, and developing and building capacity of the government officials. Economically, the Thai local governments have sought to educate the public about AEC, developed infrastructures, as well as promoted certain occupations and tourism. The Laos’s local governments, however, emphasized investment promotion from inside and outside the country. They also created economic hubs, developed infrastructure and improved labor skills. In the socio-cultural sphere, the Thai local governments developed human resources in accordance with the national development plan and provide information to people. They also sought to conserve local cultures and promote good relations with the neighboring countries. Similarly, the Laos’ local governments approached human resource development through education, sanitation and preservation of national culture. The factors that considerably affect the adaptability of Thai local governments were international relations, government policies, media, Thailand-Lao bilateral relations, visions of local government leaders, and knowledge and perception of the local government officials and community leaders. In the case of Laos, important factors are external situations, Lao People’s Revolutionary Party, political stability, media, community leaders and Lao people’s personality. Despite a number of plans and policies, the Thai local governments still confront some adaptability problems, namely the exceeding emphasis on basic information and the positive side of the AEC, limited availability of training and education (only for specific group), and the lack of public participation. Moreover, there also exists an obstacle concerning the society of Chiang Khong that is uncaring and lacking unity. Besides, the government of Chiang Khong are deprived of power, obliged to work along the national bureaucratic procedures, and affected by the poor relations between the local governments-local communities. In contrast, the Laos’ local governments face the lack of adequate information about the AEC, which should be provided by the national government. Such problem causes a number of difficulties in disseminating information including the inability of the community leaders to provide information to local people. Besides, there is also the lack of readiness in terms of basic infrastructure, education, and health care. The main obstacle above all is the centralization of power by the Lao People’s Revolutionary Party. Therefore, this study suggests that both of Thai and Laos’s governments should consider devolving more power to the local governments. They should provide comprehensive information about AEC, both in positive and negative lights that can be used as a road map for adaptation in every aspect. Community leaders should also play a role in improving the relations between local governments and the people. At the same time, the public should not rely on the government only, but should seek necessary information to create the adaptability plans of their own. Lastly, the local governments should ensure that good governance would take place within their own organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่ชายแดนในรัฐประชาธิปไตย และรัฐสังคมนิยมต่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และ แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeAdaptability of Local Governments in Border Areas of Democratic State and Socialist State to ASEAN Economic Community: Case Studies of Chiang Khong District, Chiang Rai Province, Thailand and Bo Kaew Province, Lao People’s Democratic Republicen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์เรื่องการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตพื้นที่ชายแดนในรัฐประชาธิปไตยและรัฐสังคมนิยมต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และ แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาแนวทาง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัว และ (3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัว ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวนั้นเป็นการปรับตัวทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่น งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และประชาชน โดยมีพื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่ พื้นที่เขต เทศบาลตำบลเวียงเชียงของ และเทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และพื้นที่เขตเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง 2ประเทศ มีแนวทางในการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยทางด้านการเมืองนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้มีการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เจ้าหน้าที่นำไปปฏิบัติ มีการสนับสนุนประชาธิปไตย ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และให้ผู้นำมีการปรับตัว ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาวให้ความสำคัญกับการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้มีความสงบเรียบร้อย ให้พรรคฯมีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่น รวมทั้งมีการพัฒนาและยกระดับบุคลากรของรัฐให้มีความรู้ความสามารถ ส่วนในด้านเศรษฐกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแก่ประชาชน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมอาชีพ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาว เน้นการส่งเสริมการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ สร้างศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และพัฒนาฝีมือแรงงาน สุดท้ายในด้านสังคมวัฒนธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีการพัฒนาบุคลากรให้เข้ากับแผนพัฒนาประเทศ ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาวมีแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านการศึกษา ส่งเสริมงานอนามัย และฟื้นฟูปกปักรักษาวัฒนธรรมของชาติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายนอกรัฐ นโยบายของรัฐบาล สื่อต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสปป.ลาว วิสัยทัศน์ของผู้นำในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความรู้ความเข้าใจของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาว ได้แก่ สถานการณ์ภายนอกประเทศ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว การเมืองการปกครองที่มีเสถียรภาพ ผู้นำชุมชนในท้องถิ่น สื่อต่างๆ และลักษณะนิสัยของคนลาว เป็นต้น อย่างไรก็ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยประสบปัญหาในการปรับตัวจากการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เน้นข้อมูลทั่วไป เน้นให้ข้อมูลแต่ด้านดี และให้การอบรมเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคจากสภาพสังคมเมืองเชียงของที่มีลักษณะต่างคนต่างอยู่ ไม่สามัคคีกัน การขาดอำนาจที่เพียงพอ การทำงานตามลำดับขั้นการบริหารราชการแผ่นดิน และความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่อีกด้วย ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาวประสบปัญหาจากการไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอจากภาครัฐ การให้ข้อมูลไม่ทั่วถึง ผู้นำชุมชนไม่ให้ข้อมูลแก่ประชาชน และความไม่พร้อมทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และสาธารณสุข โดยอุปสรรคที่สำคัญคือการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ พรรคประชนปฏิวัติลาว งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐส่วนกลางมีการพิจารณาเพิ่มอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และควรมีการให้ข้อมูลที่เป็นแนวทางในการปรับตัว ครอบคลุมทุกมิติ ให้ข้อมูลทั้งเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ ส่วนผู้นำชุมชนควรมีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ในขณะเดียวกันประชาชนก็ไม่ควรหวังพึ่งพาแต่ภาครัฐ และควรหาข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางในการปรับตัวที่เหมาะสมด้วยตนเองด้วย และสุดท้ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสร้างธรรมาภิบาลที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กรของตนเองด้วยเช่นกันen_US
Appears in Collections:POL: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.