Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69376
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst.Prof.Dr.Pitipong Yodmongkol-
dc.contributor.advisorLect.Dr.Pradorn Sureephong-
dc.contributor.advisorLect.Dr.Acrapol Nimmonrat-
dc.contributor.authorPoj Paniangvaiten_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:58Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:58Z-
dc.date.issued2014-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69376-
dc.description.abstractFrom the beginning of the human revolution, the human society have moved from agriculture to the industrial and presently leaped into the era of information and knowledge society. This resulted in the movement of labour between the developed, developing and underdeveloped countries. In addition, the migration also induced the exchanges in terms of economic, social, political and cultural. At the same time, it creates the disparity development between the metropolitan and the upcountry as well as the differences in education among different social classes. The above mentioned situations together with the aging population society contributed to the reverse migration problem, especially for those unskilled workers after the recession of the industrial revolution. This group is usually lack of understanding, knowledge and capability to do financial planning after retirement. The problems they face is simply not having enough money to sustain their daily living after their reverse migration. In developing countries, like Thailand, labours normally migrate from the rural agricultural areas into industrial estates. The same problem was also prominent in a developed countries about 40 years earlier. The unskilled labour is normally the majority of the workforce (more than 80%). Therefore, the direct labour cost is one of the major cost factor in the industry. As the country developed, the labour cost also increase. There is always a point where the management need to replace the labour with automation to increase its efficiency and to remain cost competitive. Moreover, because of its labour intensive nature, the unskilled worker always have shorter working life and earlier retirement (45-55 years old) than the skilled workers (55 to 65 years old). Therefore, the unskilled workers have 10 years shorter saving time compare to the other group. The retired unskilled labours are then, forced to reverse migrate to their communities without a good retirement plan. With the objective to solve the unskilled labour reverse migration economic uncertainty problem, this research used the workplace learning together with Sufficiency Economy Philosophy to develop the unskilled workers to be a Sufficient Knowledge Worker (SKW) through SKW activities. The research expects that the SKW and their organisation will share a mutual benefit. The major activity implementing the SEP is the use of a common household accounting worksheet. The organisation SKW activities is done through Kaizen+ which incorporate the SEP into the Kaizen concept. The result was evaluated and transcribed using Bloom Taxonomy Table. The assessment of self-immunity can be achieved by the Sufficiency Knowledge Worker Truth Table (adapted from the one using in the medical science) in two major dimensions for measuring and validating the training process. The researcher modified the tools for research methodology assessment by grouping the data between True-False and Positive-Negative descriptive analysis into four groups. The result was then transcribed into the SKW Truth Table for final analysis. The result then can be used to analyse and evaluate the methodology, thinking process and activities. The feedback result is used to continuously improve the research process and methodology for a sustainable solution. The research was conducted in a food manufacturer in Saha group industrial park in Lamphun, Thailand. The research findings clearly revealed that Thai unskilled labours can significantly develop their potential to improve their spending habits, increase their saving and plan for their life after retirement. The research result showed that after participating in the SKW activities, the workers have the tendency to improve their understanding about their home accounting. They became aware of the factors affecting their overall saving. They are also able to identify how to increase their earning if they are spending more than their salary. Also there was a difference between a single and a complex household. The main sub-item expense for a single household is their food and entertaining. The complex household, on the other hand, their major expense is the food items, especially for the children. The majority of the samples were able to reduce their expense whereas having a tendency to save more significantly, comparing their month to month record. By using the workplace learning activities while embedding the concept of SEP, the researcher can develop the unskilled workers to be “Sufficiency Knowledge Workers”. The research also focused on mutual benefit of the organisation and the individual with emphasis on personal skill development for the target group so that they have the ability to learn and adapt to a sustainable life. The main objective is to help the unskilled workers solve the anxiety about their after retirement financial stability. The researcher was able to develop and prove the knowledge management methodology. He also verified the tools chosen to measure the learning. The result from the Sufficiency Knowledge Worker Truth Table (SKW Truth Table) of the experimental group gave a Sensitivity of 92.86%, a Specificity of 0.00% and Research Methodology Effectiveness: True-Positive at 89.66%, False-Negative at 0.00%. In comparison, the result from the control group gave a Sensitivity of 20.00%, a Specificity of 100.00 and Research Methodology Effectiveness: True-Positive at 4.55%, False-Negative at 77.27%en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleSufficiency Economy Based Knowledge Worker Model for Unskilled Labour’s Reverse Migrationen_US
dc.title.alternativeแบบจำลองอัตตภูมิบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการย้ายกลับถิ่นฐานของแรงงานไร้ฝีมือen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractวิวัฒนาการของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงจากยุคสังคมเกษตรกรรมและกสิกรรม สู่การยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนกระทั่งปัจจุบันที่ปฏิวัติเข้าสู่ยุคสังคมข่าวสารความรู้อย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่างพื้นที่ของประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งในรูปของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาระหว่างแหล่งรวมความเจริญในเมืองกับชนบท รวมถึงความแตกต่างด้านโอกาสการศึกษาของกลุ่มแรงงาน ปัญหาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารการคมนาคมขนส่ง ความเป็นอยู่ หลังการย้ายกลับถิ่นฐานของแรงงาน ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงหลังของการถดถอยของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประกอบกับสภาวะในปัจจุบันที่หลายๆประเทศได้เข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยเสริมต่อปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มของแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งขาดการแนะนำ ส่งเสริม พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ในการวางแผนการเงินหลังการเกษียณอายุการทำงาน ในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่น ประเทศไทย ซึ่งพบปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรงงาน ในลักษณะเดียวกันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่มีช่วงเวลาที่เกิดขึ้นล่าช้ากว่าประมาณ 40 ปี โดยที่แรงงานไร้ฝีมือจะเคลื่อนย้ายจากภาคเกษตรกรรมในชนบท เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก แรงงานไร้ฝีมือซึ่งจะถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่เมื่อเทียบกับแรงงานทั้งหมด (กว่า 80%) และเป็นค่าใช้จ่ายหลักของอุตสาหกรรม ระหว่างช่วงชีวิตการทำงานของแรงงานไร้ฝีมือมักจะขาดโอกาสในการพัฒนาด้านการศึกษา เมื่อประเทศใดๆมีการพัฒนาไปถึงระดับหนึ่ง ค่าแรงจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่อุตสาหกรรมจำเป็นต้องทดแทนกำลังคนด้วยเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และความสามารถในการ แข่งขัน ดังนั้นแรงงานไร้ฝีมือที่มีความรู้จำกัด ก็จะมีช่วงอายุงานที่สั้นลงตามข้อจำกัดของลักษณะงานในอุตสาหกรรม ทำให้แรงงานไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมส่วนมากจะเกษียณอายุช่วง 45-55 ปี ซึ่งเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานมีฝีมือ ที่มีแนวโน้มเกษียณอายุมากในช่วงอายุ 65-67 ปี จึงเป็นผลให้แรงงานไร้ฝีมือมีช่วงเวลาสะสมเงินออมก่อนเกษียณอายุน้อยกว่าแรงงานมีฝีมือถึง 10 ปี จากเหตุดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้แรงงานไร้ฝีมือของประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการย้ายกลับคืนสู่ชุมชนเดิมของพวกเขาทั้งๆที่ขาดความพร้อมในด้านต่างๆ จากแนวคิดที่จะแก้ปัญหาของแรงงานไทยไร้ฝีมือในอุตสาหกรรม ซึ่งมีความวิตกในด้านความมั่นคงทางการเงินหลังชีวิตการทำงานหรือเกษียณอายุ งานวิจัยนี้จึงได้นำการเรียนรู้ในสถานทำงานซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งในการจัดการความรู้ มาผนวกกับแนวคิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาแรงงานให้เป็น “แรงงานอัตตภูมิ” – คือแรงงานที่มีความรู้แบบพอเพียง หรือ Sufficient Knowledge Worker (SKW) ที่มีภูมิคุ้มกันส่วนตน มีทักษะและความมั่นใจในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมการปลูกฝังแรงงานความรู้แบบพอเพียง หรือ Sufficient Knowledge Worker Activities (SKW Activities) ที่มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ร่วมระหว่างตัวแรงงานกับองค์กร โดยผ่านกิจกรรมการทำการทำบัญชีครัวเรือนซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกิจกรรมไคเซน+ (Kaizen+) ที่มีการประยุกต์หลักคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าร่วม โดยแรงงานไร้ฝีมือที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นแรงงานอัตตภูมินี้ พิจารณาได้จากการประเมินมิติด้านความรู้ และการประเมินมิติของการเรียนรู้ ของกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือน และไคเซ็น+ ผ่านการประเมินคะแนน ร่วมกับการถอดความ (transcript) เทียบตารางอนุกรมวิธานของบลูม หรือ Bloom’s Taxonomy โดยการวัดผลผ่านเครื่องมือ ตารางค่าความจริงของแรงงานอัตตภูมิ หรือ Sufficiency Knowledge Worker Truth Table (SKW Truth Table) ที่นำหลักคิดมาจาก ตารางค่าความจริงอ่อนไหว หรือ Sensitivity Truth Table ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ เพื่อเป็นเกณฑ์วัด และนำผลมาวิเคราะห์หาค่าความน่าเชื่อถือ โดยงานวิจัยนำมาประยุกต์ใช้ทวนสอบขั้นตอน โดยจัดหมู่ข้อมูล ระหว่าง True-False กับ Positive-Negative แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม บันทึกค่าในตารางค่าความจริงของแรงงานอัตตภูมิ (SKW Truth Table) แล้วนำมาวิเคราะห์ผลค่าต่างๆ รวมถึงสามารถนำไปพิจารณาในการปรับปรุงระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการคิด กิจกรรม หรือรวมไปถึงการปรับเกณฑ์วัดให้เหมาะสม มุ่งสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนต่อไป งานวิจัยนี้ดำเนินการจัดทำในสวนอุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน ประเทศไทย เน้นกลุ่มความรู้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผลที่ได้จากงานวิจัยจากกลุ่มทดสอบที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่ามีแนวโน้มความเข้าใจถึงการแยกประเภทของรายการรายรับ รายจ่าย อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เห็นถึงกลุ่มค่าใช้จ่ายหลักว่ากลุ่มใด จำเป็น หรือสามารถลดได้ หรือหากจำเป็นต้องหาช่องทางรายได้เสริม หากมีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากเกินกว่ารายรับหลัก ส่งผลถึงการบริหารความสมดุลระหว่างรายรับ รายจ่าย เพื่อลดหนี้สิน จนกระทั่งสามารถกลับมาออมเงินได้ ผลของงานวิจัยยังพบความแตกต่างของกลุ่มรายจ่ายครอบครัวเดี่ยวจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับครอบครัวร่วม โดยรายจ่ายของครอบครัวเดี่ยวจะเป็นกลุ่มอาหารและการสังสรรค์ ในมุมกลับกันครอบครัวร่วมจะมีค่าใช้จ่ายหลักในกลุ่มอาหาร กลุ่มทดสอบส่วนใหญ่สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น มีแนวโน้มในการออมที่ดี สามารถสะสมเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเป็นลำดับอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาศักยภาพเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เห็นถึงความสำคัญในการออมและวางแผนชีวิตหลังการเกษียณอายุ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้เกิดเป็นแรงงานอัตตภูมิ พร้อมดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ และชีวิตการทำงานได้ด้วยแนวคิดอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมของแรงงานความรู้แบบพอเพียง ที่ประสานประโยชน์ร่วมระหว่างส่วนตนของแรงงานเข้ากับประโยชน์ขององค์กร สร้างขวัญกำลังใจ ความเชื่อมั่น ความผูกพัน และจงรักภักดีกับองค์กร ช่วยแรงงานที่ย้ายกลับถิ่นฐานให้มีความรู้ และแนวคิดในการบริหารจัดการเงินของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความกังวลด้านการเงิน สามารถกลับไปตั้งรกรากในชุมชนของพวกเขาได้อย่างมั่นใจ โดยผลตารางค่าความจริงของแรงงานอัตตภูมิ หรือ Sufficiency Knowledge Worker Truth Table (SKW Truth Table) ของกลุ่มตัวทดสอบ ได้ค่าประสิทธิภาพค่าความไว (Sensitivity) ที่ 92.86% ค่าจำเพาะ (Specificity) ที่ 0.00% และค่าประสิทธิผล (Effectiveness) ของระเบียบวิธีวิจัย True-Positive ที่ 89.66% False-Negative ที่ 0.00% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ได้ค่าประสิทธิภาพค่าความไว (Sensitivity) ที่ 20.00% ค่าจำเพาะ (Specificity) ที่ 100.00% และค่าประสิทธิผล (Effectiveness) ของระเบียบวิธีวิจัย True-Positive ที่ 4.55% False-Negative ที่ 77.27%en_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf12.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.