Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69369
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorProf. Dr. Songsak Sriboonchitta-
dc.contributor.advisorProf. Dr. Peter H. Calkins-
dc.contributor.advisorProf. Dr. Rose Anne Devlin-
dc.contributor.advisorProf. Dr. Aree Wiboonpongse-
dc.contributor.authorPimpimon Kaewmaneeen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:20Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:20Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69369-
dc.description.abstractThis two-country study of individual happiness seeks to answer three main questions: what are the structures and determinants of happiness in an OECD high income country (Canada) and in an Asian upper-middle income country (Thailand); whether the shapes of happiness and the factors affecting the happiness of these countries look different; and if so, why? To address these questions, a broad and representative sampling of 331 participants in Canada where known for its social safety net and traditionally high levels of human development and happiness are statistically compared to a sample of 464 participants in Thailand, a non-Western economy endowed with a unique King’s sufficiency economy philosophy. Primary data were collected in 2012 from Thailand and in 2012 - 2013 in Canada. First, descriptive analysis is employed to report the variations in happiness of both countries at the level of urbanity and given the characteristics of the populations in this study. Principal component analysis and linear least squares regressions are used to identify the happiness structures. Then, ordered logit models are estimated in order to investigate the important determinants of happiness. The internal structure of happiness is explored through two complementary approaches in order to determine the most important dimensions in which people themselves experience happiness. The first, deductive approach, following Calkins and Ngu Wah Win (2013) separates overall well-being a priori into five sub-dimensions of well-being: physical; emotional; mental; social; and spiritual. It then regresses happiness on the scores for each of the subcomponents to test their significance and mathematical signs for each subsample. To the extent that differences by geographical and gender sub-populations prove trivial, happiness is judged to be “universal” across representative populations. The second, inductive approach employs principal component analysis to elicit an alternative set of structural components of happiness ex post based on hitherto hidden associations among the perceptions of the respondents themselves. Happiness is once again regressed on this second set of variables. It is hypothesized that the principal component results provide a better statistical fit because they capture the particular characteristics of the populations under study. The findings for Thailand find both approaches to be valid, complementary, and even to overlap. In contrast, in the results from Canada, only the deductive approach is found to be valid. This is an important finding, both for understanding happiness in both countries, particularly Thailand; and for the methodology of future world happiness studies. Key findings are that Canadian happiness has a balanced structure, while Thai happiness structure is twisted and displays an obvious lack of social well-being. Spirituality and mentality achieve the highest weights among the internal components of happiness. The final step of the analysis applies t-tests, one-way ANOVA, and ordered logit regressions to determine the significance, signs and relative importance of the key determinants of happiness as the dependent variable. Such determinants are hypothesized not to include rises in income (following the so-called Easterlin paradox), but to include other objectively verifiable social parameters. The study concludes that the causes of happiness between Thailand and Canada are partially different. However, there do remain three universal determinants of happiness: community satisfaction, time playing sports on a team, and indifference to politics. Recommendations are generated to suggest how government projects and social programs might enhance overall subjective well-being. For Thailand these include. 1) targeting social capital, particularly bonding in community relationships, 2) providing or building recreational spaces in the community, and 3) solving political tensions. For Canada, policy recommendations focus on promoting and creating more voluntary activities. NGOs should also provide more charitable houses to support sharing behavior.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleIndividual Happiness: A Comparative Study of Its Structure, Causes, and Enhancement in Canada and Thailanden_US
dc.title.alternativeความสุขระดับบุคคล: องค์ประกอบ สาเหตุ และการยกระดับ กรณีเปรียบเทียบแคนาดาและไทยen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องความสุขระดับบุคคลนี้ มุ่งศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า โครงสร้างของความสุขและปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดระดับความสุขของประเทศแคนาดากับประเทศไทยประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีภูมิคุ้มกันทางสังคมและมีการพัฒนาคนและความสุขในระดับที่สูงอย่างแคนาดาและประเทศกำลังพัฒนาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิซึ่งทำการสำรวจในประเทศไทยเมื่อปี 2555 จำนวน 464 ตัวอย่าง และในประเทศแคนาดาระหว่างปี 2555 – 2556 จำนวน 331 ตัวอย่าง ข้อมูลดังกล่าวนี้ถูกนำมาวิเคราะห์ 3 ส่วนหลักๆ คือการวิเคราะห์สถิติพรรณนาเพื่อแสดงความแตกต่างของระดับความสุข การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรงถูกนำมาใช้เพื่อจำแนกลักษณะองค์ประกอบ/โครงสร้างของความสุข และการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโลจิสติกแบบเรียงลำดับใช้เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีความสำคัญต่อระดับความสุขส่วนบุคคล การศึกษาองค์ประกอบของความสุขนั้น แบ่งออกเป็นสองแนวทาง แนวทางที่หนึ่งคือการนิรนัยซึ่งคาลกินส์และงุวาวิน (2013) แบ่งองค์ประกอบของความสุขเป็น 5 ด้านด้วยกันได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านจิตวิญญาณ โดยจะทำการวิเคราะห์ถดถอยระดับความสุขโดยรวมและความสุขแต่ละด้านทั้ง 5 องค์ประกอบ เพื่อทดสอบความนัยสำคัญทางสถิติและทิศทางความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างของความสุขระหว่างกลุ่มตัวอย่างย่อยที่ต้องการศึกษา ในการที่จะหาข้อสรุปว่าลักษณะโครงสร้างของความสุขเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างตัวแทนแล้วเป็นสากลหรือไม่ แนวทางการศึกษาที่สองคือการอุปนัย วิธีการนี้อาศัยเครื่องมือการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อจำแนกกลุ่มองค์ประกอบของตัวชี้วัดความสุขในแต่ละด้าน ซึ่งหลังจากจำแนกตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบแล้ว ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบที่ได้ จะถูกนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์การถดถอยกับระดับความสุขโดยรวมเช่นเดียวกันกับวิธีนิรนัย ภายใต้สมมติฐานที่ว่าการวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัยซึ่งเป็นองค์ประกอบของความสุขที่มาจากการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างจะให้ผลการวิเคราะห์ที่มีค่าทางสถิติที่ดีกว่าการวิเคราะห์ด้วยวิธีนิรนัยซึ่งกำหนดองค์ประกอบของความสุขจากทฤษฎีมาก่อนแล้ว จากการศึกษาในไทยพบว่าทั้งสองแนวทางให้ค่าที่ใกล้เคียงกันมาก แตกต่างจากผลการศึกษาในแคนาดาซึ่งพบว่าวิธีการศึกษาแบบนิรนัยอธิบายผลได้มากกว่า ผลจากการศึกษาพบว่าโครงสร้างความสุขของคนแคนาดามีความสมดุลมากกว่าของคนไทย ซึ่งผลที่ได้แสดงชัดเจนว่าลักษณะโครงสร้างความสุขของคนไทยยังขาดสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสังคม ผลจากทั้งสองประเทศ สามารถสรุปได้ว่าความสุขทางด้านจิตวิญญาณและความสุขด้านจิตใจเป็นองค์ประกอบภายในที่สำคัญของความสุขมากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ การศึกษานี้ยังได้ทำการทดสอบสถิติ ที-เทสต์ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบเรียงลำดับ เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดระดับความสุข ภายใต้สมมติฐานว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ไม่มีผลต่อระดับความสุขตามแนวคิดเรื่องอิสเตอร์ลินพาราด็อกซ์ แต่เกิดจากปัจจัยทางสังคมอื่นๆ มากกว่า ทั้งนี้ ผลจากการศึกษา พบว่าแม้ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดระดับความสุขของคนไทยและแคนาดา มีบางส่วนที่แตกต่างกัน แต่ก็มีตัวแปรที่มีผลต่อระดับความสุขของคนทั้งสองประเทศที่เหมือนกัน อยู่ 3 ตัวแปรด้วยกัน ซึ่งตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุขในทิศทางเดียวกันได้แก่ ระดับความพึงพอใจรวมต่อชุมชนที่อยู่อาศัย เวลาที่ใช้ในการเล่นกีฬาประเภททีมต่อสัปดาห์ ส่วนตัวแปรที่มีผลต่อระดับความสุขในทิศทางตรงข้ามกันได้แก่ระดับความสำคัญของการเมืองที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินนโยบายเพื่อยกระดับความสุขของคนไทย เป็นดังนี้ 1) ควรกำหนดทุนทางสังคมให้เป็นเป้าหมายของการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 2) จัดหาพื้นที่สาธารณะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งภายในชุมชนให้มากขึ้น 3) หาแนวทางเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของแคนาดาพบว่ารัฐควรให้การสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครมากขึ้น และจากทางเลือกของการให้ที่มีผลต่อความสุขมากที่สุดคือการบริจาคสิ่งของแก่องค์กรไม่แสวงผลกำไร ดังนั้นองค์กรไม่แสวงผลกำไรควรมีการตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของให้ทั่วถึงมากขึ้นเพื่อตอบสนองพฤติกรรมการให้ที่นำไปสู่การยกระดับความสุขของคนแคนาดาen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.