Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Siriwadee Chomdej-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Korakot Nganvongpanit-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Siriwan Ongchai-
dc.contributor.authorWaranee Praditen_US
dc.date.accessioned2020-08-06T01:44:05Z-
dc.date.available2020-08-06T01:44:05Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69352-
dc.description.abstractLook-Tai-Bai (Phyllanthus amarus Schum. & Thonn.) has been reported to exhibit anti-inflammation and anti-arthritis properties leading to our interest to examine its beneficial effect in osteoarthritis (OA). Thus this study aimed to explore the chondroprotective potential of P. amarus crude extract (PAE) and its major compounds, phyllanthin and hypophyllanthin, in in vitro and in vivo model. For in vitro study, porcine cartilage explant model induced by 25 ng/ml interleukin-1 beta (IL-1ß) was used in this study. After treated with various concentrations of P. amarus extract, phyllanthin and hypophyllanthin, the culture medium and cartilage discs were collected. The medium was measured for the release of sulfate glycosaminoglycans (s-GAGs) and matrix metalloproteinase-2 (MMP-2) activity by DMMB binding assay and zymography, respectively. The explant tissues were analyzed for the remaining of uronic acid content by carbazole assay and stained with safranin-O for investigation of proteoglycan content. Cell viability of this model was evaluated by lactate dehydrogenase (LDH) assay. Chondroprotective potential of PAE and the major components against IL-1ß-induced cartilage explant degradation were revealed by the decreased s-GAGs level and MMP-2 activity in culture medium consistent with an increase in uronic acid and proteoglycan contents in the explants when compared to the IL-1ß treatment. These results agreed with those of diacerein and sesamin which used as positive controls. Also, these substances did not lead to cell death of chondrocytes. For in vivo study, collagenase induced osteoarthritic rats were used as animal model by intra-articular injection of collagenase type II enzyme. After that, various concentrations of PAE and its major compounds were injected into the OA induced rat joint, once a week, for 5 weeks. Then, articular cartilage and synovial fluid of the rats were collected to investigate pathology of articular cartilage by gross and histology grading. Proteoglycan content was also examined by safranin-O staining. Expression analysis of genes involved with OA in articular cartilage were evaluated by quantitative real time PCR. Gelatin zymography was used to study the expression level of MMP-2 enzyme in synovial fluid as well. The results represented that early stage of OA was induced in this study using collagenase type II enzyme. This circumstance was indicated by mild degradation of cartilage affecting the scores of gross and histopathology. Gene expression profiling between normal control group and OA group also accorded with this event. Nevertheless, proteoglycan contents in cartilage matrix was influenced with reduced level comparing with the normal control group. Increase of proteoglycan content was demonstrated after treated with PAE and its major components in a dose dependent manner, with no change in the normal control. Gene expression analysis showed that PAE enhanced some cartilage matrix protein gene expression level including aggrecan (ACAN) and hyaluronan synthase 1 (HAS-1) but not collagen type II alpha 1 (COL2A1). PAE and its major compounds also decreased MMP-2 and aggrecanase-1 (ADAMT-4) expression level. For catabolic cytokine regulated gene, both IL-1ß and TNF-α was not affected by any substances. MMP-2 activity was suppressed by PAE and its major components as well. Regarding to the above results both in vitro and in vivo, these data illustrated the chondroprotective potential of PAE, phyllanthin and hypophyllanthin in early onset of OA. In addition, better chondroprotective activities of PAE than those of the purified components were disclosed in this study. Hence, these substances may augment its application as chondroprotective drug or dietary supplement for OA treatment and protection.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleEffects of Phyllanthus amarus Schum. & Thonn. Extract on Collagenase Induced Osteoarthritic Ratsen_US
dc.title.alternativeผลของสารสกัดลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus Schum. & Thonn.) ต่อหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคข้อเสื่อมด้วยเอนไซม์คอลลาจีเนสen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus Schum. & Thonn.) มีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ และต่อต้านโรคข้ออักเสบ ทำให้พืชชนิดนี้มีความน่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนของสารสกัดหยาบจากลูกใต้ใบ รวมทั้งสารทุติยภูมิที่พบมากในพืชชนิดนี้ ได้แก่ ไฟแลนธิน และ ไฮโปไฟแลนธิน โดยทำการศึกษาทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในสัตว์ทดลอง สำหรับการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยอาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนสุกรที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคิน 1 เบต้า (interleukin 1 beta: IL-1ß) ความเข้มข้น 25 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร หลังจากทดสอบสารสกัดลูกใต้ใบและสารทุติยภูมิที่ความเข้มข้นต่างๆ เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงกระดูกจะถูกนำมาตรวจสอบปริมาณสาร sulfated-glycosaminoglycans (s-GAGs) ที่ถูกปลดปล่อยออกมาสู่น้ำเลี้ยงกระดูกอ่อน ด้วยวิธี Dimethyl methylene blue (DMMB) assay รวมทั้งระดับการทำงานของเอนไซม์แมทริกเมทัลโลโปรตีเนส 2 (matrix metalloproteinase 2: MMP-2) โดยอาศัยเทคนิค gelatin zymography นอกจากนี้ยังศึกษาปริมาณ uronic acid และโปรตีโอไกลแคนที่เหลืออยู่ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนด้วยวิธี Carbazole assay และการย้อมสี safranin-O ตามลำดับ และศึกษาการตายของเซลล์ด้วยเทคนิค Lactate Dehydrogenase (LDH) assay ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบ รวมทั้งสารทุติยภูมิหลัก คือ ไฟแลนธิน และ ไฮโปไฟแลนธิน สามารถลดระดับ s-GAGs และระดับการทำงานของเอนไซม์ MMP-2 ในน้ำเลี้ยงกระดูกอ่อนได้ตามความเข้มข้นของสาร และพบว่าปริมาณ uronic acid และโปรตีโอไกลแคนในเนื้อกระดูกอ่อนมีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย IL-1ß ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สอดคล้องกับผลการปกป้องกระดูกอ่อนของยาไดอาเซอรีนและสารเซซามินซึ่งใช้เป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก โดยไม่ทำให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการตายอีกด้วย สำหรับการทดสอบฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนในสัตว์ทดลองของสารสกัดและสารทุติยภูมิหลักของลูกใต้ใบ โดยใช้หนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคข้อเสื่อมด้วยการฉีดเอนไซม์คอลลาจีเนส ชนิดที่ 2 เข้าสู่ข้อต่อ จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากลูกใต้ใบ โดยการฉีดสารเข้าสู่ข้อต่อหนูทดลอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และทำการเก็บตัวอย่างกระดูกอ่อน และน้ำไขข้อของหนูทดลอง เพื่อนำมาศึกษาลักษณะทางพยาธิวิทยาของกระดูกอ่อน โดยการประเมินลักษณะทั้งทางกายวิภาคและเนื้อเยื่อวิทยา รวมทั้งระดับโปรตีโอไกลแคนด้วยการย้อมสี safranin-O นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาระดับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมในตัวอย่างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนด้วยเทคนิค quantitative real time PCR และศึกษาระดับการทำงานของเอนไซม์ MMP-2 ในน้ำไขข้อด้วยวิธี gelatin zymography ผลการศึกษา พบว่า การเหนี่ยวนำให้หนูทดลองเป็นโรคข้อเสื่อมด้วยเอนไซม์คอลลาจีเนสในการศึกษานี้สามารถเหนี่ยวให้เกิดโรคข้อเสื่อมในระยะแรก โดยสังเกตุจากการไม่พบการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อ จากผลการศึกษาลักษณะทางพยาธิสภาพ และระดับการแสดงออกของยีนระหว่างหนูทดลองกลุ่มควบคุมปกติกับกลุ่มควบคุมที่เป็นโรคข้อเสื่อม แต่จากผลการศึกษาระดับโปรตีนโอไกลแคนในเนื้อกระดูกอ่อน พบว่า โปรตีโอไกลแคนในเนื้อกระดูกอ่อนได้รับผลกระทบจากการเหนี่ยวนำในครั้งนี้ โดยมีปริมาณที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมปกติ และสารสกัดและสารทุติยภูมิหลักสามารถเพิ่มระดับโปรตีโอไกลแคนในเนื้อกระดูกอ่อนได้ตามความเข้มข้นของสารสกัดและสารทุติยภูมิหลัก โดยไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มควบคุมปกติ สำหรับผลการศึกษาระดับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อม พบว่า สารสกัดหยาบจากลูกใต้ใบสามารถกระตุ้นระดับการแสดงออกของยีนแอกริแคน (AGG) ไฮยาลูโรแนนซินเทส 1 (HAS-1) ได้ ในขณะที่ไม่ส่งเสริมระดับการแสดงออกของยีนคอลลาเจน ชนิดที่ 2 (COL2A1) ส่วนยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ย่อยเนื้อกระดูกอ่อนนั้น พบว่า ทั้งสารสกัดและสารทุติยภูมิหลักสามารถยับยั้งระดับการแสดงออกของยีนแอกริแคเนส 1 (ADAMT-4) และยีน MMP-2 ได้ แต่สารสกัดและสารทุติยภูมิหลักไม่มีผลกระทบต่อระดับการแสดงออกของยีน IL-1ß และทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ อัลฟา (TNF-α) นอกจากนี้ สารสกัดและสารทุติยภูมิยังสามารถลดระดับการทำงานของเอนไซม์ MMP-2 ในน้ำไขข้อได้อีกด้วย จากผลการศึกษาดังกล่าวทั้งในระดับห้องปฎิบัติการและสัตว์ทดลอง แสดงให้เห็นว่า สารสกัดหยาบจากลูกใต้ใบและสารทุติยภูมิหลัก มีฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนในระยะเริ่มแรกของโรคข้อเสื่อมได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดหยาบมีฤทธิ์ในการปกป้องได้ดีกว่าสารทุติยภูมิบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดเหล่านี้มาพัฒนาเป็นยาปกป้องกระดูกอ่อนหรืออาหารเสริม เพื่อใช้รักษาและป้องกันการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ต่อไปen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.