Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69339
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssociate Professor Dr.Somporn Sangawongse-
dc.contributor.authorWittaya Nawapramoteen_US
dc.date.accessioned2020-08-05T03:52:04Z-
dc.date.available2020-08-05T03:52:04Z-
dc.date.issued2013-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69339-
dc.description.abstractPreviously, the natural resources management showed no effective solutions to the resource management for sustainability with no conflicts among the stakeholders both direct and indirect since the management approach failed to cover the entire problems. In addition, those solutions did not recognize the holistic approach regarding the ecosystem, economic development, and social context of people who rested on the resource utilization. In fact, such problems are dynamic as explained in terms of political ecology and ecological economics. Moreover, the resource management is mainly decided by the top down or management guidelines proposed by communities and local authorities or bottom up might fall underway if the bridge of effective management is not yet established. Co-management is an approach to link and transfer authority of management to the concerned stakeholders who propose and solve the problems together with the authorities and organizations through the concept featuring complete solutions of all dimensions. It is therefore to sustain the ecosystem, develop the local economy, and improve a life quality of the locals. Also, suitable strategies to match the social context of such areas along with the clear procedures as advised by the academic institutes and experienced advisors should be addressed to achieve the goals. Co-management is regarded as a modern management to solve the conflicts arising from the forest area utilization. The initial startup on a demand for the solution is the land demarcation in the forest area which causes severe conflicts among the communities located in the forest area whereas other conflicts are raised between the communities and government officials in charge of forest conservation. The Joint Management of Protected Area (JoMPA) is funded and managed by SLUSE, responsible for providing academic suggestions and bridging the strategies with objectives of the project to create plans and activities for participatory management between stakeholders and related organizations. According to this study, co-management for a reduction of conflicts over the forest area utilization requires four components; 1) A complete concept for an operation; 2) Effective management mechanism; 3) Co-management tools, and 4) Clear operation procedures. As a result, it helps generate more protection to the ecosystem while there are no more forest invasions and conflicts over the decrease of forest area utilization. More importantly, cooperation for resource management among the stakeholders is eventually secured. Additionally, suggestions to follow up changes on the forest area utilization and results of an analysis suited for the land functions are applied in decision making for the future land use. Meanwhile, the ecosystem rehabilitation along with the economic development with no harms posed to the ecosystem is on a demand. The success of co-management should be further taken into account in terms of policy making in respect of the forest area utilization.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleCo-management in Land Demarcation for Reducing Conflicts from Utilization of Forest Area: A Case Study of Mae Tia-Mae Tae Watershed, Chom Thong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.title.alternativeการจัดการร่วมในการกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้: กรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำ แม่เตี๊ยะ-แม่แตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมายังไม่พบทางออกในการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และยั่งยืนยาวนานโดยไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากวิธีการจัดการไม่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ได้มองการแก้ปัญหาแบบองค์รวมที่มีทั้งด้านระบบนิเวศ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของผู้คนที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีลักษณะเป็นพลวัตที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาการตลอดเวลา เช่น คำอธิบายด้านนิเวศวิทยาการเมือง (Political Ecology) หรือ เศรษฐศาสตร์นิเวศ (Ecological Economics) การจัดการทรัพยากรโดยการกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง (Top Down) หรือการเสนอแนวทางการจัดการจากชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ขึ้นไปให้ระดับนโยบายพิจารณา (Bottom up) อย่างใดอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ยั่งยืน ถ้าหากไม่มีจุดเชื่อมสำคัญในเรื่องวิธีการจัดการที่ดี วิธีการจัดการที่เหมาะสมกับปัญหาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีความเป็นพลวัต คือการจัดการแบบมีส่วนร่วม (Co-management) ซึ่งเป็นการจัดการที่ถ่ายโอนและเชื่อมโยงอำนาจในการจัดการไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เป็นผู้เสนอและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับหน่วยงานและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่โดยใช้หลักจัดการที่จะต้องมาจากกรอบคิดในการแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ครอบคลุมทุกด้านที่ทำให้ระบบนิเวศอยู่ได้ เศรษฐกิจของคนในพื้นที่ได้รับการพัฒนา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และมีขั้นตอนกระบวนการทำงานที่ชัดเจน โดยมีสถาบันทางวิชาการและผู้มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา แนะนำองค์ความรู้ การจัดการแบบมีส่วนร่วม (Co-management) เป็นวิธีการจัดการแบบใหม่ ที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหา ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ โดยมีจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะต้องแก้ให้สำเร็จเป็นอันดับแรกคือเรื่องแนวเขตการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ ที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่า และชุมชนกับหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ และได้ลุกลามออกไปจนทำให้เกิดการแบ่งฝ่าย โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชน องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร เข้ามาดำเนินการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม (JoMPA) เข้ามาสนับสนุนการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ได้สนับสนุนด้านงบประมาณ และองค์ความรู้ในการจัดการ ศูนย์ SLUSE ให้คำแนะนำทางวิชาการและศึกษาวิจัย การประสานการทำงาน รวมถึงการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ให้เกิดแผนงานและกิจกรรมที่ดำเนินงานร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคีในพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้พบว่า การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการลดข้อขัดแย้งการใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าไม้จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ 1) กรอบคิดในการดำเนินงานที่สมบูรณ์ 2) กลไกการจัดการที่มีประสิทธิภาพ 3) เครื่องมือในการจัดการแบบมีส่วนร่วม และ 4) กระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบนิเวศได้รับการคุ้มครอง โดยพื้นที่ป่าไม้ไม่ถูกบุกรุกเพิ่มขึ้น ข้อขัดแย้งในการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ลดลง และเกิดความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรร่วมกันของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยจะต้องมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ และนำเอาผลการวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจ วางแผนการใช้ที่ดินในอนาคต และต้องมีการฟื้นฟูระบบนิเวศ พร้อมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่ ร่วมทั้งผลักดันความสำเร็จของการจัดการแบบมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้น ไปสู่การพิจารณาในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf17.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.