Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69337
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Asst. Prof. Dr. Parirat Khonsung | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Ampai Panthong | - |
dc.contributor.advisor | Asst. Prof. Dr. Puongtip Kunanusorn | - |
dc.contributor.advisor | Dr. Natthakarn Chiranthanut | - |
dc.contributor.author | Thatree Autsavakitipong | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-05T03:51:42Z | - |
dc.date.available | 2020-08-05T03:51:42Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69337 | - |
dc.description.abstract | Plants of Taccaceae family are used as a folk medicine for the relief of pain, fever, incised wounds and gastric ulcers. In Thailand, rhizomes of Tacca integrifolia are used for controlling blood pressure, improving sexual function; whole plant and leaves are used for urticaria, tumor, and as food. The analgesic, anti-inflammatory, and anti-ulcerogenic activities of T. integrifolia are interesting activities that still lack of scientific data. This study was performed to investigate the effects and the possible mechanism of action of ethyl acetate extract of leaf of T. integrifoli (TI extract) in animal models by using writhing response in mice and tail flick-test in rats models to test analgesic activity. Ethyl phenyl propiolate (EPP)-induced ear edema, carrageenan- and arachidonic acid-induced hind paw edema, and cotton pellet-induced granuloma formation in rats models were used to examine anti-inflammatory activity. Anti-gastroulcerogenic activity was evaluated by using EtOH/HCl-, indomethacin-, and restraint water immersion stress-induced gastric lesions in rats. Pylorus ligation and gastric visible mucus secretion models were used to examine the mechanism of anti-gastroulcerogenic activity. Additionally, acute oral toxicity of TI extract was also investigated. The results suggest that TI extract at oral doses of 50 to 200 mg/kg showed analgesic effect on acetic acid-induced writhing response in mice and its mechanism may be via peripherally pathway because it had no effect on the tail-flick test in rats. TI extract (3 mg/ear) significantly reduced the edema formation on EPP-induced ear edema, and at oral doses of 50 to 200 mg/kg, TI extract showed the inhibitory effect on the edema formation of the rat paw induced by carrageenan and arachidonic acid. TI extract possessed anti-inflammatory activity in acute inflammation and the possible mechanism is suggested via the inhibition of cyclooxygenase (COX) and lipooxygenase (LOX) pathways. TI extract had no effect on cotton pellet-induced granuloma formation in rats model. TI extract showed anti-gastroulcerogenic effect on EtOH/HCl- and indomethacin-induced gastric ulcer in rats without effect on restraint water immersion stress-induced gastric lesions model. The mechanism of anti-gastroulcerogenic effect may involve the preservation and/or synthesis of the gastric mucus but was not involved the inhibition of gastric acid secretion. Additionally, TI extract at an oral dose of 2,000 mg/kg did not cause acute toxicity in female rats. In conclusion, the ethyl acetate extract of T. integrifolia leaves possesses analgesic, anti-inflammatory, and anti-gastroulcerogenic effects. The results support the use of T. integrifolia as traditional medicine and may lead to develop the major active components to be used for analgesic, anti-inflammatory, prevention and/or treatment of gastric ulcer in the future. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Analgesic, Anti-inflammatory, Anti-ulcerogenic Effects, and Acute Toxicity of Tacca integrifolia Extract | en_US |
dc.title.alternative | ฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ ต้านแผลกระเพาะอาหาร และความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดว่านพังพอน | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | พืชในตระกูล Taccaceae ถูกนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้าน เพื่อบรรเทาปวด ลดไข้ รักษาบาดแผล และแผลกระเพาะอาหาร ในประเทศไทยได้มีการนำส่วนเหง้าของว่านพังพอน (Tacca integrifolia) มาใช้เพื่อควบคุมความดันโลหิต ปรับสมรรถภาพทางเพศ ทั้งต้นและใบใช้สำหรับลมพิษ มะเร็ง และใช้เป็นอาหารได้ โดยฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบ และรักษาแผลในกระเพาะอาหารของ T. integrifolia ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่น่าสนใจยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษานี้จึงได้ทำการตรวจสอบฤทธิ์ และกลไกการออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ของสารสกัดเอททิลอะซิเตตจากใบของว่านพังพอนในแบบจำลองในสัตว์ต่างๆ โดยใช้แบบจำลองการตอบสนองโดยการบิดตัวของหนูถีบจักร และการทดสอบการสะบัดหางหนีของหนูขาวสำหรับการทดสอบฤทธิ์แก้ปวด การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบใช้แบบจำลองเอททิลฟีนิลโพรพิโอเลทเหนี่ยวนำให้หูบวม การใช้คาร์ราจีแนน และกรดอราคิโดนิคเหนี่ยวนำให้อุ้งเท้าบวม และการฝังก้อนสำลีเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างแกรนูโลม่าในหนูขาว การทดสอบฤทธิ์ต้านแผลในกระเพาะอาหารถูกประเมินโดยใช้แบบจำลอง เอททานอลผสมกรดไฮโดรครอลิค อินโดเมทาซิน และการแช่น้ำให้เกิดความเครียด เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาว แบบจำลองการผูกไพโลรัสและการตรวจวัดการหลั่งเมือกที่ผนังกระเพาะอาหารถูกใช้เพื่อตรวจสอบกลไกการออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นยังทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันเมื่อให้สารสกัดว่านพังพอนโดยการรับประทานด้วย ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดว่านพังพอนที่ขนาดรับประทาน 50 ถึง 200 มก. ต่อกก. แสดงฤทธิ์แก้ปวดในแบบจำลองการตอบสนองโดยการบิดตัวของหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติก และกลไกการออกฤทธิ์อาจผ่านทางวิถีประสาทส่วนปลายเนื่องจากสารสกัดว่านพังพอนไม่มีผลต่อการทดสอบการสะบัดหางหนีของหนูขาว สารสกัดว่านพังพอน (3 มก. ต่อหู) ลดการบวมของหูที่เหนี่ยวนำโดยอีพีพีได้อย่างมีนัยสำคัญ และที่ขนาดรับประทาน 50 ถึง 200 มก. ต่อกก. แสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เหนี่ยวนำโดยคาร์ราจีแนนและกรดอราคิโดนิค สารสกัดว่านพังพอนมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในการอักเสบแบบเฉียบพลัน และมีกลไกการการออกฤทธิ์ที่น่าจะเป็นไปได้ผ่านการยับยั้งกระบวนการทางไซโคลออกซิจิเนส และไลโปออกซิจิเนส สารสกัดว่านพังพอนไม่มีฤทธิ์ในแบบจำลองการฝังก้อนสำลีเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างแกรนูโลม่าในหนูขาว สารสกัดว่านพังพอนแสดงฤทธิ์ต้านแผลในกระเพาะอาหารในแบบจำลองเอททานอลผสมกรดไฮโดรครอลิค และยาอินโดเมทาซินเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาว โดยไม่มีฤทธิ์ในแบบจำลองการแช่น้ำให้เกิดความเครียดเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาว กลไกการต้านแผลในกระเพาะอาหารอาจเกี่ยวกับการป้องกันการทำลายและ/หรือการสร้างเมือกที่กระเพาะอาหาร แต่ไม่เกี่ยวกับการยับยั้งการหลั่งกรด นอกจากนั้นสารสกัดว่านพังพอนขนาดรับประทาน 2,000 มก. ต่อกก. ไม่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูเพศเมีย สรุปได้ว่าสกัดเอททิลอะซิเตตจากใบว่านพังพอนมีฤทธิ์แก้ปวด ต้านการอักเสบ และต้านแผลในกระเพาะอาหาร ผลที่ได้สนับสนุนการใช้ว่านพังพอนเป็นยาในการแพทย์พื้นบ้าน และอาจนำไปสู่การพัฒนาสารสำคัญหลักเพื่อใช้สำหรับแก้ปวด ต้านการอักเสบ ป้องกันและ/หรือการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในอนาคต | en_US |
Appears in Collections: | MED: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.