Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69334
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดร. พักตร์วิภา สุวรรณพรหม-
dc.contributor.authorทิพย์สุดา เปรมภูติen_US
dc.date.accessioned2020-08-05T03:51:15Z-
dc.date.available2020-08-05T03:51:15Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69334-
dc.description.abstractThis study aimed to develop drug information pictograms for informing patient about the side-effects of high alert drugs in Methylxantine group, to evaluate the effectiveness of pictograms by assesing knowledge of medicine information and to reporting the the roles of interdisciplinary healthcare team in managing high alert drugs (HADs) by having patients as a team member Methods: The study consisted of two phases. In Phase I, a focus group discussion among interdisciplinary healthcare team members at Sansai Hospital, Chiang Mai, was conducted in order to revisit the roles and responsibilities of each member in managing HAD. A think-aloud interview was used with 30 out-patients at Sansai Hospital to develop a pictograms. Results showed that, although the interdisciplinary healthcare team members knew their roles and responsibilities on HADs, they did not strictly follow the practice guidelines. They reported that the pharmacists’ roles were unclear and the HADs handbook was impractical. Moreover healthcare team members were confused due to a large list of HADs. They agreed that providing patients and their relatives with knowledge about HADs symptoms would help monitoring the HADs toxic effects. Starting with the drugs in Methylxantine group, the pictograms would inform the patients about the symptoms of nausea-vomiting, loss of appetite, sleepless, headache, thirsty and palpitation. After trying out the pictograms with the patient for three rounds, the pictures with at least 90% correct responses were nausea-vomiting, loss of appetite and headache. In Phase II, the experimental research was used to evaluate the effectiveness of pictograms in knowledge of medicine information and patients report on the Methylxantine toxicity. Sample were 123 in-patients who had been prescribed medicine with Methylxanthine group or their relatives. They were enrolled and were allocated by purposive sampling in to 3 groups, 41 persons in each group. Group 1 ,a control group, they recived only verbal consultation by a pharmacist. In group 2, samples recived verbal consultation with a text-only information sheet. In group 3, samples recived verbal consultation with a pictogram developed in phase I. The outcomes were examined at a discharge counseling or at day 4 after admission. Participant knowledge about medicine was investigated by asking a series of question. Results shown that medicine knowledge was significantly higher in the group 3, comparing with other groups (p < 0.001). The median knowledge score were 1.0 (Q1, Q3 = 1.0, 2.0), 2(Q1, Q3 = 2.0, 3.0) and 3.0 (Q1, Q3 = 2.0, 4.0) in group 1, 2 and 3 respectively. Sample in group 3 reported that seeing symptom pictures helped remind them and make it easy to remember. They were 5 patients (4.2%) reported to physicians that they had experience the palpitation and nausea. The physicians readjusted the medicine doses according to there report. Cooperation between interdisciplinary healthcare team, patients and their relative caregivers are necessary for effective HADs management. It took several rounds to develop clear and reliable pictograms. The pictogram can help communicate clearly, and increase patient knowledge.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาเอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพสำหรับยาที่ต้องระมัดระวังสูงกลุ่มเมทิลแซนทีนen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Pictogram for Informing Patient About High Alert Drugs in Methylxanthine Groupen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารให้คำแนะนำเรื่องยาแบบรูปภาพ สำหรับยาที่มีความเสี่ยงสูงกลุ่มเมทิลแซนทีนและเพื่อประเมินประสิทธิภาพของเอกสารให้คำแนะนำดังกล่าวด้วยการประเมินความรู้ของผู้ป่วยและการรายงานผลการติดตามอาการหลังการได้รับยาภายหลังการให้คำแนะนำเรื่องยา โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่มกับทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพิจารณาบทบาทและหาแนวทางในการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง จากนั้นใช้การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกแบบสุ่มกับผู้ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสันทราย จำนวน 30 คน โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบคิดดังๆ (think-aloud interview) เพื่อพัฒนารูปภาพแสดงอาการข้างเคียงจากยากลุ่มเมทิลแซนทีน จากการศึกษาพบว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพทราบบทบาทและหน้าที่ของตนเองต่อการจัดการยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง แต่ยังปฏิบัติไม่ต่อเนื่องและแตกต่างกัน บทบาทเภสัชกรยังไม่ชัดเจน คู่มือยาที่จัดทำขึ้นไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง และยาที่ต้องระมัดระวังสูงมีหลากหลายจนทำให้เกิดความสับสน สหสาขาวิชาชีพเห็นความสำคัญของการให้ผู้ป่วยและญาติช่วยสังเกตอาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยากลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง โดยเริ่มจากยากลุ่มเมทิลแซนทีนโดยใช้รูปให้ข้อมูลอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ และใจสั่น เมื่อนำรูปต้นแบบอาการเหล่านี้ไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างครบ 3 รอบแล้ว พบว่ารูปที่พัฒนาจนมีกลุ่มตัวอย่างตอบถูกร้อยละ 90 ขึ้นไป ได้แก่รูปอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดศีรษะ ระยะที่ 2 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง (experimental research) ทดสอบผลของการใช้เอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพที่ได้จากการศึกษาระยะที่หนึ่ง โดยการวัดความรู้ของผู้ป่วยและญาติ หลังจากได้รับข้อมูลจากเอกสารให้คำแนะนำเรื่องยา และการติดตามการรายงานอาการหลังจากได้รับยากลุ่มเมทิลแซนทีน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับเป็นผู้ป่วยในและได้รับยากลุ่มเมทิลแซนทีน หรือญาติผู้ดูแลผู้ป่วย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้ จำนวน 123 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 41 คน ที่ได้รับข้อมูลเรื่องยาด้วยวิธีต่าง ๆ กัน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 รับคำแนะนำด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 รับคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำเป็นตัวอักษร กลุ่มที่ 3 รับคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำแบบตัวอักษรประกอบกับรูปภาพ ประเมินความรู้ของกลุ่มตัวอย่างในวันที่แพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล หรือวันที่ 4 หลังจากกลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลคำแนะนำเรื่องยา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำแบบตัวอักษรประกอบกับรูปภาพมีค่ามัธยฐานคะแนนสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยค่ามัธยฐานคะแนนของกลุ่มที่ได้รับข้อมูลโดยการแนะนำด้วยวาจาเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ได้รับข้อมูลโดยการคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำเป็นตัวอักษร และกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำแบบตัวอักษรประกอบกับรูปภาพ เป็น 1.0 (Q1, Q3 = 1.0, 2.0), 2(Q1, Q3 = 2.0, 3.0) และ 3.0 (Q1, Q3 = 2.0, 4.0) คะแนน ตามลำดับ กลุ่มที่ได้รับคำแนะนำด้วยวาจาพร้อมเอกสารแนะนำแบบตัวอักษรประกอบกับรูปภาพ คิดว่ายังจำข้อมูลที่ได้รับครบถ้วน มากกว่าอีกสองกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p = 0.023) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังเห็นว่าการใช้รูปภาพช่วยทำให้นึกถึงอาการที่เกิดขึ้นจริง เกิดความเข้าใจได้ง่าย สำหรับการรายงานผลการการอาการข้างเคียงจากยากลุ่มเมทิลแซนทีน พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5 คน(ร้อยละ 4.2) ที่ได้แจ้งต่อแพทย์ว่าตนเองมีอาการผิดปกติ โดยมีอาการใจสั่น และคลื่นไส้อาเจียน และแพทย์ได้พิจารณาปรับขนาดยาลง เพื่อลดอาการข้างเคียงจากยา ความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติมีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการยา กลุ่มที่ต้องระมัดระวังสูง การสร้างเอกสารให้คำแนะนำแบบรูปภาพต้องทดลองทำหลายรอบเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน ซึ่งรูปภาพที่สื่อสารได้ชัดเจนจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและจดจำข้อมูลได้ดีกว่าการอธิบาย หรือการให้เอกสารแบบตัวอักษรเพียงอย่างเดียวen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.