Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorDr. Narissara Lailerd-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Anchalee Pongchaidecha-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Anusorn Lungkaphin-
dc.contributor.advisorDr. Chutima Srimaroeng-
dc.contributor.authorSopida Apichaien_US
dc.date.accessioned2020-08-04T06:13:58Z-
dc.date.available2020-08-04T06:13:58Z-
dc.date.issued2015-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69318-
dc.description.abstractThai purple glutinous rice genotype Kum Doi Saket (Oryza sativa L. ssp. indica) is a famous local cultivar of rice in the Northern of Thailand that contains a much higher content of anthocyanins and gamma oryzanol in the aleurone layer. Anthocyanins, the major subgroup of flavonoids responsible for the blue, purple and red color plant tissue, have been displayed various biological actions including antioxidant, anti-inflammatory, antihyperlipidemic, and also antihyperglycemic actions. However, little is known regarding its potential effects on skeletal muscle, the major site of glucose disposal. Therefore, this present study aimed to investigate the anti-diabetic effect and to explore the underlying molecular mechanisms of action of this purple glutinous rice bran via focusing on skeletal muscle glucose transport system in both type 1 and type 2 diabetic rat models. The results showed that purple rice bran supplement (50 g/kg diet) for 8 weeks successfully reduced fasting plasma glucose, HbA1c, triglyceride (TG), and free fatty acid (FFA) levels in both streptozotocin (STZ)-induced type 1 diabetic rats and high-fat (HF) diet with STZ-induced type 2 diabetic rats. Interestingly, the defects in fasting plasma insulin level or HOMA-β index were effectively attenuated in type 1 diabetic rats supplemented with purple rice bran, indicating the less deteriorating of pancreatic β-cells. Moreover, supplementation of purple rice bran improved the whole body insulin sensitivity by significantly reducing the AUCg from oral glucose tolerance test (OGTT) and HOMA-IR index in both type 1 and type 2 diabetic rats. Furthermore, experiments in muscle glucose transport system revealed that purple rice bran supplement enhanced the expression and activation of insulin signaling pathway-related protein including IRS-1, PKCζ/λ, Akt, and also the insulin-independent pathway such as AMPK which resulting an increase in GLUT4 translocation. Therefore, these findings suggested that purple rice bran supplement for 8 weeks exerted an anti-diabetic effect, enhanced insulin secretion and also moderately improved insulin action as well as the AMPK activation on skeletal glucose transport system in type 1 diabetic rats. Whereas, the anti-hyperglycemic effect in type 2 diabetic rats was related to reducing dyslipidemia and tissue TG accumulation, improving insulin sensitivity and also amelioration the defects in insulin signaling pathway (IRS-1/PI3-K/Akt) and AMPK activation, resulting enhanced skeletal glucose transport. In conclusion, this present study firstly illustrated that one potential site of anti-diabetic effect of purple rice bran genotype Kum Doi Saket is the skeletal glucose transport system. These findings evidence the nutraceutical property of this purple rice bran against the pathogenesis of the metabolic disorders by attenuating insulin resistance or defects of insulin secretion, and dyslipidemia associated to diabetes mellitus.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleEffects of Purple Rice Bran Genotype Kum Doi Saket (Oryza sativa L. ssp. indica) on Skeletal Muscle Glucose Transport System in Diabetic Ratsen_US
dc.title.alternativeผลของรำข้าวก่ำสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดต่อระบบขนส่งกลูโคส ในกล้ามเนื้อลายของหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractข้าวก่ำสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด (Oryza sativa L. ssp. indica) เป็นข้าวเหนียวสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในภาคเหนือของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าในชั้นรำข้าวของข้าวก่ำดอยสะเก็ดมีสารสำคัญคือแอนโทไซยานินและแกมมา-โอรีซานอลในปริมาณมาก แอนโทไซยานินจัดเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มักพบในพืชที่มีสีน้ำเงิน ม่วง และแดง มีรายงานการศึกษาพบว่าแอนโทไซ-ยานินมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญหลายอย่างได้แก่ ฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ป้องกันการอักเสบ ฤทธิ์ลดระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวกับผลของสารแอนโทไซยานินในรำข้าวก่ำสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดต่อระบบการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลาย ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญในการจัดเก็บกลูโคสภายหลังการรับประทาน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของรำข้าวจากข้าวก่ำสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับกลไกในการออกฤทธิ์ดังกล่าว โดยมุ่งเน้นที่ระบบการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลายของหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 จากผลการศึกษาพบว่าการให้รำข้าวก่ำขนาด 50 กรัมต่อกิโลกรัมอาหารเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดระดับน้ำตาลกลูโคสและระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในเลือด รวมทั้งยังสามารถลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันอิสระในเลือดของหนูเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 ได้ ประการสำคัญผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าในหนูเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ได้รับรำข้าวก่ำมีระดับฮอร์โมนอินซูลินในเลือดเพิ่มสูงขึ้นร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ HOMA-β index อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับหนูเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งผลดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าอาจเป็นผลจากการทำลายเซลล์เบต้าของตับอ่อนลดลงหรือเซลล์เบต้ามีการทำงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้การให้รำข้าวก่ำยังมีผลเพิ่มความไวในการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินทั้งในหนูเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยบ่งชี้จากการพบว่ามีการลดลงของพื้นที่ใต้กราฟของกลูโคส (AUCg) ที่ได้จากกการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส ร่วมกับการลดลงของค่าดัชนีบ่งชี้ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (HOMA-IR index) และจากการศึกษาเกี่ยวกับผลของการให้รำข้าวก่ำต่อระบบการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลายของหนูเบาหวานพบว่าการให้รำข้าวก่ำมีผลเพิ่มการแสดงออกและการทำงานของโปรตีนในการส่งสื่อสัญญาณผ่านฮอร์โมนอินซูลิน (insulin signaling pathway) เช่น IRS-1, PKCζ/λ และ Akt รวมทั้งยังไปเพิ่มการทำงานของ AMPK ซึ่งเป็นโปรตีนในการส่งสื่อสัญญาณที่ไม่ผ่านฮอร์โมนอินซูลิน (insulin independent pathway) ทำให้มีผลเพิ่มการเคลื่อนที่ของ GLUT4 ไปยังเยื่อหุ้มเซลล์ในที่สุด จากผลการทดลองดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการให้รำข้าวก่ำขนาด 50 กรัมต่อกิโลกรัมอาหารเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีฤทธิ์ในการต้านเบาหวานในหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งกลไกที่เกี่ยวข้องน่าจะสัมพันธ์กับฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน รวมทั้งการบรรเทาความผิดปกติในการส่งสื่อสัญญาณกระตุ้นต่อโปรตีน AMPK ก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยเพิ่มการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลายของหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนในหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด น่าจะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือดและลดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ในการเพิ่มความไวในการตอบสนองต่ออินซูลิน รวมถึงการบรรเทาความผิดปกติในการส่งสื่อสัญญาณอินซูลินผ่านวิถีทาง IRS-1/PI3-K/Akt และการกระตุ้นการทำงานของโปรตีน AMPK ซึ่งที่สุดจะไปมีผลเพิ่มการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลายของหนูขาวที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 กล่าวโดยสรุปการศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่แสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์ต้านเบาหวานของรำข้าวสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดในหนูขาวที่มีภาวะเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับการกระตุ้นต่อระบบการขนส่งกลูโคสในกล้ามเนื้อลายโดยฮอร์โมนอินซูลิน จากผลการศึกษานี้ยังบ่งชี้ให้เห็นศักยภาพของรำข้าวสายพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดในการพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยจะมีผลช่วยบรรเทาภาวะดื้อต่ออินซูลินและความผิดปกติการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินรวมทั้งลดภาวะไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานได้en_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.