Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69317
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Yodying Punjasawadwong, M.D. | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Worawut Lapisatepun, M.D. | - |
dc.contributor.advisor | Prof. Somrat Charuluxananan, M.D. | - |
dc.contributor.author | Visith Siriphuwanun | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-04T06:13:52Z | - |
dc.date.available | 2020-08-04T06:13:52Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69317 | - |
dc.description.abstract | Emergency surgery is an unplanned surgical procedure with limited opportunity for preoperative preparation which means there is an increased risk of perioperative complications and death when compared to elective cases. Studies in a developed country reported that more than half of all cases of patients undergoing emergency surgery resulted in cardiac arrest. In developing countries, the incidence of perioperative cardiac arrest and death resulting from the arrest during emergency surgery was higher when compared to many of these studies which were conducted over the past decade in developed counties. The comparative incidences were very high in our study which was conducted at a university teaching-based hospital in northern Thailand. Additionally, studies during the past decade which focused on factors associated with cardiac arrest in patients during anesthesia included age, patient location at the time of arrest, underlying disease, ASA physical status, hemodynamic changes, blood loss, the anatomical site of the surgery and the severity of injury. However, there were few studies which have focused on the incidence and factors associated with perioperative cardiac arrest after anesthesia for emergency surgery. WHO expects that the incidence of emergency surgery is likely to continue to grow and to have a high mortality rate in the future as the population grows over the next decade. Therefore, this thesis was conducted at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, a university teaching-based hospital in northern Thailand, with the purpose of determining the incidence and factors associated with cardiac arrest within 24 hours after receiving anesthesia for emergency surgery. The findings show that the perioperative incidence of cardiac arrest (within 24 hours) in patients receiving anesthesia for emergency surgery was 163 per 10,000. This is a higher incidence of cardiac arrest than that found in other studies both in developed and developing countries. However, the incidence of cardiac arrest in other studies which were carried out in the peri-and postoperative period in Thailand was low. In addition, the incidence of cardiac arrest in other developing countries is statistically lower when compared to the results of this study. Compared to studies carried out in a developed country, the rate of cardiac arrest in Maharaj Nankorn Chiang Mai Hospital was quite high. The relatively high rates of cardiac arrest in these results were caused by many factors, in particular the condition of patients, as the injuries of the patients who underwent emergency surgery were very severe. Also many patients had a high level of blood loss and also there was a lack of preparation of the emergency surgery patients for surgery. Additionally, patients who were in a state of shock had to be moved from the emergency room to the operating theatre in order to secure initial life support. Factors associated with cardiac arrest were patients having an age equal to or less than 2 years, increasing ASA physical status, anatomic sites of surgery (upper intra-abdominal, intracranial, intra-thoracic, cardiac and major vascular sites), preoperative respiratory and/or cardiovascular comorbidity and patients who were in shock before receiving anesthesia. Most findings from this study correspond with recent studies in developed and developing countries and there is a particularly close correlation with results from other studies in another university teaching-based hospital in Thailand. Furthermore, the results correspond to a systematic review of perioperative anesthesia in both developed and developing countries. However another conclusion, regarding the data related to elderly patients, is inconsistent with recent studies which may be due to there being many other factors involved such as the comorbidity issues of these patients before receiving anesthesia (especially, respiratory and cardiovascular problems). Additionally, when comparing the anatomic site of surgery between elderly and adult patients or children, it was found that the frequency of heart surgery, upper intra-abdominal and intracranial surgery was higher in children than in elderly patients. Cardiopulmonary resuscitation (CPR) is the process and the treatment to save life in cases of cardiac arrest. This is achieved by increasing the oxygenation of tissues in the body for protection against brain death, preserving circulation and delivering oxygen to vital organs. From previous studies many factors, such as a short time interval between the detection of cardiac arrest and the time of actually starting CPR, early defibrillation and effective Advanced Cardiac Life Support (ACLS) were determinants in the success of CPR, which generally is regarded as the return of spontaneous circulation (ROSC) as the initial end point. However, few studies have focused on the effectiveness of CPR in cardiac arrest patients during and immediately after emergency surgery. Therefore, we conducted a cross-sectional study that was to determine the initial success rate of CPR and identify factors associated with the success of CPR in patients whose cardiac arrest occurred within 24 hours after receiving anesthesia for emergency surgery. We found ROSC occurring in nearly half of the resuscitated patients. Compared to studies in developed and developing countries, this rate was low and our results were also lower than university teaching-based hospitals elsewhere in Thailand. In contrast our study found that cardiac arrest during emergency surgery due to underlying surgical conditions such as bleeds, hypovolemia and coagulation had a comparatively higher incidence. In addition, we found respiratory and cardiovascular diseases as major comorbidities contributing to cardiac arrest. The statistically significant factors associated with the initial ROSC were EKG-detected cardiac arrest, cardiac arrest in those without shock, response time of activated CPR teams within 1 minute, a well-trained CPR team and administration of epinephrine. Our findings were supported by other studies in developed and developing countries. Immediate and long term outcomes of post-CPR were death, survival and survival with complications. A recent study held in developing countries found that factors predicting the survival of patients after resuscitation included the duration time to CPR and the place where CPR was carried out. For patients who died or survived with complications, the relevant factors included blood oxygen desaturation, a lack of equipment, ASA physical status class, the anatomical site of the operation and trauma. Studies held in both developed and developing countries were not related to patients receiving anesthesia for emergency surgery, and few studies have specifically focused on the prognostic factors associated with these outcomes. Therefore, this study was performed to determine the prognostic factors affecting each outcome after CPR. We found that the outcomes of post-24 hour CPR after the start of emergency surgery are associated with high mortality and morbidity. Those outcomes following early peri- and postoperative cardiac arrest are associated with identifiable patient comorbidity, patients suffering from shock prior to receiving anesthesia, the anatomical site of the operation, the location of the cardiac arrest, EKG rhythm and duration time of CPR. Conclusion: Patients undergoing anesthesia for emergency surgery are at risk of cardiac arrest with a high mortality. Factors associated with cardiac arrest are the characteristics of: age (in particular pediatric patients), cardiovascular and/or respiratory comorbidity, increasing ASA physical status, patients in shock prior to receiving anesthesia and the anatomic site of surgery especially abdominal surgery, major vascular or cardiac and brain surgery. Our results have confirmed that early detection of cardiac arrest by EKG monitoring followed by immediate CPR and prompt management by a qualified team are important factors in improving the success of CPR. The prognostic factors to predict poor outcomes of CPR in patients suffering cardiac arrest up to 24 hours after emergency surgery are patient cardiopulmonary comorbidity, patients in shock prior to cardiac arrest, upper abdominal anatomic site of surgery, cardiac arrest occurring in the post-anesthetic period, non-shockable EKG rhythm and duration time of CPR more than 30 minutes. The care team’s methodology needs to be perfected to correctly and quickly assess patient condition and also a standardized method of a more efficient cooperative decision-making process must exist between the interdisciplinary team and relatives prior to surgery. Emergency surgical patients at risk of cardiac arrest should be promptly managed with facilities available not only during the operation but also during the pre- and postoperative period. We suggest that the guidelines of CPR 2010 be updated to the CPR 2015 logarithm, and new guidelines should be added to improve specific knowledge for emergency patients receiving anesthesia for emergency surgery. For example, CPR training for emergency surgery, modeling systems including “the fast track system” and “the excellence interdisciplinary coordinated system” will ensure the cooperation of the interdisciplinary team for emergency surgery and anesthesia, CPR and postoperative care in the shortest time. Furthermore, for patients who undergo emergency surgery, health care providers should be creating further multicenter research opportunities enabling the surgeons, anesthesiologists and related departments to create a standardized risk score to classify patients who are at a high risk of death or survival with complications. This knowledge will lead to a lean management process within the interdisciplinary team and it will help save life and reduce the morbidity of patients effectively. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Cardiac Arrest in Patients Receiving Anesthesia for Emergency Surgery: Associated Factors, Post-Cardiopulmonary Resuscitation Outcomes and Prognostic Factors of Death and Survival with or Without Complications | en_US |
dc.title.alternative | ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดฉุกเฉิน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์หลังช่วยฟื้นคืนชีพ และปัจจัยทำนายการตายและฟื้นโดยมีหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อน | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การผ่าตัดฉุกเฉิน เป็นวิธีการผ่าตัดโดยทันทีที่ไม่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีข้อจำกัดในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการตายเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการผ่าตัดเมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมการไว้ล่วงหน้า รายงานการศึกษาในประเทศพัฒนาแล้ว พบว่า ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งหนึ่งที่มาผ่าตัดฉุกเฉินมีหัวใจหยุดเต้น ในประเทศกำลังพัฒนา พบอุบัติการณ์ของหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในระหว่างผ่าตัดฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับหลายการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมาในประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีอุบัติการณ์ที่สูงมากในการศึกษาของเรา ที่ได้ศึกษาในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย ในภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ การศึกษาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ได้มุ่งเน้นค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ หยุดเต้นในผู้ป่วยระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น อายุ สถานที่ให้ยาระงับความรู้สึก โรคประจำตัวผู้ป่วย ระดับ เอ เอส เอ การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด การสูญเสียเลือด ตำแหน่งของการผ่าตัด และความรุนแรงของการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาจำนวนน้อยที่ได้มุ่งเน้นศึกษาเฉพาะอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจหยุดเต้นหลังการดมยาสลบสำหรับผ่าตัดฉุกเฉิน และองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่าการผ่าตัดฉุกเฉินมีแนวโน้มของอัตราตายเพิ่มขึ้นตลอดเวลาตามแนวโน้มของจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นในทศวรรษหน้า ดังนั้นเราจึงศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในระดับมหาวิทยาลัยภาคเหนือของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจหยุดเต้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดฉุกเฉิน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า อุบัติการณ์หัวใจหยุดเต้นของผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง หลังการให้ยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดฉุกเฉินเท่ากับ 163 ต่อ 10,000 ราย การศึกษานี้พบอุบัติการณ์สูงกว่าการศึกษาอื่นๆ ในแผนกของเรา ในขณะที่อุบัติการณ์หัวใจหยุดเต้นในระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า นอกจากนี้อุบัติการณ์หัวใจหยุดเต้นในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ยังต่ำกว่าผลการศึกษาของเรา เมื่อเทียบกับการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้ว อัตราการเกิดหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาลมหาราชนครชียงใหม่สูงกว่าอย่างชัดเจน อัตราการเกิดหัวใจหยุดเต้นที่สูงนี้เกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพและความรุนแรงของการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดฉุกเฉิน การเสียเลือดจำนวนมาก และการขาดการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดฉุกเฉิน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อก ที่ต้องเคลื่อนย้ายจากห้องฉุกเฉินไปยังห้องผ่าตัดอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือชีวิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจหยุดเต้นได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี การเพิ่มขึ้นของระดับ เอ เอส เอ ตำแหน่งกายวิภาคของการผ่าตัด (เช่น ผ่าตัดบริเวณช่องท้องตอนบน สมอง ภายในทรวงอก หัวใจและหลอดเลือดใหญ่ที่สำคัญ) โรคประจำตัวก่อนการผ่าตัดในระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกมาก่อนที่จะได้รับยาระงับความรู้สึก ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ส่วนมากสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการศึกษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับการทบทวนงานวิจัยในผู้ป่วยที่ได้รับความรู้สึกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยอื่นๆบางงานวิจัยที่พบว่าปัจจัยด้านผู้สูงอายุไม่สอดคล้องกับการศึกษานี้ ซึ่งอาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาโรคประจำตัวของผู้ป่วยเหล่านี้ก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด) นอกจากนั้นเมื่อเทียบกับตำแหน่งการผ่าตัดระหว่างผู้สูงอายุและผู้ใหญ่หรือเด็ก พบว่า จำนวนของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดภายในช่องท้องตอนบน และสมอง สูงในเด็กมากกว่าในผู้ป่วยสูงอายุ การช่วยฟื้นคืนชีพเป็นกระบวนช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยให้รอดชีวิต การป้องกันสมองตาย รักษาการไหลเวียน และการนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย จากการศึกษาก่อนหน้านี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรวจพบหัวใจหยุดเต้นเร็วและเริ่มต้นช่วยฟื้นคืนชีพเร็ว การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าที่รวดเร็ว และการช่วยชีวิตขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการช่วยฟื้นคืนชีพ โดยทั่วไปการกลับคืนมาของระบบไหลเวียนเลือดเป็นจุดสำเร็จขั้นต้นของการช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาน้อยมากที่มุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการช่วยฟื้นคืนชีพ ในผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นในระหว่างและหลังการผ่าตัดฉุกเฉิน ดังนั้นเราจึงศึกษาแบบตัดขวาง เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้รับยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดฉุกเฉิน เราพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพเกือบครึ่งหนึ่งที่มีการกลับมาของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งต่ำกว่าการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา และผลการศึกษาของเรายังต่ำกว่าผลการศึกษาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ ในประเทศไทย ผลการศึกษาที่ต่างกันอาจเนื่องจากข้อมูลการศึกษานี้ ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นมีสภาวะที่ต้องผ่าตัดเร่งด่วน เช่น เลือดออก การสูญเสียน้ำ และเลือดแข็งตัวช้า นอกจากนี้เราพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวในระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่ การตรวจพบหัวใจหยุดเต้นโดยเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะช็อกมาก่อน ระยะเวลาการตอบสนองของทีมช่วยฟื้นคืนชีพภายใน 1 นาที ทีมช่วยฟื้นคืนชีพที่ผ่านการฝึกอบรม และการให้ยากระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น เอปิเนฟริน ซึ่งผลการวิจัยของเรามีข้อมูลสนับสนุนจากการศึกษาอื่นๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ผลลัพธ์ระยะสั้นและระยะยาวของผู้ป่วยหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้แก่ ตาย ฟื้น และการฟื้นที่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาล่าสุดในประเทศกำลังพัฒนา พบว่าปัจจัยทำนายการฟื้นของผู้ป่วยหลังการช่วยชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ช่วยฟื้นคืนชีพและสถานที่ช่วยฟื้นคืนชีพ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิตหรือฟื้นที่มีภาวะแทรกซ้อนพบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ การขาดอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ความรุนแรงของผู้ป่วยแยกตามระดับ เอ เอส เอ ตำแหน่งการผ่าตัดและการบาดเจ็บ การศึกษาที่จัดทำขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาไม่ได้ศึกษาเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดฉุกเฉิน และมีการศึกษาส่วนน้อยได้มุ่งเน้นเฉพาะในปัจจัยการพยากรณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์เหล่านี้ ดังนั้นการศึกษานี้ได้ศึกษาปัจจัยการพยากรณ์ในแต่ละผลลัพธ์หลังช่วยฟื้นคืนชีพ เราพบว่าผลหลังจากช่วยฟื้นคืนชีพใน 24 ชั่วโมง ของผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉิน มีอัตราการตายและฟื้นที่มีภาวะแทรกซ้อนที่สูง ผลลัพธ์เหล่านี้ของผู้ป่วยในระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด เกี่ยวข้องกับโรคร่วมของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกก่อนที่จะได้รับการให้ยาระงับความรู้สึก ตำแหน่งการผ่าตัด สถานที่เกิดหัวใจหยุดเต้น จังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และระยะเวลาของการช่วยฟื้นคืนชีพ สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดฉุกเฉิน มีความเสี่ยงของหัวใจหยุดเต้นและการตายที่สูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ อายุโดยเฉพาะเด็ก โรคประจำตัวในระบบหัวใจและหลอดเลือดและ/หรือ ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ระดับ เอ เอส เอ ที่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่ช็อกมาก่อนที่จะได้รับการให้ยาระงับความรู้สึก และตำแหน่งผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดในช่องท้อง การผ่าตัดหลอดเลือดใหญ่หรือหัวใจและสมอง ผลการศึกษาของเรายืนยันได้ว่าการตรวจพบหัวใจหยุดเต้นโดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การช่วยฟื้นคืนชีพทันที และการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยทีมที่มีความพร้อมและรวดเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมความสำเร็จของการช่วยฟื้นคืนชีพ ปัจจัยการพยากรณ์ผลลัพธ์ที่ไม่ดีของการช่วยฟื้นคืนชีพ ใน 24 ชั่วโมง ของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ได้แก่ โรคประจำตัวทางระบบหายใจและหัวใจของผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยที่ช็อกมาก่อนที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้น การผ่าตัดในช่องท้องตอนบน หัวใจหยุดเต้นที่เกิดขึ้นในระยะหลังเสร็จการให้ยาระงับความรู้สึก จังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ไม่สามารถกระตุ้นด้วยการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า และระยะเวลาการช่วยฟื้นคืนชีพนานกว่า 30 นาที ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วย ทีมดูแลผู้ป่วยต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ครอบคลุม รวดเร็วและสามารถประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยได้ทันที และต้องมีวิธีการที่เป็นมาตรฐานสำหรับการติดต่อประสานงานและร่วมมือกันในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระหว่างทีมสหสาขาและญาติผู้ป่วยก่อนที่จะผ่าตัด ผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นควรได้รับการอำนวยความสะดวก และมีระบบการจัดการที่พร้อมทันที ไม่เพียงแต่ระหว่างการผ่าตัด แต่รวมทั้งในช่วงเวลาก่อนและหลังการผ่าตัดด้วย เราสนับสนุนให้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติจากแนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ คริสต์ศักราช 2010 ไปยังแนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ คริสต์ศักราช 2015 ที่ควรเพิ่มเติมและพัฒนาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกสำหรับผ่าตัดฉุกเฉิน เช่น การฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉิน การสร้างรูปแบบเชิงระบบ ได้แก่ "ระบบเร่งด่วน (the fast track system)" และ "ความเป็นเลิศของระบบการประสานงานของทีมสหสาขา (the excellence interdisciplinary coordinated system)" ของทีมสหสาขาสำหรับการผ่าตัดฉุกเฉิน การให้ยาระงับความรู้สึก การช่วยฟื้นคืนชีพและการดูแลหลังการผ่าตัด ให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในเวลาที่รวดเร็ว นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดฉุกเฉินควรมีการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เช่น แผนกห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น หอผู้ป่วยหนัก ธนาคารเลือด เป็นต้น เพื่อจัดทำ “High Risk Score” สำหรับแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการตาย หรือฟื้นที่มีภาวะแทรกซ้อน และเพื่อเป็นแนวทางในการลดขั้นตอนการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขา ซึ่งวิธีการดังกล่าวอาจทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เร็วขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en_US |
Appears in Collections: | MED: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 5.84 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.