Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69288
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Ampai Pantong-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Supanimit Teekachunhatean-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Chaichan Sangdee-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Siriwan Ongchai-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Puongtip Kunanusorn-
dc.contributor.authorNutthiya Hanprasertpongen_US
dc.date.accessioned2020-08-04T00:37:57Z-
dc.date.available2020-08-04T00:37:57Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69288-
dc.description.abstractOsteoarthritis (OA) is a more costly disease than rheumatoid arthritis in economic terms due to its higher prevalence. Approximately one-third of direct OA costs is allotted for medications. In Thailand, there are many herbs used in traditional and folk medicine for relieving joint pain such as Thao En On or Cryptolepis buchanai. Therefore, the present study aimed to investigate and evaluate the analgesic and anti-inflammatory activities of the methanol extract of stems of C. buchanani (CBE) in animal models as well as its chondroprotective activity in cartilage explants. CBE significantly reduced the acetic acid-induced writhing response in mice. It also inhibited the edema formation in both ethyl phenylpropiolate (EPP)-induced rat ear edema and carrageenan-induced rat paw edema. In cartilage explants, CBE significantly reduced the sulfated glycosaminoglycan (s-GAG) and hyaluronan (HA) released into the culture media while the cartilage matrix molecules such as uronic acid and collagen were reserved within the cartilage tissues. It also suppressed the matrix metalloproteinase-2 (MMP-2) activity without adverse effects on cell viability. To validate the clinical efficacy of C. buchanani, a randomized, double-blind, active controlled trial was performed to compare the efficacy of C. buchanani oil formulation (CBO) to 1% indomethacin (IDM) solution in symptomatic treatment of OA of knee for 4 weeks in 169 OA patients. The clinical assessments included visual analog scale (VAS) score for assessing joint’s pain and stiffness, Lequesne’s functional index (LI), time for climbing up 10 steps, as well as physician’s and patients’ overall opinion on improvement which were evaluated weekly until 4 weeks. After 4 weeks of treatment, all clinical parameters of both groups were significantly improved with no difference between groups. In per protocol analysis, the difference between groups was not significant for all assessment except for the morning stiffness. IDM significantly improved the morning stiffness better than that of CBO. The numbers of responders according to total pain reduction and to overall opinion on improvement of both groups were similar. The most common adverse events were pruritus and rash at the application sites with significantly higher occurrence in IDM group than CBO group. In conclusion, CBE shows analgesic, anti-inflammatory, and chondroprotective effects in this preliminary study. In addition, CBO demonstrates clinical efficacy on the treatment of symptomatic OA of knee comparable to IDM solution with lower rate of adverse events. Therefore, C. buchanani may be useful as an alternative treatment of OA. Further investigations of the mechanism of actions and to uncover the active compound(s) of C. buchanani are warranted.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleAntinociceptive, Anti-inflammatory, and Chondroprotective Activities of Cryptolepis buchanani Extract and the Efficacy of Its Oil Formulation in the Symptomatic Treatment of Knee Osteoarthritisen_US
dc.title.alternativeฤทธิ์ต้านความเจ็บปวด ต้านการอักเสบ และปกป้องกระดูกอ่อนของสารสกัดเถาเอ็นอ่อน และประสิทธิผลของน้ำมันเถาเอ็นอ่อนในการบำบัดอาการโรคข้อเข่าเสื่อมen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractโรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยมาก ในทางเศรษฐกิจ ข้อเสื่อมเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เนื่องจากมีอุบัติการณ์สูงกว่า ประมาณหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของโรคข้อเสื่อมถูกใช้เพื่อเป็นค่ายา ในประเทศไทย มีการใช้สมุนไพรหลายชนิดในการแพทย์แผนโบราณเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ เช่น เถาเอ็นอ่อน หรือ Cryptolepis buchanai ดังนั้น วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบและประเมินประสิทธิผลของสารสกัดเมธานอลของลำต้นเถาเอ็นอ่อนในการระงับปวดและต้านการอักเสบในสัตว์ทดลอง และศึกษาฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนในเนื้อกระดูกอ่อนที่เพาะเลี้ยง สารสกัดเถาเอ็นอ่อนลดการตอบสนองต่อความเจ็บปวดในหนูถีบจักรอย่างมีนัยสำคัญ และยังยับยั้งการบวมของหูหนูจากการเหนี่ยวนำด้วยสารเอทธิลฟีนิลโพรไพโอเลท (อีพีพี) และการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากการเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน ในการเพาะเลี้ยงชิ้นกระดูกอ่อนพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนลดปริมาณ ซัลเฟต-ไกลโคซามิโนไกลแคน (เอส-จีเอจี) และไฮยาลูโรแนน (เอชเอ) ที่สลายออกมาในน้ำเพาะเลี้ยงเซลล์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ช่วยปกป้ององค์ประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของกระดูกอ่อน เช่น กรดยูโรนิกและคอลลาเจนไว้ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน สารสกัดเถาเอ็นอ่อนยังยับยั้งการทำงานของแมททริกซ์เมทาลโลโปรทีเนส-2 (เอ็มเอ็มพี-2) โดยที่ไม่มีผลกระทบต่อการมีชีวิตของเซลล์ เพื่อยืนยันประสิทธิผลในทางคลินิกของเถาเอ็นอ่อน จึงได้ทำการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง และมีกลุ่มควบคุมที่ใช้ยามาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำมันเถาเอ็นอ่อนและน้ำยา 1% ของอินโดเมธาซินในการบำบัดอาการโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย 169 รายเป็นเวลา 4 สัปดาห์ การประเมินผลทางคลินิก ได้แก่ การประเมินค่าด้วยสายตาเพื่อประเมินความปวดและความฝืดหรือติดขัดของข้อ การประเมินการทำงานของข้อโดยใช้แบบสอบถาม Lequesne ระยะเวลาในการเดินขึ้นบันไดสิบขั้น รวมถึงการประเมินภาวะโดยรวมของโรคที่ดีขึ้นทั้งโดยแพทย์ผู้ตรวจและโดยผู้ป่วย ทุก 1 สัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากรักษา การประเมินผลทางคลินิกทุกองค์ประกอบของทั้งสองกลุ่มมีค่าที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมจนจบการศึกษา พบว่าผลทางคลินิกของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ยกเว้นค่าความฝืดหรือติดขัดของข้อหลังตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งน้ำยาอินโดเมธาซินลดความฝืดหรือติดขัดของข้อหลังตื่นนอนตอนเช้าได้ดีกว่าน้ำมันเถาเอ็นอ่อนอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษาทั้งด้านความปวดที่ลดลงและอาการโดยรวมที่ดีขึ้นของทั้งสองกลุ่มมีจำนวนใกล้เคียงกัน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยคืออาการคันและผื่นแดงบริเวณที่ทายา ซึ่งพบในกลุ่มที่ใช้น้ำยาอินโดเมธาซินมากกว่ากลุ่มน้ำมันเถาเอ็นอ่อนอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป การศึกษาเบื้องต้นพบว่าสารสกัดเถาเอ็นอ่อนแสดงฤทธิ์ระงับปวด ต้านการอักเสบ และปกป้องกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้น้ำมันเถาเอ็นอ่อนแสดงประสิทธิผลในการบรรเทาอาการโรคข้อเข่าเสื่อมเทียบเท่ากับน้ำยาอินโดเมธาซิน และมีอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์น้อยกว่า ดังนั้น เถาเอ็นอ่อนจึงอาจมีประโยชน์ในการเป็นทางเลือกในการรักษาข้อเสื่อม ควรจะได้มีการศึกษาถึงกลไกการออกฤทธิ์ของเถาเอ็นอ่อนและค้นหาสารออกฤทธิ์สำคัญต่อไปในอนาคตen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.