Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69264
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผศ. ดร.กรกฎ ใยบัวเทศ ทิพยาวงศ์ | - |
dc.contributor.author | จุรีย์รัตน์ สมบูรณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-03T07:38:59Z | - |
dc.date.available | 2020-08-03T07:38:59Z | - |
dc.date.issued | 2015-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69264 | - |
dc.description.abstract | This research focuses on reviewing used shoes supply chain. In preliminary, reviews on used shoes supply chain from secondary databases and documents were identified. Survey of the chain and interview of stakeholders in the chain were then performed. SWOT analysis of used shoes indicated several weaknesses and threats. However, there were some strengths that can be developed to opportunities. In addition, value chain of this business was analyzed to identify value added. As a result, many activities were found to increase value to the chain, especially, operation activities before remarketing. This included; selecting, washing, repairing and painting which creating value and satisfying customer needs. Those activities could create tremendous value to used shoes according to value chain activity. Furthermore, value changed in each stage of used shoes supply chain was clarified. Supply chain stakeholders achieved different margin. The highest margin appeared among middleman producing 520.17% and the lowest margin was 25.71% in merchants group 1. Subsequently, Value Stream Mapping (VSM) was used to define and analyze processes. This step enabled researcher to find wastes in these processes. Finally, some suggestions and recommend were provided to each stakeholder which can be adopted into improving the process. Value Stream Mapping (VSM) shown the highest activities in used shoes supply chain occupied 52.38% of Value Added Activities (VA). Recommendations from researcher attempt to combine simplify and re-arrange processes. As a result, reducing NVA, NNVA and shortening process time of VA diminished 21.75 hours of total operating time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานรองเท้ามือสองโดยใช้แนวคิดแบบลีน | en_US |
dc.title.alternative | Used Shoes Supply Chain Improvement by Lean Concept | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานของรองเท้ามือสอง เพื่อที่จะได้เห็นถึงภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานของสินค้าประเภทนี้ โดยการทำงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลทั่วไปและการเข้าไปสำรวจรวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน จากนั้นทำการวิเคราะห์ SWOT ของรองเท้ามือสอง พบว่าสินค้าประเภทนี้มีจุดอ่อนและอุปสรรคอยู่หลายประการ แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีจุดแข็งที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และนอกจากที่ได้วิเคราะห์ SWOT เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยก็ยังได้ทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของรองเท้ามือสองเพื่อที่จะได้รู้ว่าในปัจจุบันนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานได้มีการดำเนินการหรือทำกิจกรรมใดบ้างเพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่านี้ก็พบว่ามีหลายๆกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่ห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมในส่วนของการดำเนินงานก่อนที่จะนำรองเท้าออกวางจำหน่าย ซึ่งได้แก่ การคัดแยก การซักทำความสะอาด การซ่อมแซมรองเท้า และการแต้มสีเป็นกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าให้แก่ห่วงโซ่อุปทานเป็นอย่างมากทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ตัวรองเท้ามือสองและช่วยเพิ่มความพึงพอใจในคุณภาพและความสวยงามของรองเท้ามือสองให้แก่ลูกค้า ในขั้นตอนของวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มจากรองเท้ามือสองพบว่า มูลค่าเพิ่มของรองเท้ามือสองที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานแต่ละรายนั้นไม่เท่ากัน โดยผู้ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่รองเท้ามือสองมากที่สุดคือ พ่อค้าคนกลาง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 520.17% และผู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อยที่สุดคือพ่อค้ากลุ่มหัวซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้เพียง 25.71% ในส่วนของการวิเคราะห์กิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานจะใช้หลักการของแผนผังสายธารคุณค่า เพื่อที่จะได้ทราบว่ากิจกรรมใดที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และในลำดับสุดท้ายเป็นการนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ผลจากการจำแนกกิจกรรมตามหลักการของแผนผังสายธารคุณค่าทำให้ทราบว่ากิจกรรมที่พบมากที่สุดในห่วงโซ่อุปทานรองเท้ามือสองคือกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (VA) โดยคิดเป็น52.38% ของกิจกรรมทั้งหมด สำหรับแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้มีแนวคิดที่จะพยายามรวมงาน ตัดขั้นตอนที่ไม่สร้างคุณค่าหรือใช้เวลาในการดำเนินงานมากเกินความจำเป็นทิ้ง ลดเวลาการดำเนินงานของขั้นตอนที่จำเป็นแต่ไม่สร้างคุณค่าและขั้นตอนที่สร้างคุณค่า และอาจมีการจัดเรียงการทำงานใหม่เพื่อให้การดำเนินงานง่ายขึ้น ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามที่ได้นำเสนอไปนั้นจะทำให้สามารถลดเวลาในการดำเนินงานไปได้ถึง 21.75 ชั่วโมง | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.