Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69256
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล-
dc.contributor.authorอดิเทพ พัฒนศุภสุนทรen_US
dc.date.accessioned2020-08-03T07:38:20Z-
dc.date.available2020-08-03T07:38:20Z-
dc.date.issued2016-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69256-
dc.description.abstractThe purpose of the independent study is to look for a suitable way of architecture design for the lost-space area under Don Chan overpass, which can meet demand and value of surrounded community areas in order to support the public-space utility. The sample of the main users were chosen around Don Chan. There are two methodologies in this study: 1. Data analyzing and synthesizing: Data analyzing consists of two collecting parts; the data of site observation and data from literature review, which would be brought together to explain the phenomena that happens in community. Then these information would be analyzed and synthesized to find out the community relation and requirement that would lead to design requirement for the design process of the lost space at the intersection area below Don Chan's elevated road, Chiang Mai. It is found from site observation and literature review that this lost space occurred from the city and transportation development, and it effects the context around Don Chan intersection area. This causes the problems of community environment both of the community separation and the restriction of population growth. 2. Architectural design: The architectural design was determined by a scope of research summary from the previous synthesis data, this process consist of two main design concepts follow as 1.) The potential development of lost space, 2.) The reconnection of local people and community, which develop from the idea of the analysis of daily urban life through walking behavior by Michel de Certeau. This idea of walking would motivate to the reconnection between the separated areas and places, and to create various activities in design. In the detail of architecture design, the idea of sense of place in people and the community by Pajare Prasert will be used to build the value for this area. This study chose Lanna lantern which is a local sign of the community to use in design process. This might lead to community identity and create sense of belonging to local people.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างใต้ทางยกระดับแยกดอนจั่นจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDesign for Develop the Vacant Land Under Donjan Overpass in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษา และดำเนินการวิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางในการออกแบบ lost space ที่เกิดขึ้นบริเวณแยกดอนจั่นให้สามารถตอบรับและมีคุณค่าต่อบริบทของชุมชนโดยรอบ เพื่อรองรับพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ว่างในเชิงสาธารณะ ในการศึกษานั้นจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้สอยในชุมชนโดยรอบของพื้นที่แยกดอนจั่นเป็นหลัก โดยในขั้นตอนการวิจัยสามารถแบ่งการดำเนินการออกแบบเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกันคือ 1.ส่วนของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ และข้อมูลที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน แล้วนำผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์มาทำการสังเคราะห์ข้อมูล ให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะความสัมพันธ์และความต้องการของคนในชุมชน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางกำหนดแนวความคิดในการออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างใต้ทางยกระดับแยกดอนจั่นจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่และการทบทวนวรรณกรรมพบว่า พื้นที่ว่างใต้ทางยกระดับซึ่งเป็น lost space ที่สร้างปัญหาให้กับเมืองนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านการคมนาคม ที่ส่งผลกระทบต่อบริบทโดยรอบของแยกดอนจั่น ในด้านของพื้นที่ชุมชนถูกตัดขาดส่งผลให้การเดินทางไปมาหาสู่ยากลำบาก และเกิดความเหินห่างทั้งในส่วนของเครือญาติ และผู้คนที่เคยอยู่ร่วมชุมชนเดียวกัน รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรในพื้นที่ที่ถูกจำกัด ทำให้สภาพแวดล้อมภายในชุมชนเริ่มมีลักษณะพื้นที่เริ่มแออัด และขาดพื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนในที่สุด ดังนั้นในการในการออกแบบพื้นที่จึงเป็นการออกแบบพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ว่างที่สามารถใช้งานเชิงสาธารณะได้ และยังสามารถเป็นพื้นที่สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างชุมชนได้อีกด้วย 2.ส่วนของดำเนินการออกแบบตามกรอบงานวิจัยโดยการประมวลผลเข้ากับการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการออกแบบพื้นที่ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วย รูปแบบงานออกแบบซึ่งได้มาจากการทดลองภายใต้กรอบแนวความคิดหลัก 2 ประเด็น คือ 1. การออกแบบและพัฒนาพื้นที่ lost space และ 2. การเชื่อมโยงผู้คนในสังคม ซึ่งในส่วนนี้ผู้วิจัยได้นำเอาแนวความคิดของ de Certteau เรื่อง การวิเคราะห์ชีวิตประจำวันของคนเมืองผ่านการเดิน มาใช้ในการออกแบบเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ที่ถูกตัดขาดออกจากกันเข้าด้วยกัน โดยเลือกใช้การสัญจรของคนเดินเท้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆในพื้นที่ออกแบบ ในส่วนของรายละเอียดในการออกแบบนั้น เป็นการออกแบบโดยนำเอาแนวความคิดเรื่องการสร้างความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อพื้นที่ของคนในชุมชน (จากหนังสือเรื่องแนวทางการพัฒนาพื้นที่ใต้ทางด่วนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของปาจรีย์ ประเสริฐ ) มาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับพื้นที่ โดยในงานวิจัยชิ้นนี้ได้เลือกนำเอาโคมไฟล้านนา ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชนและสร้างความรู้สึกให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลทำให้การพัฒนามีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการใช้งานและได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าในการออกแบบพัฒนาพื้นที่ lost space เพื่อให้ตอบรับต่อบริบทของผู้คนในพื้นที่ และป้องกันไม่ให้พื้นที่ออกแบบกลับมาเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมถูกทิ้งร้างอีกครั้งนั้นนอกจากต้องคำนึงถึงความต้องการทางด้านกิจกรรมของผู้ที่เข้ามาใช้แล้วยังจำเป็นต้องศึกษาเรื่องอื่นๆร่วมด้วย เช่น ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน, การลักษณะเข้าถึงพื้นที่ และการสร้างคุณค่าของพื้นที่ให้กับคนในชุมชน ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วในการออกแบบพื้นที่ lost space นั้น ควรมีการวางแผนการจัดการไปพร้อมกับการสร้างเส้นทางคมนาคม เพื่อลดปัญหาและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ มากกว่าการปล่อยให้เกิดปัญหาจากพื้นที่ lost space แล้วจึงกลับมาแก้ปัญหาภายหลังen_US
Appears in Collections:ARC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf17.33 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.