Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. รุ้งลาวัลย์ สมสุนันท์-
dc.contributor.authorนรินญา ไม่น้อยen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:51:43Z-
dc.date.available2020-07-31T00:51:43Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69230-
dc.description.abstractPoly(lactic acid) (PLA) is a biodegradable polymer produced from renewable biomass. However, the problems of PLA are the mechanical brittleness and slow crystallization rate, inducing more difficult to control the process. The brittleness of PLA can be improved by adding other polymers such as poly(butylene succinate) (PBS). Polymer blends were prepared by using melt blending method and fabricated into thin sheets. It was found that the suitable ratio of PLA/PBS blend was 90/10 and the blend’s partially compatible. In addition, the result from SEM showed that the PBS at 20wt% in PLA was incompatible blend. The transparency decreased with increasing the PBS’s ratio. In this research, talc was used as a nucleating agent. It shows that the improvement of the crystallization rate of polymer can be achieved by the addition of nucleating agents. The differential scanning calorimetry (DSC) was used as a tool to characterize the thermal properties of polymer and to study the kinetic of polymer crystallization. The result from DSC showed that 0.1% of talc gave the highest percentage crystallinity. The thermogravimetric analysis (TGA) result was found that thermal stability increased as increasing the amount of talc. This shows similar results as the results from tensile strength and Young’s modulus. When percent of talc was 3%, the result from SEM showed that talc was incompatible blend. Isothermal crystallization kinetics was calculated by Avrami and Tobin equations to calculate the overall kinetic rate constant (K), growth dimension and type of nucleation from Avrami and Tobin constant (n) and half crystallization time (t1/2). The isothermal crystallization kinetic results indicated that the completion of the crystallization blending process at 100 oC showed the highest crystallization rate. The growth of crystallization was three dimensions with heterogeneous nucleation. Jeziorny and Ozawa equation were used to calculate non-isothermal crystallization kinetic. The crystallinity and crystallization rate of PLA/PBS blends were considerably enhanced by addition of talc. From all results, it was confirmed that talc affected on the properties of the blends and it shows the potential to be one of the candidate for crystallization process of PLA/PBS blends.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของทัลก์ที่เป็นสารก่อผลึกต่อจลนศาสตร์ของการเกิดผลึกและสมบัติของฟิล์มพีแอลเอ/พีบีเอส เบลนด์en_US
dc.title.alternativeEffect of Talc as a Nucleating Agent on Crystallization Kinetics and Properties of PLA/PBS Blended Filmsen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพอลิ(แลคติก แอซิด) (พีแอลเอ) เป็นพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ที่ผลิตได้จากชีวมวลที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พีแอลเอมีข้อเสียคือเปราะ แตกหักง่ายและมีอัตราการเกิดผลึกช้า ทำให้ยากต่อกระบวนการควบคุมการขึ้นรูป ซึ่งความแข็งเปราะสามารถปรับปรุงได้โดยการผสมกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น เช่น พอลิ(บิวทิลีนซักซิเนต) (พีบีเอส) พอลิเมอร์เบลนด์ถูกเตรียมด้วยเทคนิคการหลอมและขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์เบลนด์ ผลที่ได้พบว่าอัตราส่วนของพอลิเมอร์เบลนด์ที่เหมาะสมคือ 90/10 และมีความเข้ากันได้แบบบางส่วน นอกจากนี้ผลจากภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าปริมาณของพีบีเอสเท่ากับ 20% ในพีแอลเอไม่มีความเข้ากันได้ ค่าความใสลดลงเมื่ออัตราส่วนของพีบีเอสเพิ่มขึ้น ในการศึกษานี้ใช้ทัลก์เป็นสารก่อผลึก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงอัตราการเกิดผลึกของพอลิเมอร์สามารถทำได้โดยการเติมสารก่อผลึก ดิฟเฟอเรนเชียล สแกนนิ่ง แคลอริเมตริก (ดีเอสซี) ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสมบัติทางความร้อนของพอลิเมอร์และใช้ศึกษาจลนศาสตร์ของการเกิดผลึกของพอลิเมอร์ จากผลของดีเอสซีแสดงให้เห็นว่าปริมาณทัลก์ 0.1% โดยน้ำหนักพอลิเมอร์เบลนด์ ให้ร้อยละการเกิดผลึกที่สูงที่สุด นอกจากนี้ผลของการวิเคราะห์เทอร์โมกราวิเมตทริก (ทีจีเอ) พบว่าเสถียรภาพทางความร้อนเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณทัลก์เพิ่มมากขึ้น ผลที่ได้คล้ายกับผลจากการทดสอบความทนต่อแรงดึง ณ จุดขาด และค่ายังมอดูลัส เมื่อปริมาณของทัลก์เพิ่มขึ้นเป็น 3% โดยน้ำหนักพอลิเมอร์เบลนด์ ผลจากภาพถ่ายจากกล้องส่องจุลทรรศน์แบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าทัลก์ไม่มีความเข้ากันได้กับพอลิเมอร์เบลนด์ จลนศาสตร์ของการเกิดผลึกภายใต้สภาวะการให้ความร้อนที่อุณหภูมิคงที่ สมการของอัฟรามีและโทบินถูกใช้เพื่อคำนวณหาค่าคงที่อัตราจลนศาสตร์ รูปร่างและสภาวะการตกผลึกจากค่าคงที่ของอัฟรามีและ โทบินและเวลาครึ่งหนึ่งที่มีการเกิดผลึก ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเกิดผลึกเกิดขึ้นเร็วที่สุดที่ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ผลึกที่เกิดเป็นแบบ 3 มิติ และมีสภาวะของการตกผลึกแบบวิวิธพันธ์ สมการเจอร์ซิเออร์นีและออสซาวาถูกใช้ในการอธิบายการศึกษาจลนศาสตร์ของการเกิดผลึกภายใต้สภาวะการให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่คงที่ ปริมาณผลึกและอัตราการเกิดผลึกของพอลิเมอร์เบลนด์ พีแอลเอ/พีบีเอส ได้รับการปรับปรุงโดยการเติมทัลก์ จากผลที่ได้ทั้งหมดสามารถยืนยันได้ว่า ทัลก์มีผลต่อสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์เบลนด์และมีความสามารถเป็นหนึ่งในตัวแทนสำหรับกระบวนการเกิดผลึกของพอลิเมอร์เบลนด์พีแอลเอ/พีบีเอสen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.