Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รศ.น.สพ.ดร. สุวิชัย โรจนเสถียร | - |
dc.contributor.advisor | รศ.น.สพ.ดร. ประภาส พัชนี | - |
dc.contributor.advisor | ผศ.น.สพ.ดร. วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา | - |
dc.contributor.author | คณกร พินิจศร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-31T00:50:36Z | - |
dc.date.available | 2020-07-31T00:50:36Z | - |
dc.date.issued | 2015-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69218 | - |
dc.description.abstract | Milk production cost has been increased, causing dairy farmers got less net profit. Factors of milk production cost had been studied. Data of milk production cost were collected from 50 (direct-personal) farmers’ interview in 12 months consecutively. Data analyses with Logistic Regression and Student’s T-test were performed. The results demonstrated that the average milk production cost was 14.72±2.78 Baht/kg (Small farm’s milk production cost was 15.66±2.99 Baht/kg and Medium farm’s milk production cost was 13.27±1.56 Baht/kg) under the study period. Cost of milk production included variable cost 82.47±2.49% (50.37% was feed cost), fixed cost 16.98±0.78% and opportunity cost 0.55%. Farms with more milk production (in 305 days) and less calving interval had significantly lower in milk production cost. In addition, farms size, frequency to feed concentrate, body condition score, criterion to confirm adequacy of roughage intake, rumen acidosis, knowledge and time to first service knowledge were associated with milk production cost (p<0.05). Nevertheless, somatic cell counts, different cows’ proportion and total solids had no significant difference concerning milk production cost in this study (p>0.05). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ต้นทุนการผลิตน้ำนมของฟาร์มโคนมขนาดเล็กและขนาดกลางของสหกรณ์โคนมป่าตึงห้วยหม้อ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Cost of Milk Production from Small and Medium Dairy Farms in Patung Huaymor Cooperation Limited Chiang Mai and Lamphun Provinces | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ต้นทุนการผลิตน้ำนมโคมีการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกษตรกรมีกำไรลดลง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบในฟาร์มโคนมจึงได้ถูกดำเนินการ ด้วยการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิตน้ำนมและข้อมูลจากการสอบถามเกษตรกรโดยตรงจำนวน 50 ราย เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 12 เดือน โดยนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ทางสถิติด้วยการถดถอย โลจิสติก และ T-test พบว่า ต้นทุนการผลิตน้ำนมอยู่ในช่วง 14.72±2.78 บาทต่อกิโลกรัม (ต้นทุนฟาร์มขนาดเล็ก 15.66±2.99 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนฟาร์มขนาดกลาง 13.27±1.56 บาทต่อกิโลกรัม) โดยสามารถแบ่งได้เป็น ต้นทุนผันแปร 82.47±2.49% ต้นทุนคงที่ 16.98±0.78% และค่าเสียโอกาสในการลงทุน 0.55% โดยต้นทุนด้านอาหารเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดคือ 50.37% ฟาร์มที่มีประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมในช่วง 305 วันที่มากกว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมของกลุ่มที่ทำการศึกษา และฟาร์มที่มีระยะห่างระหว่างคลอดถึงคลอดน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม มีต้นทุนการผลิตที่น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) นอกจากนี้การศึกษาปัจจัย พบว่าขนาดฟาร์ม จำนวนครั้งในการให้อาหารข้น คะแนนร่างกาย หลักเกณฑ์ในการระบุว่าโคได้รับอาหารหยาบเพียงพอ ความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพาะเป็นกรด และความรู้เกี่ยวกับการกลับสัดหลังคลอด มีความสัมพันธ์ต่อต้นทุนการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ในการศึกษานี้ไม่พบว่า ปริมาณเซลล์โซมาติกในน้ำนม เปอร์เซ็นต์ของแข็งรวม และสัดส่วนฝูงแม่โค มีความสัมพันธ์ต่อต้นทุนการผลิต (P>0.05) | en_US |
Appears in Collections: | VET: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.