Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69202
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ดุรยา สุขถมยา-
dc.contributor.authorจิรารัตน์ นุภาพen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:48:17Z-
dc.date.available2020-07-31T00:48:17Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69202-
dc.description.abstractThis independent study aims to study the risk assessment in implementation of Industrial Solution Utilities of Provincial Electricity Authority Ko Kha district, Lampang province. This study applied in-depth interviews to collect data from fourteen heads of department in order to identify risk factors that could influence objective achievement of the organization. The collected data was subsequently used to develop a questionnaire guided by the conceptual framework of the study. Eighty participants, including heads of department, academicians, technicians and accountants, answered the questionnaire to assess the likelihood of risk occurrence and the range of risk impact. Risk factors were concluded by employing descriptive statistics, which involves frequency, percentage, mean, and descriptive narration. The results of this study reveal that the risk level was generally moderate and all components of information system were also at moderate risk level. In terms of the people component, even though risk level was moderate, having only one worker in each module was one of the high risk issues as the employees cannot work in place of one another. Pertaining to high risk factor, most workers had been using the previous work system for a long time which causes them to feel reluctant toward effectively utilizing the new system. Moreover, variation in seniority and qualification of each personnel caused learning and adjustment to the new system to vary as well. For the procedures and work instructions component, the risk level was moderate, and all of the risk issues were also at moderate risk level. The data component also had moderate risk level. The issue with high risk level was failure to check and input accurate data to the system causing having incorrect information in the system and negatively affected other continuous modules. For the software component, the risk level was moderate but high risk issues still found out. Using the system simultaneously nationwide causing system crashes and processing a large amount of data at a time prolonging data processing time. Another component that had moderate risk level was information technology infrastructure. The issue posing high risk level was limited number of personnel causing ineffective maintenance of computers, telecommunication equipment, and computer networks. Although the risk level of the issues related to internal controls and security measures was in a moderate range, issues with high risk level were pointed out. Insufficient user identifications (IDs) leading to work cessation or delay, limited number of user IDs for each department contributed to high risk level as it led to damages caused by employees of different departments sharing user IDs. Furthermore, limited number of user IDs also made it difficult to identify that which employees did it. For the risk prioritization of the six components of accounting information system revealed that software had highest risk level comparing to the other components. As the system is used simultaneously throughout the country, data processing could be congested or delayed. Consequently, the system should be frequently evaluated and developed in order to enhance its efficiency.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินความเสี่ยงการใช้ระบบงานสาธารณูปโภค ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeRisk Assessment in Implementation of Industrial Solution Utilities of Provincial Electricity Authority Ko Kha District, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการประเมินความเสี่ยงการใช้ระบบงานสาธารณูปโภคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้าแผนก จำนวน 14 คน เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิดในการศึกษา และได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากหัวหน้าแผนก นักวิชาการ พนักงานช่าง และพนักงานบัญชี จำนวน 80 คน เพื่อให้ทราบถึงระดับโอกาสเกิดความเสี่ยงและระดับความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยง และจะทำการสรุปหาความเสี่ยง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการบรรยายเชิงพรรณนา จากการศึกษา พบว่า ในภาพรวม ความเสี่ยงการใช้ระบบงานสาธารณูปโภคอยู่ในระดับปานกลาง และทั้ง 6 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ด้านบุคลากร มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ พนักงานในแต่ละระบบงานมีเพียงคนเดียว ไม่สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ พนักงานส่วนใหญ่คุ้นเคยกับระบบงานแบบเก่ามานาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานระบบใหม่ได้อย่างเต็มที่ และ พนักงานมีวัยวุฒิ และคุณวุฒิที่ต่างกัน ทำให้รับรู้และปรับตัวในการใช้ระบบงานได้ต่างกัน ด้านแนวทางการปฏิบัติและขั้นตอนการทำงาน มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และทุกประเด็นความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ด้านข้อมูล มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนการป้อนข้อมูลเข้าระบบ ทำให้ข้อมูลอาจผิดพลาด และเกิดความเสียหายต่อระบบงานอื่นที่ต่อเนื่องกันจากการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ ด้านซอฟต์แวร์ มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ มีการใช้งานระบบพร้อมกันทั่วประเทศ อาจทำให้การประมวลผลติดขัด และ การประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ ในครั้งเดียว ทำให้ต้องใช้เวลานานในการประมวลผล ด้านโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ดูแลระบบมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถดูแลคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ประกอบ และระบบเครือข่ายการเชื่อมโยงได้อย่างทั่วถึง ด้านการควบคุมภายในและการประเมินความปลอดภัย มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง ได้แก่ รหัสผู้ใช้ไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติงานไม่คล่องตัว เพราะมีรหัสผู้ใช้อย่างจำกัดสำหรับแต่ละแผนกจึงอาจเกิดความเสียหายจากการอนุญาตให้แผนกอื่นใช้ และ เพราะมีรหัสผู้ใช้อย่างจำกัดจึงยากต่อการตรวจสอบว่าเกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงานคนใด จากการจัดลำดับความเสี่ยงองค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์มีระดับความเสี่ยงสูงที่สุดเมื่อเทียบกับองค์ประกอบอื่น เนื่องจากมีการใช้งานระบบพร้อมกันทั่วทั้งประเทศ จึงอาจมีผลให้การประมวลผลติดขัดหรือล่าช้า ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการประเมินการใช้งานและปรับปรุงระบบอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.