Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69182
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรศ.ดร.ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์-
dc.contributor.advisorรศ.ดร.นิสิต พันธมิตร-
dc.contributor.authorณัฐภณ บุญรอดen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:45:58Z-
dc.date.available2020-07-31T00:45:58Z-
dc.date.issued2015-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69182-
dc.description.abstractThe background and significance of monks representing the Buddhist intitution in Thailand could be said to have begun after the revolution in 2006 when Thailand experienced an ideological split that kept expanding until there was the taking of different sides or colors among the monks and one of the groups came out openly, which caused the Thai society to question and criticize the role of monks and whether their movement was suitable as the rules and regulations of the Council of Buddhist Elders (Mahathera Council) stated that a monk shall not get involved in politics. According to the survey of the Office of National Buddhism in 2010, there were 251,997 monks in Thailand, of which 224,960 were of the Great Buddhist Sect (Mahanikaya) and 27, 037 of the Dhammayuttika. There were 26,463 temples: 167 royal temples, 26,256 community temples, of which 25,152 temples were of the Mahanikaya and 1,311 were of the Dhammayuttika. The Sangha Administration comprised 2 parts: the Central one and the Provincial one. The Central Administration was overseen by the Council of Elders. Monks are people who observe or practice the dhamma in a monastery, but in reality, monks and laymen are constantly interacting with one another as monks have to depend on laymen for a living as the Pali phrase says: “porapatiphuttha me chiwika” meaning “our (the monks’) living depends on others.” This is because their lives have to relate to others or the lay people. This study on “Participation Roles in Thai Politics of Monks in Chiang Mai Province” has the objective of studying the roles and attitude of monks in Chiang Mai concerning their political participation, the causes and forms of political participation as well as the benefits and the concept of taking sides in politics. This study on monks and politics investigated the agreement and disagreement of the duties according to the Dhamma and the participation roles of monks. It was discovered that “monks” had carried out their duties according to the Dhamma, or the Buddhist Doctrine, and it was the Dhamma that provided the channel for monks to become involved in politics. In some communities where development projects were introduced, monks would become involved usually as leaders or initiators, which caused monks to engage in many forms of politics such as television discussions, programs, protests, rallies, talking through loudspeakers while riding on a vehicle going around the community or getting on a stage in a forum discussion and so on. The survey conducted through a sample group showed a very high level of agreement about the political rights of monks. As for the monks’ roles in political participation in Chiang Mai, the monks’ opinions were mostly of two aspects. Some agreed with the monks’ participation in a peaceful way whereas some felt that monks should not become involved in politics and that they should act as advisors about virtue and ethics and how to conduct oneself. Some felt that they should apply the Dhamma to solve political problems and gave a chance to the monks to express their political views by applying the Dhamma to handle the country’s administration. Information about the levels of knowledge and opinions and the monks’ participation and political rights showed that monks need to acquire the knowledge and skills in political communication related to communication methods and systems of SMCR (Source, Message, Channel and Receiver) as well as being open minded to listen to the state, leaders or politicians with a meritorious thought since a monk is both a priest and a citizen under the same laws of the country. In the future monks should play the role of helping the state make a “good person” in a religious dimension to be a “good citizen” of the country and the world. In principle, Buddhism can support such a development whether in terms of the 4 principles of social harmony: charity, kind speech, helpfulness, fairness; or in terms of honesty, respect, loving kindness and peacefulness. A monk should teach about the Dhamma related to politics, especially that related to admirable actions, righteousness and justice in administration. They should teach politicians or leaders to be righteous in their governance for the benefit and happiness of the people. When monks demand their political rights, we need to study the monks’ duty along with the duty according to the Dhamma and Monks’ Principles, including the intention of the constitution law concerning forbidding monks, novices to vote. Suggestions for this study include education where the government and the people promote education for monks to understand about democracy with the king as the head of state so they can teach other people about political ethics. Monks have freedom to express their political beliefs since the Dhamma does not forbid it, but their political expression has to be based on the principle of “for the benefit and happiness of the society” while being impartial and abiding in the Dhamma or righteousness and serve as the providers of wisdom to the society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleบทบาทการมีส่วนร่วมในการเมืองไทยของพระภิกษุสงฆ์ ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeParticipative Roles in Politics of Monks in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractที่มาและความสำคัญของปัญหาพระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาหลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อปี พ.ศ. 2549 สังคมไทยได้เกิดความแตกแยกด้านความคิดอย่างหนักและเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบ่งออกเป็นสีโน้นสีนี้วงการศาสนาจนทำให้มีกลุ่มพระสงฆ์ จำนวนหนึ่งออกมาเรียกร้องอย่างเปิดเผย ทำให้สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทของพระสงฆ์ ต้องการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ระเบียบมหาเถรสมาคมระบุไว้ชัดเจนห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปี 2553 พบว่า ทั่วประเทศมีพระสงฆ์ จำนวน 251,997 รูป แบ่งเป็นมหานิกาย 224,960 รูป ธรรมยุต จำนวน 27,037 รูป มีวัดทั้งสิ้น 26,463 วัด เป็นวัดหลวง 167 วัด วัดราษฎร์ 26,256 วัดสังกัด มหานิกาย 25,152 วัด วัดธรรมยุทธ 1,311 วัด แบ่งรูปแบบการปกครองพระสงฆ์ออกเป็น 2 ส่วนคือ การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางกับการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนกลางเป็นหน้าที่ของเถระสมาคม พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาคือผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่แต่ในอารามนั้น ในความเป็นจริง พระสงฆ์มีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์อยู่เสมอ เพราะปัจจัยการดำรงชีพของพระขึ้นอยู่กับชาวบ้าน ดังพระบาลีที่ว่า “ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา” แปลว่า การเลี้ยงชีพของเรา (พระ) เนื่องด้วยผู้อื่น ด้วยชีวิตที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นที่เป็นชาวบ้าน การศึกษาเรื่อง “บทบาทการมีส่วนร่วมในการเมืองไทยของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาท และทัศนคติ ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองสาเหตุของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมทางการเมือง แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่ม ข้าง และขั้วทางการเมืองการค้นคว้าพระสงฆ์กับการเมือง ซึ่งศึกษาถึงความสอดคล้องและไม่สอดคล้องระหว่างหน้าที่ตามพระธรรมวินัยกับบทบาทที่ได้แสดงออกในทางการเมืองผลการวิจัยพบว่า "พระสงฆ์" ได้ทำหน้าที่ตามพระธรรมวินัยและแนวทางที่มีใน พระธรรมวินัยนั่นเองเป็นช่องทางที่ทำให้พระสงฆ์เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง จะเห็นได้ว่าในชุมชนชนบทบางแห่ง เมื่อมีงานพัฒนาเข้าไปถึงชุมชน พระสงฆ์ในชุมชนจะเข้าไปร่วมงาน อาจจะเป็นผู้นำในความคิดริเริ่มทำให้พระสงฆ์ออกมามีบทบาททางการเมืองในรูปแบบต่างๆ กันไป เช่น การอภิปรายทางรายการทีวี การชุมนุมประท้วง การชุมนุมเรียกร้อง การนั่งบนรถเครื่องเสียงอภิปราย การขึ้นเวทีร่วมอภิปราย เป็นต้น จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่าระดับด้านความคิดเห็น เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ในระดับค่าเฉลี่ย ความหมายอยู่ในระดับ มากบทบาทของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความเห็นแบ่งออกเป็นสองด้านกล่าวคือ ในด้านที่เห็นด้วยกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เห็นว่า พระสงฆ์สามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมืองได้ แต่ควรแสดงความคิดเห็นในทางสันติวิธีด้านทัศนคติของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นมีความเห็นที่แตกต่างเช่นกันกันกล่าวคือ ในด้านที่เห็นด้วยกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เห็นว่า พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนั้นเป็นสิ่งดีที่สุดแต่ควรจะอยู่ในฐานะผู้ที่คอยให้คำแนะนำปรึกษาแนะนำในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และการครองตนที่ดี และในอีกด้านหนึ่งเห็นว่าควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาทางการเมืองและควรเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง โดยใช้ธรรมะในการช่วยบริหารกิจการบ้านเมืองข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ระดับความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์พบว่าในด้านการรับรู้พระสงฆ์จำเป็นต้องเรียนรู้ และมีทักษะในการสื่อสารทางการเมือง โดยเข้าใจวิธีการและกระบวนการสื่อสารทั้งระบบตามหลัก SMCR ประกอบด้วย ผู้ส่ง (Source) ข้อมูลข่าวสาร (Message) ช่องทางในการส่ง (Channel) และผู้รับ (Receiver) และ การเปิดใจ (Open Mind) รับฟังจากรัฐ ผู้นำ หรือนักการเมืองด้วยใจที่เป็นกุศลแม้ว่าพระสงฆ์จะเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา แต่ในอีกบทบาทหนึ่งนั้น พระสงฆ์ถือว่าเป็นพลเมืองของประเทศชาติ และอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศเช่นเดียวกัน แนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้น พระสงฆ์จึงควรที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในการช่วยรัฐพัฒนา “คนดี” ในมิติของศาสนา ให้กลายเป็น “พลเมืองที่ดี” ของประเทศชาติ และของโลก ซึ่งหลักการในพระพุทธศาสนาเอื้อต่อแนวทางในการพัฒนาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นหลักสังคหวัตถุธรรม หลักสุจริตธรรม หลักคารวธรรม หลักเมตตาธรรม และหลักสันติธรรมพระสงฆ์ควรมีการแนะนำสั่งสอนธรรมเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะการแสดงหลักการปกครองที่ดีงามชอบธรรมและเป็นธรรม สอนให้นักการเมืองหรือผู้ปกครองเป็นนักการเมืองหรือผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม ดำเนินกิจการการเมืองและปกครองโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของผู้อยู่ใต้ปกครองเมื่อพระสงฆ์ออกมาเรียกร้องสิทธิทางการเมืองแล้ว เราจะต้องศึกษาถึง หน้าที่ของพระสงฆ์ ควบคู่กันไปด้วย คือ หน้าที่โดยธรรมโดยวินัยของพระสงฆ์ รวมไปถึงศึกษาเจตนารมณ์ของการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามไม่ให้ พระภิกษุ สามเณร นักบวช ออกเสียงเลือกตั้ง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ภาครัฐและประชาชนควรส่งเสริมด้านการศึกษาของพระสงฆ์ให้ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขเพื่อพระสงฆ์จะได้นำความรู้มาช่วยในการอบรมสั่งสอนและปลูกฝังจิตใต้สำนึกทางด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองให้แก่ประชาชนพระภิกษุสงฆ์มีเสรีภาพที่จะแสดงออกทางการเมืองได้เพราะพระธรรมวินัยไม่ได้ห้ามเอาไว้แต่ทั้งนี้การแสดงออกทางการเมืองของพระภิกษุสงฆ์ไม่ว่าทางใด ต้องยึดหลักการที่ว่า “เพื่อประโยชน์และความสุขของคนเป็นจำนวนมาก” โดยการดำรงตนเป็นกลางต่อทุกฝ่ายยึดธรรมะคือความถูกต้องดีงามเป็นที่ตั้งและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมโดยการเป็นสติปัญญาให้กับสังคม  en_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.