Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69180
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์พรทิพย์ เธียรธีรวิทย์-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ-
dc.contributor.authorอนุชา คำมาen_US
dc.date.accessioned2020-07-31T00:45:44Z-
dc.date.available2020-07-31T00:45:44Z-
dc.date.issued2015-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69180-
dc.description.abstractThis research had the objective of studying the saving patterns and factors affecting the saving of the informal workers in Hang Dong District, Chiang Mai Province. There were 6 patterns of savings: with a commercial bank or a specific purpose bank, with the funeral welfare group, a community savings group, the social security by Section 40, chit funds and buying insurance. Questionnaires were distributed to a sample group of 320 informal workers in the research location, 80 people who worked in business, construction, general hired laborers and agriculture. The data was analyzed by descriptive statistics and the factors affecting the saving were weighed by the Likert Scale. The study results showed that most of the sample were female, 38 years old on average, married, having a primary education or vocational education certificate with an income between 10,000 -15,000 Baht per month or an average of 10,489 Baht a month. Most of them made a savings deposit with a commercial or specific purpose bank, an average of 5,615 Baht per person per month. The factors influencing their saving the most was for emergency need followed by advertisement or promotion of some financial institutes. The funeral welfare fund was also popular, where 245 of the workers in the sample group paid a monthly average of 110 Baht per person per time owing to the factor that they could get money from the fund for their funeral expenses followed by getting some welfare money for their family members after they died. Moreover, 112 people in the sample group made a saving with the community savings group of 1,350 Baht per person on average mainly to get a loan privilege, followed by savings for emergency need. In addition, 47 people in the sample group bought insurance at an average of 1,485 Baht per person mainly for life protection and for certain benefits respectively. At the same time 45 of the workers joined the social security program according to Section 40 with the top factor or incentive being saving for their use in old age followed by being entitled to some basic privileges provided by the government. And 39 people engaged in a chit fund in which each had to pay about 659 Baht per the agreed cycle mainly due to being persuaded by the leader or manager of the group followed by wanting to make a profit from the arrangement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleรูปแบบการออมของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSaving Patterns of Informal Workers in Hang Dong District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออม และปัจจัยที่มีผลต่อการออมในแต่ละรูปแบบของแรงงานนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย 6 รูปแบบ คือ การออมกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจ การออมกับกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ การออมในชุมชน การออมกับประกันสังคม มาตรา 40 การเล่นแชร์ การทำประกันชีวิต โดยวิธีการใช้แบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบคือแรงงานที่พำนักอาศัย หรือ เข้ามาทำงานในพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แยกตามกลุ่มอาชีพ 4 อาชีพ คือ ผู้ที่ค้าขาย ผู้ที่ทำงานก่อสร้าง ผู้ที่รับจ้างทั่วไป และ ผู้ที่เป็นเกษตรกร จำนวนอาชีพละ 80 คน รวมเป็น 320 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการให้น้ำหนักของปัจจัยที่มีผลต่อการออมจะใช้มาตราวัดของลิเคิทสเกล ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษามัธยมศึกษา ปวช. และ ประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 15,000 บาท ต่อเดือนเฉลี่ยรวม 10,789 บาท/คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน ทุกคนมีการออมกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจมากกว่ารูปแบบอื่นๆ โดยทำการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจมีมูลค่าการออมเฉลี่ยรวม 5,615 บาทต่อคน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการออมกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจ อันดับที่ 1 คือ การเก็บไว้ในยามฉุกเฉิน รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ยังทำการออมในรูปแบบของการเป็นสมาชิกกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 245 คน ทำการออมกับกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมีการชำระเงินค่าฌาปนกิจสงเคราะห์เฉลี่ยคนละ 110 บาทต่อครั้ง ซึ่งปัจจัยที่มีต่อการออมกับกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์อันดับที่ 1 คือ การได้รับเงินสงเคราะห์ในการประกอบพิธีฌาปนกิจ รองลงมา คือ การได้รับเงินสงเคราะห์แก่ครอบครัวสมาชิก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 112 คน ทำการออมในชุมชนมีมูลค่าการออมเฉลี่ยคนละ 1,350 บาท ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการออมในชุมชน อันดับที่ 1 คือ การได้รับสิทธิการกู้เงิน รองลงมา คือ การเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 47 คน ทำการออมกับประกันชีวิต โดยมีการชำระค่าเบี้ยประกันเฉลี่ยคนละ 1,485 บาท ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการออมกับประกันชีวิต อันดับที่ 1 คือ การได้รับการคุ้มครองชีวิต รองลงมา คือ การได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนตามแผนประกัน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน ทำการออมกับประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการออมกับประกันสังคม มาตรา 40 อันดับที่ 1 คือ การเก็บไว้ใช้ในยามชราภาพ รองลงมา คือ การได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานจากรัฐ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 39 คน ทำการเล่นแชร์ โดยมีการส่งค่าแชร์ต่องวดเฉลี่ย 659 บาท ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเล่นแชร์ อันดับที่ 1 คือ การแนะนำชักชวนจากคนที่เป็นท้าวแชร์ รองลงมาคือ การได้รับผลตอบแทนจากเปียแชร์en_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.