Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorDr. Siriporn Chaisri-
dc.contributor.authorWachirachai Sakapaen_US
dc.date.accessioned2020-07-30T01:24:42Z-
dc.date.available2020-07-30T01:24:42Z-
dc.date.issued2014-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69171-
dc.description.abstractKhorat Plateau in eastern part of Sakhon Nakhon basin had been examined to exhume Pre-Khorat aspects via integrated magnetic and gravity data with seismic reflection and exploratory well data. Qualitative and quantitative interpretations have been carried out simultaneously. For qualitative interpretation, the derivative techniques including horizontal derivative in x and y directions, total horizontal derivative, vertical and second order vertical derivatives, analytic signal, tilt derivative and total horizontal derivative on tilt derivative have been employed. The qualitative interpretation solution provides magnetic and gravity anomalous patterns. The magnetic anomaly patterns represent the depth of magnetic sources whereas gravity anomaly patterns roughly indicate the lithology of Pre-Khorat Group. For quantitative interpretation, two sections of 2D forward modeling on residual magnetic and completed Bouguer data have been carried out. The constraint depth of ensemble sources is derived from spectral analysis and subsurface information. The resultant models display subsurface geological aspect of study area. The aeromagnetic data interpretation based on reduction to the pole and its derivatives collaborate with spectral analysis suggests basement form as irregular surface with occasional fault. The derivative techniques are also applied on gravity complete Bouguer map which provided the recognition of four gravity patterns correlated with seismic reflection section. This shows that the west gravity high underneath Phu Phan Ranges coincides with Permian carbonate platform and clastic of Saraburi Group. The moderate to high gravity patterns represent the outlining distribution of Triassic basin on high density basement. The low to moderate gravity patterns indicate Nong Khai High Basement which is not homogeneous texture. The NW trending patterns of low to moderate gravity units suggests that it is possible either sedimentary or metamorphic overly on basement. Last, from Forward modeling of potential field data suggests that the low gravity anomaly pattern with long wavelength may be caused by magnetic basement thickness increasing into middle crust.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleGEOLOGICAL MODEL OF PRE-KHORAT GROUP IN EASTERN PART OF SAKHON NAKHON BASIN USING GRAVITY AND MAGNETIC DATAen_US
dc.title.alternativeแบบจำลองธรณีวิทยาของชั้นหินก่อนกลุ่มหินโคราชด้านตะวันออกของแอ่งสกลนครโดยใช้ข้อมูลความโน้มถ่วงและสนามแม่เหล็กen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractที่ราบสูงโคราชในบริเวณตะวันออกของแอ่งสะสมตะกอนสกลนคร ได้รับการวิเคราะห์เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะธรณีวิทยาก่อนกลุ่มหินโคราช จากการแปลความหมายร่วม โดยใช้ข้อมูลสนามแม่เหล็กและความโน้มถ่วงโลก ร่วมกับข้อมูลไหวสะเทือนแบบสะท้อนและหลุมเจาะสำรวจ การแปลความหมายในเชิงคุณภาพและปริมาณได้ดำเนินการไปพร้อมกัน สำหรับการแปลความหมายเชิงคุณภาพ กลวิธีแบบอนุพันธ์ ซึ่งประกอบด้วย อนุพันธ์แนวราบในทิศทาง x และ y อนุพันธ์แนวราบรวม อนุพันธ์แนวดิ่งลำดับที่หนึ่งและสองการทำสัญญาณวิเคราะห์ อนุพันธ์มุมเอียง และอนุพันธ์แนวราบของอนุพันธ์มุมเอียง ได้ถูกนำมาใช้งาน ผลการแปลความหมายเชิงคุณภาพให้รูปแบบค่าผิดปกติสนามแม่เหล็กและความโน้มถ่วง โดยรูปแบบค่าผิดปกติสนามแม่เหล็กแสดงความลึกของต้นกำเนิดค่าสนามแม่เหล็ก ในขณะที่รูปแบบค่าผิดปกติความโน้มถ่วงบ่งบอกลักษณะชนิดหินก่อนกลุ่มหินโคราชโดยสังเขป สำหรับการแปลความหมายเชิงปริมาณนั้น ได้ทำการสร้างแบบจำลองสองมิติแสดงเป็นภาคตัดขวางสองแนว จากข้อมูลค่าผิดปรกติสนามแม่เหล็กและค่าผิดปกติบูเกอร์สมบูรณ์ โดยเงื่อนไขบังคับข้อจำกัดความลึกของกลุ่มต้นกำเนิดได้จากการวิเคราะห์สเปคตรัมและข้อมูลใต้ดิน แบบจำลองที่ได้แสดงลักษณะธรณีวิทยาใต้ดินของพื้นที่ศึกษา การแปลความหมายข้อมูลแม่เหล็กทางอากาศ อยู่บนพื้นฐานข้อมูลการลดทอนสู่ขั้วแม่เหล็กโลกและอนุพันธ์ของข้อมูล ร่วมกับ การวิเคราะห์สเปคตรัม แสดงให้เห็นว่าหินฐานมีลักษณะพื้นผิวไม่สม่ำเสมอและบางบริเวณมีรอยเลื่อน กลวิธีการอนุพันธ์ยังนำมาใช้กับแผนที่ความโน้มถ่วงบูเกอร์สมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นสี่ลักษณะรูปแบบค่าผิดปกติความโน้มถ่วงที่เทียบเคียงกับภาคตัดขวางคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อน พบว่า รูปแบบค่าความโน้นถ่วงสูงด้านตะวันตกใต้บริเวณเทือกเขาภูพานตรงกับบริเวณหินฐานคาร์บอเนตและหินตะกอนเนื้อเม็ดอายุเพอร์เมียนของกลุ่มหินสระบุรี รูปแบบค่าความโน้มถ่วงปานกลางถึงสูงแสดงขอบเขตการกระจายตัวของแอ่งสะสมตะกอนอานุไทรแอสสิกบนหินฐานที่มีความหนาแน่นสูง รูปแบบค่าความโน้มถ่วงต่ำถึงปานกลางบ่งบอกถึงบริเวณหินฐานหนองคายที่ไม่ได้เป็นหินเนื้อเดียว รูปแบบค่าความโน้มถ่วงต่ำถึงปานกลางที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสที่จะเป็นหินตะกอนหรือหินแปรวางตัวบนหินฐาน ท้ายที่สุด จากการสร้างแบบจำลองของข้อมูลสนามศักย์แสดงให้เห็นว่าค่าความผิดปกติความโน้มถ่วงต่ำที่มีลักษณะความยาวคลื่นยาวน่าจะมีสาเหตุจากความหนาหินฐานที่เพิ่มขึ้นเข้าไปในชั้นเปลือกโลกตอนกลางen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf16.61 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.