Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69133
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร. ชูชีพ พุทธประเสริฐ-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ยงยุทธ ยะบุญธง-
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ คำมะยอมen_US
dc.date.accessioned2020-07-27T07:59:20Z-
dc.date.available2020-07-27T07:59:20Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69133-
dc.description.abstractThis independent study has 2 objectives which are 1) to study the conditions, problems and suggestion on Knowledge Management in Educational Institutions Under the Secondary Educational Service Area Office 35, Lamphun Province 2) to compare the condition Knowledge Management in Educational Institutions Under the Secondary Educational Service Area Office 35, Lamphun Province Separate form the size of school the sample for this study was 15 school for administrators, teacher who work in a school in 2014 of Lamphun Secondary Educational Service Area Office 35. The tools used in this study was Questionnaire and analyzed by using average and standard deviation and one way ANOVA. From the study, it found that the problem condition Knowledge Management in Educational Institutions Under the Secondary Educational Service Area Office 35, Lamphun Province are good. Separate by school found good too. The Separate form the size of school by compare for Knowledge Management in School found good and the statistically significant had 0.1, so in the bolt found The knowledge indicator, making and searching knowledge, managing knowledge system, codifying and screening knowledge, approaching knowledge, and learning, the statistically significant had 0.1 and exchanging various knowledge the statistically significant had 0.5. The result of compare with Knowledge Management in Educational Institutions pare found the all school had Knowledge Management in School. In the large school and small school had different statistically significant 0.5, the large school and medium school had different statistically significant 0.5 but medium school and small school had no statistically significant 0.5. The problem for Knowledge Management in Educational Institutions are don’t have plan, checking evaluation of knowledge management, technology in preparation for a knowledge database system, supervision, checking for documentation regularly, no meeting or forum to share knowledge with each other, budget for innovation in school. The suggestion were that the school personnel to understand the purpose of knowledge management, planning , supervision, checking and evaluation knowledge management, the appointment of a committee to oversee the auditing, checking regularly, support the use of technology in the development of knowledge and the preparation of a database system, data center personnel can search and access information through multiple channels more, meeting or a forum for people to share knowledge with each other regularly and administrators should create an atmosphere and motivating to learn in school, budget support in the knowledge to create innovative applications of school personnel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeKnowledge Management in Educational Institutions Under the Secondary Educational Service Area Office 35, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำพูน จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 263 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า สภาพการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จังหวัดลำพูนทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน สำหรับการเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบ่งชี้ความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการจัดความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ และด้านการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 ผลทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของสภาพการจัดการความรู้ในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่มีการดำเนินการจัดการความรู้ในโรงเรียนมากที่สุด ค่าเฉลี่ยสภาพการจัดการความรู้ในโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดเล็ก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และค่าเฉลี่ยสภาพการจัดการความรู้ในโรงเรียนขนาดใหญ่กับโรงเรียนขนาดกลาง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยสภาพการจัดการความรู้ในโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลางมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ปัญหาการจัดการความรู้ในสถานศึกษา ได้แก่ โรงเรียนขาดการวางแผนกำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการความรู้ ขาดการสนับสนุนแหล่งความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดทำฐานข้อมูลความรู้ให้เป็นระบบ ขาดการนิเทศ กำกับ ติดตาม การจัดทำเอกสารอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการจัดประชุมหรือเวทีให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และยังขาดการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการสร้างนวัตกรรม ข้อเสนอแนะ คือ โรงเรียนควรประชุมบุคลากรเพื่อทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ วางแผนการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลกิจกรรมการจัดการความรู้ให้ชัดเจน มีการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการนิเทศ ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม อย่างสม่ำเสมอ ควรสนับสนุนงบประมาณในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาแหล่งความรู้ให้ทันสมัย และจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นระบบ มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเพียงพอต่อความต้องการใช้งานของบุคลากร มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลให้บุคลากรสามารถสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ควรมีการจัดประชุมหรือมีเวทีให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ และผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ในโรงเรียน สนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากรในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างเป็นนวัตกรรมของบุคลากรในโรงเรียนen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.