Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. วรรณัย สายประเสริฐ-
dc.contributor.authorอภิชญาฏ์ หุตะวรากรen_US
dc.date.accessioned2020-07-24T08:41:43Z-
dc.date.available2020-07-24T08:41:43Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69088-
dc.description.abstractThe objective of this research was to study marketing mix that affected consumer decision towards the purchasing of ready-to-wear local cotton clothing from shops in Mueang Chiang Mai District. The analysis was based on the 4P factors namely product, price, place and promotion. The data was collected from 300 customers who had bought finished local cotton garments in Meaung Chiang Mai District in the past year. The data was analysed using frequency, percentage, and mean, as well as inferential statistics namely Independent Sample t-test and One-way ANOVA. The results of the study showed that most of the questionnaire respondents were female, 21-30 years old, single. Most were employees with monthly income of 10,001-20,000 baht. Most had Bachelor’s degree. The type of cotton garment they bought the most was blouses, and they spent less than 1,000 baht for each purchase. They bought cotton garments once a year, mostly during weekends, between 13:00-17:00 hrs. The most favourite place to buy cotton garments was Waroroj Market. Mostly they went to buy at the market themselves, and they used cash for the purchase. The information about the 2 groups of buyers were as follows. Retail customers spent 1,000 baht or less at each visit. They bought cotton garments once a year, during weekends, and after 17:00 hrs. Whole-sale customers spent more than 5,000 baht at a visit, and bought monthly, between Mondays to Fridays, at 12:00-17:00 hrs. From the study of marketing mix, it was found that the respondents ranked all factors at the high level, in the following order, with the highest ranked sub-factor for each: product, the fabric was comfortable to wear; price, the price matched the quality; place, the place was in a convenient location; and promotion, the salespeople were friendly. When analysing the data based on the differences in gender, age, type of garments purchased, and spending, it was found that market mix influenced their decision making differently in some of the sub-factors at the significance level of 0.05 .en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายจากร้านค้าในอำเภอเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeMarketing Mix Affecting Consumer Decision Towards Purchasing of Ready-to-wear Local Cotton Clothing from Shops in Mueang Chiang Mai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายจากร้านค้าในอำเภอเมือง เชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด (4P) ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภคที่เคยซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายจากร้านค้าในอำเภอเมือง เชียงใหม่ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยการใช้สถิติทดสอบที (Independent Sample t – test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด อาชีพลูกจ้าง/พนักงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประเภทสินค้าที่เลือกซื้อ ส่วนใหญ่คือ เสื้อ โดยมูลค่าในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายโดยเฉลี่ยต่อครั้ง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 บาท มีความถี่ในการซื้ออยู่ที่ปีละ1 ครั้ง วันที่มาเลือกซื้อส่วนใหญ่เป็นวัน เสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 13.00-17.00 น. แหล่งที่เลือกซื้อ คือ ตลาดวโรรส รูปแบบการสั่งซื้อโดยส่วนใหญ่จะมาเลือกซื้อเอง และมีการชำระเงินแบบเงินสด เป็นส่วนใหญ่ เมื่อจำแนกผู้ตอบแบบสอบถามตามประเภทการซื้อ พบว่าผู้ซื้อประเภทปลีก ส่วนใหญ่ มีมูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อครั้ง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 บาท โดยมีความถี่ในการซื้อเป็นแบบรายปี และจะเลือกซื้อในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เวลาหลัง 17.00 น. สำหรับผู้ซื้อประเภทส่ง ส่วนใหญ่ มีมูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อครั้ง มากกว่า 5,000 บาท โดยมีความถี่ในการซื้อเป็นแบบรายเดือน และจะเลือกซื้อในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 12.00-17.00 น. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ตอบแบบสอบถามในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้ายจากร้านค้าในอำเภอเมือง เชียงใหม่ ในระดับมากทุกปัจจัย โดยเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ลำดับแรกคือ ชนิดเนื้อผ้าสวมใส่สบาย ด้านราคา ลำดับแรกคือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ลำดับแรกคือ ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการเดินทาง และด้านการส่งเสริมการตลาด ลำดับแรกคือ เจ้าของหรือพนักงานขาย บริการและมีอัธยาศัยดี ตามลำดับ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกตามเพศ อายุ ประเภทการซื้อ และมูลค่าการซื้อ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจในการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองผ้าฝ้าย แตกต่างกันในบางปัจจัยย่อยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.