Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69053
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.ดุรยา สุขถมยา | - |
dc.contributor.author | พิณพญา วรัญญานุไกร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-23T06:10:08Z | - |
dc.date.available | 2020-07-23T06:10:08Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69053 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this independent study aimed at analyzing The Readiness of Audit Firms in Chiang Mai Province Towards Implementing Thai Standard on Quality Control 1. Data collection were carried out by distributing questionnaires to 43 certified public accountants (CPAs) in Chiang Mai. Descriptive statistics such as frequency, percentage and mean were used to analyze the data. In addition, Cross-Tabulation analysis was applied in order to find out frequency and relationship between each group of variables. The study found that the majority of respondents were female, aged between 30 to 40 years old, master degree graduated, operated business between 11 to 20 years as a proprietor audit firm and have a certified public accountant. All respondents operated business for provide in the auditing of financial statement. Most of CPAs have 3 to 5 assistant auditors. The recruitment of assistant auditors was considered from academic record. For the acceptance and retention of clients, All CPAs considered based on audit fees. Most of CPAs know the Thai Standard on Quality Control 1 from Federation of Accounting Professions under the Royal Patronage of His Majesty the King. With regards to readiness for complying with the quality control for audit work, most audit firm owners and freelance auditors were at a high level of readiness to comply with the quality control for audit work in five elements of a system of quality control: relevant ethical requirements, acceptance and continuance of client relationships and specific engagements, human resources, engagement performance and monitoring also part of documentation of the system of quality control. Regarding the element in leadership responsibilities for quality control within the firm, most audit firm owners were at a high level of readiness but freelance auditors were at a medium level of readiness to comply with requirements. With regards to complying with the quality control for audit work, all audit firm owners and freelance auditors comply with the quality control for audit work about documentation of the system of quality control. Most of them comply with the requirements of five elements of a system of quality control: relevant ethical requirements, acceptance and continuance of client relationships and specific engagements, human resources, engagement performance and monitoring. Regarding the element in leadership responsibilities for quality control within the firm, most audit firm owners comply with the requirements but freelance auditors comply with requirements and disassociate in the same proportion. In summary, small audit firms that have a certified public accountant and freelance auditors that are ready to comply with the quality control for audit work less than an audit firms that have more than one CPA. Therefore, the related institutions should improve knowledge and understanding related to complying with the quality control for audit work by focusing on small audit firms and freelance auditors. It is a guideline to CPAs to practice in Thai Standard on Quality Control 1. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความพร้อมของสำนักงานสอบบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการนำมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 มาปฏิบัติ | en_US |
dc.title.alternative | Readiness of Audit Firms in Chiang Mai Province Towards Implementing Thai Standard on Quality Control 1 | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของสำนักงานสอบบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการนำมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 มาปฏิบัติ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 43 คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางการแจกแจงความถี่แบบสองทาง (Cross-Tabulation) เพื่อหาความถี่และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการวิเคราะห์แยกตามกลุ่มของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 40 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ปฏิบัติงานสอบบัญชีในลักษณะสำนักงานสอบบัญชีเป็นระยะเวลาระหว่าง 11 – 20 ปี โดยผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานในลักษณะสำนักงานสอบบัญชีส่วนใหญ่เป็นเจ้าของสำนักงาน ซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจำนวน 1 คน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีการให้บริการด้านการตรวจสอบงบการเงิน ส่วนใหญ่มีผู้ช่วยผู้สอบบัญชีระหว่าง 3 – 5 คน โดยผู้สอบบัญชีที่มีผู้ช่วยผู้สอบบัญชีทั้งหมดมีการสรรหาผู้ช่วยผู้สอบบัญชีโดยพิจารณาจากประวัติการศึกษา ผู้สอบบัญชีทั้งหมดมีการตอบรับงานหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยพิจารณาจากค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี โดยส่วนใหญ่ทราบเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 จากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านความพร้อมในการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี พบว่า ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานทั้งในลักษณะสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีอิสระส่วนใหญ่มีความพร้อมในการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีในระดับมากใน 5 องค์ประกอบของระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่ ด้านข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง ด้านการตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานที่มีลักษณะเฉพาะ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการติดตามผล รวมถึงด้านการจัดทำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับระบบการควบคุมคุณภาพ แต่ในส่วนขององค์ประกอบด้านความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพภายในสำนักงาน ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานในลักษณะสำนักงานสอบบัญชีส่วนใหญ่มีความพร้อมในระดับมาก ส่วนผู้สอบบัญชีอิสระส่วนใหญ่มีความพร้อมในระดับปานกลาง ด้านการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี พบว่า ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานทั้งในลักษณะสำนักงานสอบบัญชีและผู้สอบบัญชีอิสระทั้งหมดมีการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีด้านการจัดทำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับระบบการควบคุมคุณภาพ โดยส่วนใหญ่มีการปฏิบัติใน 5 องค์ประกอบของระบบการควบคุมคุณภาพ ได้แก่ ด้านข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง ด้านการตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานที่มีลักษณะเฉพาะ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการติดตามผล แต่ในส่วนขององค์ประกอบด้านความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพภายในสำนักงาน ผู้สอบบัญชีที่ปฏิบัติงานในลักษณะสำนักงานสอบบัญชี ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติ ส่วนผู้สอบบัญชีอิสระส่วนใหญ่มีการปฏิบัติและมีผู้สอบบัญชีที่เห็นว่า ไม่เกี่ยวข้องในสัดส่วนที่เท่ากัน สรุปได้ว่า สำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กที่มีผู้สอบบัญชีจำนวน 1 คน และผู้สอบบัญชีอิสระ มีความพร้อมและมีการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีในภาพรวมน้อยกว่าสำนักงานที่มีผู้สอบบัญชีมากกว่า 1 คน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการอบรมถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี โดยเฉพาะสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กและผู้สอบบัญชีอิสระ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีมีแนวทางในการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.