Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.รวี ลงกานี-
dc.contributor.authorพิชิต คำเขื่อนen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T06:07:08Z-
dc.date.available2020-07-21T06:07:08Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69001-
dc.description.abstract“A Feasibility Study for Investment in Corn Core Charcoal Briquettes Production in Chiang Mai Province” concentrated on 5 aspects namely environment and economics, marketing, technique, management and finance. The primary sources of the data collection were from handling out questionnaires to entrepreneurial buyers of charcoal briquettes including 10 BBQ restaurants and 30 BBQ stalls in Chiang Mai Province. It was noted that Interviews and questionnaires were used together during the data collection. In addition, in-depth interviews were conducted with corn core charcoal briquette manufacturers. 2 samples were purposively selected. Besides, the secondary data were collected from academic and commercial articles on the internet and related books, journals, publications and researches. The result could be summed up in the form of the financial statement which enabled the project to be assessed and decided to invest in under the assumption of acceptable rate of Internal Rate of Return greater than Weighted Average Cost of Capital: WACC at 11.00% and payback period within 5 years. According to the study, it was found that factors affecting corn core charcoal briquette buying decision were as follows: the product featuring long usability period, the price being stable, the distribution channels being convenient and the delivery service promotion being provided to customers. In addition, the production area was rented in the investment project approximate 1 rai at Moo 10, Tungsatok Subdistrict, Sanpatong District, Chiang Mai Province. The building with production line, warehouse and office was further constructed. The building also comprised of 300-square-meter functional area and 300-square-meter charcoal drying bed under construction cost at 850,000 Baht. Moreover, 3 manufacturing machines including 1 charcoal grinder, 1 charcoal mixer and 1 briquette press totally 130,000 Baht were invested. Besides, the project was operated by 2 executives in limited partnership format. There were totally 5 employees of which 4 people were in charge of corn core charcoal briquette production and only one staff was stationed at the office to coordinate with customers and prepare documents. According to financial data, the payback period was approximate 3.65 years or 3 years, 7 months and 27 days, Net Present Value (NPV) was 265,279.33 Baht and Internal Rate of Return (IRR) was 16.45%. Consequently, corn core charcoal briquette production in Chiang Mai Province would be feasible investment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeA Feasibility Study on an Investment in Production Corn Care Charcoal Briquettes in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “ความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ในจังหวัดเชียงใหม่” มีการศึกษาอยู่ 5 ด้าน คือ ด้านแนวโน้มและสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน โดยมีวิธีการศึกษาจากข้อมูลปฐมภูมิ ใช้การเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากผู้ประกอบการธุรกิจที่ซื้อเชื้อเพลิงถ่าน ได้แก่ ร้านหมูกระทะ ร้านหมูจุ่ม 10 ชุด และร้านค้าแผงลอย ร้านปิ้งย่าง 30 ชุด ในจังหวัดเชียงใหม่ ใช้การสัมภาษณ์ประกอบกับการใช้แบบสอบถาม ด้านผู้ประกอบการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 2 ราย ส่วนวิธีการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ เก็บข้อมูลโดยการค้นคว้าข้อมูลจากบทความเชิงวิชาการและทางการค้าในอินเตอร์เนต หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ และงานวิจัยทางที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลของกิจกรรมเหล่านี้สามารถสรุปออกมาให้เห็นในรูปของงบการเงิน เพื่อนำมาใช้ประเมินผล และตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้ โดยพิจารณาเทียบกับสมมติฐาน ว่ายอมรับโครงการเมื่ออัตราผลตอบแทนภายใน มีค่ามากกว่า ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 11.00 และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 5 ปี จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการต่อการตัดสินใจซื้อเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่ง ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน ด้านราคา คือ ราคามีเสถียรภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ ซื้อสินค้าได้โดยสะดวก และด้านการส่งเสริมการตลาดคือ บริการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยโครงการลงทุนนี้ได้เช่าพื้นที่ในการผลิตมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1 ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 ต.ทุ่งสะโตก อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ มีการก่อสร้างโครงอาคาร สำหรับการผลิตและเก็บสินค้ารวมถึงส่วนของสำนักงาน ซึ่งอาคารมีขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 300 ตารางเมตร ลานซีเมนต์สำหรับตากถ่าน 300 ตารางเมตร ภายใต้ค่าก่อสร้าง 850,000 บาท และโครงการลงทุนเครื่องจักรในการผลิต 3 เครื่องได้แก่ เครื่องบดถ่าน 1 เครื่อง เครื่องผสมถ่าน 1 เครื่อง และเครื่องอัด 1 เครื่อง มูลค่าเครื่องจักรรวม 130,000 บาท ซึ่งโครงการมีผู้บริหาร 2 คน โดยจะดำเนินการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัด มีพนักงานจำนวน 5 คน โดยทำหน้าที่ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดจำนวน 4 คน และพนักงานประจำสำนักงานทำหน้าที่ติดต่อประสารงานกับลูกค้า รวมถึงจัดทำเอกสาร 1 คน และจากข้อมูลทางด้านการเงิน คือ ระยะเวลาในการคืนทุนของโครงการประมาณ 3.65 ปี หรือ 3 ปี 7 เดือน 27 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 265,279.33 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ของโครงการเท่ากับร้อยละ 16.45 จึงสรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ในจังหวัดเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.