Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68960
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาจารย์ ดร.พรนภา แสงดี | - |
dc.contributor.author | สุชาดา หงษ์ทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-21T05:45:50Z | - |
dc.date.available | 2020-07-21T05:45:50Z | - |
dc.date.issued | 2015-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68960 | - |
dc.description.abstract | This independent study aimed at analyzingundergraduate student’s expectation and perception of service quality in learning resources and educational media center, Mae FahLuang University. Service quality was compared by considering the gap between expectation and perception of service quality. Data of this survey research were collected by using questionnaires. The samples used in this study were 368 undergraduate students year 2-4 of Mae FahLuang University, majoring in Thai in a normal program, enrolled in the second semester 2013. Samples were selected by stratified sampling. The data were collected by using descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation. The result of the study found that undergraduate students of Mae FahLuang University had the highest expectations towards service quality in the factor of library as a source for research, information control, and feelings toward services, respectively. Considering each item, it was revealed that students had the highest expectations towards ambience and atmosphere for study, group study place, and source for study and research respectively. In terms of total services, it was shown that students perceived service quality according to the mean as follows: library as the source for research, information control, and feelings towards services respectively. Moreover, when considering each item, it was found that students had the highest perceptions towards group study place, source of study and research, and approachable and attractive center respectively, which all items were factors about library as a source of research. The comparison of service quality by taking consideration on the gap between expectation and perception dividing the factors revealed that the gap between expectations and perceptions of every factor were negative. Factors with the most gaps were feelings toward service, information control, and library as a source of research. When considering each item, it was found that the gaps with most negative values were confidence of service of staff which was being provided to the customers, staff professionalism, and the politeness of staff respectively. In contrast, the gaps with the least negative values were approachability and attractiveness of the location of the center, Learning Resources and Educational Media Center as a source for study and research, and group study place provided, respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษาต่อคุณภาพบริการของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | en_US |
dc.title.alternative | Undergraduate Students' Expectations and Perceptions of Service Quality in Learning Resources and Educational Media Center, Mae Fah Luang University | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักศึกษาต่อคุณภาพบริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและเปรียบเทียบคุณภาพบริการโดยพิจารณาจากความช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการโดยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หลักสูตรภาษาไทย ภาคปกติ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่2 ปีการศึกษา 2556จำนวน 368 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น(Stratified Sampling) วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการในปัจจัยด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้ามากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการควบคุมสารสนเทศ และปัจจัยด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีความคาดหวังต่อการมีสถานที่ให้บริการที่เงียบสงบเหมาะสำหรับการศึกษาค้นคว้าเป็นรายบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ การมีสถานที่ศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม และการเป็นแหล่งเริ่มต้นของการศึกษา การเรียนรู้หรือการวิจัยซึ่งเป็นปัจจัยด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้าทุกรายข้อ สำหรับบริการที่ได้รับในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีการรับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับ ตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ปัจจัยด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้า ปัจจัยด้านการควบคุมสารสนเทศ และปัจจัยด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษามีการรับรู้ต่อรายข้อ การมีสถานที่ศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่มมากที่สุด รองลงมาคือ การเป็นแหล่งเริ่มต้นของการศึกษา การเรียนรู้ หรือการวิจัย และที่ตั้งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไปมาสะดวก ดึงดูดให้เข้าใช้บริการซึ่งเป็นปัจจัยด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้าทุกรายข้อ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพบริการโดยพิจารณาช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้จำแนกตามปัจจัย พบว่า ช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับการรับรู้มีค่าเป็นลบทุกปัจจัยเรียงตามช่องว่างที่มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านความรู้สึกที่มีต่อบริการ ปัจจัยด้านการควบคุมสารสนเทศ และปัจจัยด้านห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้าเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าช่องว่างที่มีค่าเป็นลบมากที่สุด คือบุคลากรเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการเสมอ รองลงมาคือ บุคลากรให้บริการผู้ใช้ด้วยความเอาใจใส่ และบุคลากรมีความสุภาพต่อผู้ใช้เสมอ ขณะเดียวกันช่องว่างของคุณภาพบริการที่มีค่าเป็นลบน้อยที่สุด คือ ที่ตั้งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไปมาสะดวก และดึงดูดให้เข้าใช้บริการรองลงมาคือ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาเป็นแหล่งเริ่มต้นของการศึกษา การเรียนรู้หรือการวิจัยและ ศูนย์บรรณสารมีสถานที่สำหรับการศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม | en_US |
Appears in Collections: | HUMAN: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.