Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68937
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์อังสนา ธงไชย-
dc.contributor.authorจุฑาทิพย์ วิจิตร์en_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:40:44Z-
dc.date.available2020-07-21T05:40:44Z-
dc.date.issued2015-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68937-
dc.description.abstractThis research entitled “Social Network Usage in the Teaching and Learning at Chiang Mai University” has the objectives to study the usage of the social networks related to its benefits, problems and needs for supporting in the usage of social networks among the instructors and librarians of Chiang Mai University. This research is a survey research using questionnaires as a tool for collecting data from two sample groups: 346 instructors of Chiang Mai University in the first year of the academic year 2013 and 65 professional librarians of Chiang Mai University who engaged in teaching information acquisition skills and question-answer services along with faculty librarians. The statistics used were frequency, mean and standard deviation. The results were as follows: Regarding using the social networking for teaching, most instructors had used it for more than 5 years and had learned to use it by themselves or from friends. The most popular social networks were Blogs followed by Facebook and Slide share. The instructors used it mostly from their residences and workplace. The tools used were mostly cell phones, laptop computers and desktop computers respectively. The purposes of their usage were to view educational websites and useful sources of knowledge, to contact students in arranging the teaching and making appointments as well as sending documents, information and interesting sources to students. The instructors felt that the social networking was useful for their teaching at a moderate level, especially in building good relationships with students, allowing students to communicate with the teachers and allowing teachers to better follow up on students. The problems by using social networking were mainly concerning the slowness and frequent failure of the university networking system followed by inadequate skills and knowledge to use the system. As for their attitude towards social network usage, the instructors felt that it allowed them to express their opinions in a variety ways, to easily search for information they needed. The instructors would like to continue using the social network in their teaching and to obtain a handbook or manual as well as training on how to use the social network. For the librarians, most of them had used social networking for more than 5 years, mostly by self-learning and from friends and colleagues as well as from training. The popular kinds of social networking were Facebook, Blogs and Line. Most of the librarians used it from their workplace and residences. The popular tools were desktop computers, cell phones and lap-top computers. The purposes of usage were to send documents about interesting information sources to students and to exchange information and news as well as to provide group and individual advice respectively. The librarians felt that social networking was useful at a moderate level, mainly to provide communication channels to clients/students, sending documents and information as well as interesting resources while publicizing about the training on library use and research. The problems with social network usage were mostly about the students’ lack of tools to access the network followed by lack of skills to use it and the slowness and failure of the university’s network systems. The librarians found that the social networking is a wide open channel for people to express their ideas freely in many ways at anytime and from anywhere as well as being a useful teaching and learning tool. Most of the librarians still need a training course and a manual for further use the social networking in their service and to promote the usage by providing training and a user’s handbook.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้เครือข่ายทางสังคมในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSocial Network Usage in the Teaching and Learning at Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง การใช้เครือข่ายทางสังคมในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เครือข่ายทางสังคมความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในการใช้ เครือข่ายทางสังคมปัญหา ความต้องการการสนับสนุนการใช้เครือข่ายทางสังคม ของอาจารย์และบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 346 คน และบุคลากรสายกลุ่มวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ที่เป็นบรรณารักษ์ปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สอนทักษะการรู้สารสนเทศ และงานบริการตอบคำถาม และบรรณารักษ์ประจำคณะ จำนวน 65 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านการใช้เครือข่ายทางสังคมเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ พบว่าอาจารย์ส่วนใหญ่เคยใช้เครือข่ายทางสังคม โดยมีประสบการณ์ในการใช้เครือข่ายทางสังคมมากกว่า 5 ปี และเรียนรู้การใช้เครือข่ายทางสังคมด้วยตนเอง และจากเพื่อนเครือข่ายสอนทางสังคมที่นิยมใช้ คือ บล็อก รองลงมา คือเฟชบุ๊คและสไลด์แชร์ ส่วนใหญ่อาจารย์จะใช้งานจากที่พักอาศัย รองลงมา คือที่ทำงาน อุปกรณ์ที่นิยมใช้สำหรับเข้าใช้เครือข่ายทางสังคม คือโทรศัพท์มือถือ รองลงมา คือ คอมพิวเตอร์แบบพกพาและเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ คือ เพื่อเข้าดูเว็บไซต์ด้านการศึกษาและแหล่งความรู้ที่มีประโยชน์ ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาในการนัดหมายเวลาและการเรียนการสอน และ ส่งเอกสาร ข้อมูล แหล่งสารสนเทศที่น่าสนใจแก่นักศึกษาตามลำดับ และอาจารย์เห็นว่าการใช้เครือข่าย ทางสังคมมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับปานกลาง โดยมีประโยชน์เป็นรายด้าน คือ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้เรียนมีช่องทางการสื่อสารกับผู้สอนมากขึ้น และผู้สอนสามารถติดตามผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมตามลำดับสำหรับปัญหาในการใช้เครือข่ายทางสังคมที่พบมากคือ ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยช้าและขัดข้องบ่อย รองลงมา คือทักษะการใช้งานมีไม่เพียงพอ และไม่มีความรู้และทักษะการใช้งานสำหรับทัศนคติการใช้เครือข่ายทางสังคม พบว่าอาจารย์เห็นว่าเครือข่ายทางสังคมช่วยให้สามารถโต้ตอบสื่อสารกันโดยอิสระทุกสถานที่และเวลา ช่วยให้สามารถได้แสดงความคิดเห็นได้ในหลากหลาย และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย ด้านความต้องการพบว่าอาจารย์มีความต้องการใช้เครือข่ายทางสังคมต่อไปในการเรียนการสอน และมีการส่งเสริมการใช้โดยการจัดทำคู่มือการใช้งานและการฝึกอบรมการใช้ ด้านการใช้เครือข่ายทางสังคมเพื่อการเรียนการสอนของของบรรณารักษ์พบว่าบรรณารักษ์ส่วนใหญ่เคยใช้เครือข่ายทางสังคมและมีประสบการณ์การใช้เครือข่ายทางสังคมมากกว่า 5 ปี โดยส่วนใหญ่เรียนรู้การใช้เครือข่ายทางสังคมด้วยตนเอง รองลงมา คือจากเพื่อน และการอบรมโดยสถาบันเครือข่ายทางสังคมที่นิยมใช้ คือเฟชบุ๊ค,บล็อกและไลน์บรรณารักษ์ส่วนใหญ่นิยมใช้เครือข่ายทางสังคม จากที่ทำงาน และจากที่พักอาศัย อุปกรณ์ที่นิยมใช้สำหรับเข้าใช้เครือข่ายทางสังคมคือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์พกพา โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ คือ ส่งเอกสาร ข้อมูล แหล่งสารสนเทศที่น่าสนใจแก่นักศึกษา แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ผ่านทางเครือข่ายทางสังคม และให้คำปรึกษากลุ่มและส่วนบุคคล ตามลำดับ บรรณารักษ์มีความเห็นว่าเครือข่ายทางสังคมมีประโยชน์โดยรวมในระดับปานกลาง โดยมีประโยชน์เป็นรายด้าน คือ เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการ/ผู้เรียน ส่งเอกสารข้อมูล แหล่งสารสนเทศที่น่าสนใจกับผู้ใช้บริการ และ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสอนใช้ห้องสมุดและการค้นคว้าด้านปัญหาในการใช้เครือข่ายทางสังคม ที่พบเป็นส่วนใหญ่ คือ นักศึกษาบางคนไม่มีอุปกรณ์เข้าถึงเครือข่ายทางสังคม รองลงมา คือ ทักษะการใช้งานมีไม่เพียงพอ และระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยช้าและขัดข้องบ่อย สำหรับด้านทัศนคติการใช้เครือข่ายทางสังคม พบว่าบรรณารักษ์มีพบว่าเครือข่ายทางสังคมเป็นช่องทางที่เปิดกว้าง เป็นเครื่องมือให้คนได้แสดงความคิดเห็นได้ในหลากหลายแง่มุม สามารถโต้ตอบสื่อสารกันโดยอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด และเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่มีประโยชน์ สำหรับบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการฝึกอบรม และจัดทำคู่มือช่วยในการใช้ปฏิบัติงานด้านความต้องการพบว่าบรรณารักษ์มีความต้องการใช้เครือข่ายทางสังคมต่อไปในการบริการ และมีการส่งเสริมการใช้โดยการฝึกอบรมการใช้ และจัดทำคู่มือการใช้งานen_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.