Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพนิตนาถ มั่งมูลen_US
dc.contributor.authorชูชาติ สันธทรัพย์en_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:27Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:27Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36,2 (พ.ค.-ส.ค. 2563), 211-223en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234425/165622en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68728-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการศึกษาการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับวิธีการให้น้ำสำหรับการปลูกข้าวโพดหวาน ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกร อำเภอแม่อาย และในแปลงวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึง มีนาคม 2561 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อค (randomized complete block design, RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ (1) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 190.75 กิโลกรัม/เฮกตาร์ และให้น้ำแบบปล่อยตามร่องปลูก (กรรมวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ) (2) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 156.25 กิโลกรัม/เฮกตาร์ (ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืชและตามค่าวิเคราะห์ดิน) และให้น้ำแบบปล่อยตามร่องปลูก (3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตรา 156.25 กิโลกรัม/เฮกตาร์และให้น้ำแบบระบบน้ำหยด (4) ไม่ใส่ปุ๋ยและให้น้ำแบบปล่อยตามร่องปลูก (กรรมวิธีควบคุม) ผลการศึกษาพบว่า อัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่ประเมินจากความต้องการของข้าวโพดหวานและค่าวิเคราะห์ดิน ไม่ทำให้ความสูง ค่าความเข้มสีเขียวในใบพืช และความเข้มข้นของธาตุอาหารหลัก ปริมาณและคุณภาพผลผลิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ ทั้งในระบบปล่อยน้ำตามร่องปลูกและระบบน้ำหยด โดยข้าวโพดหวานที่ปลูกในแปลงของเกษตรกร มีน้ำหนักฝักเฉลี่ย 410.48-430.10 กรัม/ฝัก และผลผลิตฝักสดอยู่ระหว่าง 19.85-20.79 ตัน/เฮกตาร์ และข้าวโพดหวานที่ปลูกในแปลงวิจัย มีน้ำหนักฝักเฉลี่ย 319.85-367.65 กรัม/ฝัก และผลผลิตฝักสดอยู่ระหว่าง 16.87-18.33 ตัน/เฮกตาร์ และมีปริมาณของแข็งที่ละลายได้มากกว่า 14 องศาบริกซ์ ทั้งสองแปลงทดลอง อย่างไรก็ตาม ระบบน้ำหยดสามารถลดการใช้น้ำลงได้ 40 และ 58 เปอร์เซ็นต์ ทั้งทีในแปลงของเกษตรกรและในสถานีวิจัย ตามลำดับ The study on nitrogen fertilizer management and irrigation methods for sweet corn, this study was conducted in farmer’sfield at Mae Ai district and in the research field of Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai province during November 2017 to March 2018. The experimental design was a randomized complete block design (RCBD) with 4 replications and 4 treatments as follows: (1) nitrogen application at the rate of 190.75 kg/ha and furrow irrigation system (farmer practice), (2) nitrogen application at the rate of 156.25 kg/ha (site-specific fertilizer management) with furrow irrigation, (3) nitrogen application at the rate of 156.25 kg/ha with drip irrigation and (4) control treatment, non-fertilization and irrigated by furrow. The results revealed that the rate of nitrogen application based on the nutrient requirement of sweet corn and soil analysis data (site-specific fertilizer management) did not affect plant height, leaf greenness value and primary nutrient content in ear leaf, fresh yield and yield quality significantly when compared to farmer practice treatment both in furrow and drip irrigations. Therange of ear weight and fresh yield were 410.48-430.10 g/ear, 19.85-20.79 t/ha in farmer’s field and 319.85-367.65 g/ear, 16.87-18.33 t/ha in the research field, respectively. Moreover, the total soluble solids in the kernel were higher than 14 °Brix in both experimental fields. However, the drip irrigation system saved 40% water usage compared to the furrow system in the farmer’s field and saved 58% in the research field.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวโพดหวานen_US
dc.subjectระบบน้ำหยดen_US
dc.subjectปุ๋ยไนโตรเจนen_US
dc.subjectผลผลิตen_US
dc.subjectคุณภาพของข้าวโพดหวานen_US
dc.titleผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจนและวิธีการให้น้ำต่อการเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeEffects of Nitrogen Fertilizer Ratesand Irrigation Methods on Growth and Yield of Sweet Corn in Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.