Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโชคนภา ติรชัยมงคลen_US
dc.contributor.authorปฐวี คงขุนเทียนen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 65-73en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____448.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67308-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการรักษาด้วยรากฟันเทียมในปัจจุบันมีอัตราความสำเร็จสูง เมื่อทำการบูรณะในสภาวะที่เหมาะสม ความเสถียรปฐมภูมิ (primary implant stability) เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดกระดูกเชื่อมประสานกับรากฟันเทียม (osseointegration) และเมื่อเกิดกระดูกเชื่อมประสานกับรากฟันเทียมในช่วงเวลาการหายของเนื้อเยื่อ จึงเกิดเป็นความเสถียรทุติยภูมิ (secondary implant stability) ขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความเสถียรเริ่มแรกของรากฟันเทียมแบบเกลียวสามรูปแบบ และติดตามความเสถียรของรากฟันเทียมต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาการหายของเนื้อเยื่อเป็นเวลา 3 เดือน ด้วยวิธีการวัดการสั่นพ้องของคลื่นเสียง วิธีการศึกษา ทำการฝังรากฟันเทียมระบบPW Plus จำนวน 16 รากในผู้ป่วย 12 รายทดแทนซี่ฟันในบริเวณฟันกรามหลังขากรรไกรล่าง ทำการวัดความเสถียรของรากฟันเทียมด้วยวิธีการวัดการสั่นพ้องของคลื่นเสียงทันทีหลังการฝัง และติดตามความเสถียรของรากฟันเทียมที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4, 6, 8, 10, 12 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย ISQ หลังฝังทันทีคือ 77.2±0.93 ค่าเฉลี่ย ISQ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด หลังจากนั้นในสัปดาห์ที่สองค่าเฉลี่ย ISQ จะมีค่าสูงขึ้นตามลำดับ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการศึกษาค่าเฉลี่ยความเสถียรของรากฟันเทียมคงอยู่ในระดับสูง (ค่า ISQ ≥ 65) ภายใต้ข้อจำกัดของการศึกษานี้ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารากฟันเทียมระบบ PW Plus ซึ่งตัวรากเทียมมีรูปแบบเกลียว 3 รูปแบบนั้น มีค่าความเสถียรอยู่ในระดับสูงตลอดระยะเวลาการหายของแผลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเกิดกระดูกเชื่อมประสานกับรากฟันเทียม รากเทียมen_US
dc.subjectความเสถียรของรากเทียมen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ด้วยคลื่น ความถี่เรโซแนนซen_US
dc.subjectการศึกษาทางคลินิกen_US
dc.titleความเสถียรของรากฟันเทียมแบบเกลียว 3 รูปแบบในช่วงระยะเวลาการหายของเนื้อเยื่อ ศึกษาทางคลินิกโดยใช้วิธีการวัดการสั่นพ้องของคลื่นเสียงen_US
dc.title.alternativeThe stability of Three-thread-design dental implants during the healing period. A clinical study using resonance frequency analysis methoden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.