Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดร.นัทมน คงเจริญ-
dc.contributor.authorณฐอร ศรีสว่างen_US
dc.date.accessioned2019-09-23T03:54:46Z-
dc.date.available2019-09-23T03:54:46Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66853-
dc.description.abstractFor the title 13 of criminal procedure code assigned police, attorney, and criminal court that have to provide the interpreter for the right of prosecution access to justice as for non-Thai speakers. However, there were some problems in law enforcement to provide and lack of the interpreter. So the non-Thai speakers couldn’t understand through their cases and couldn’t communicate with the court officers. These problems had an effect on their argument because of the problematic about languages. Therefore, the helpless non-Thai speakers among Thai translation or any Thai documents were serious difficulties of access to justice for them. If the government can provide the interpreters for the non-Thai speakers, it should be really supported the access to justice reasonably and equally. This research studied and analyzed on the Right to Interpreter of the Accused and Defendant in the Criminal Cases such as; Human Right, Equality, and the Right to Access to Justice. These are the basic concepts to guard the rights for non-Thai speakers. The researcher studied on positive law, the interpretation of constitution court, problems and effects of interpreter provider. All the results were suitable along the positive law and helpful for solving and systematizing the interpreter provider problem in Mae Hong Son province. After the study, there were some results about the interpreter provider problems for non-Thai speakers; foreigners and ethnic groups as follows; 1. Positive law problem about the interpreter provider for non-Thai speakers For the title 13 of criminal procedure code assigned the government sector such as; policeman, attorney, and criminal court that have to provide the interpreter for the right of prosecution access to justice as for non-Thai speakers. However, the title 13 of criminal procedure code does not mention about the procedure of interpreter provider and there were any rules about the obvious regulations. 2. Law enforcement problem The interpreter for foreigner or ethnic group has to be registered or passed the interpreter training to be a full duty interpreter, so the problem is the lack of the interpreter. Especially, there was non-registered and no full duty interpreter for the ethnic groups, there was no choice on providing the interpreter for the ethnic groups so the officers had to decide on the villagers or people who came with the injured or the accused to be the urgent interpreter. Moreover, there was not any organization to take responsibilities for interpreter providing among the positive law. All the criminal procedures; police, attorney, and criminal court were lack of the unity. For these reasons, the researcher became aware of the main organization to take responsibilities for interpreter providing and coordinate with related organization; asking for the ethnic proficient interpreter from the refugee camps, embassies, consuls or schools in that area. Likewise, the specification of interpreter providing has to be created as a guideline for the non-Thai speakers could be access equally to justice.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมen_US
dc.subjectภาษาไทยen_US
dc.subjectระบบการจัดหาล่ามen_US
dc.titleการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ที่ไม่พูดภาษาไทย : กรณีศึกษาระบบการจัดหาล่ามในจังหวัดแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeProblem of Access to Justice for Non-Thai Speakers : A Study of Procurement of Interpreter in Mae Hong Son Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc323.42-
thailis.controlvocab.thashสิทธิมนุษยชน -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashความเสมอภาค -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashกฎหมาย -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.manuscript.sourceว/ภน 323.42 ณ139ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ได้กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆในกระบวนการยุติธรรม อาทิ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และศาลต้องจัดหาล่ามให้ แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาเรื่องการบังคับกฎหมายอยู่ เนื่องจากปัญหาระบบการจัดหาล่ามและปัญหาเรื่องการขาดแคลนล่าม เป็นต้น ทำให้บุคคลที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่และไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เพราะไม่เข้าใจภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ด้วยเหตุนี้การไม่มีล่ามคอยช่วยเหลือในการแปลภาษาหรือเอกสาร จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของบุคคลที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ดังนั้น หากรัฐให้ความช่วยเหลือจัดหาล่ามแปลภาษาและเอกสารให้กับบุคคลที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม ย่อมเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของบุคคลให้มีความเท่าเทียมและเสมอภาคอย่างแท้จริง การค้นคว้าแบบอิสระนี้ ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงแนวคิดเรื่องสิทธิในการมีล่าม อาทิ แนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาค และแนวคิดการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่คุ้มครองบุคคลที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ศึกษาถึงบทบัญญัติทางกฎหมาย รวมถึงแนวทางการตีความของศาลและศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบของการจัดหาล่าม ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดหาล่ามในจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป ซึ่งการศึกษาพบว่าการจัดหาล่ามให้กับบุคคลที่มีอุปสรรคด้านภาษาในที่นี้ คือ กลุ่มชาวต่างชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ ในกระบวนการยุติธรรมมีปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ 1. ปัญหาจากบทบัญญัติทางกฎหมายในการจัดหาล่ามสำหรับบุคคลที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 กำหนดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดหาล่ามให้กับบุคคลที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และศาลแล้ว แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ก็มิได้ระบุถึงวิธีการจัดหาล่ามไว้และไม่มีระเบียบข้อบังคับตามกฎหมายใดที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดหาล่ามอย่างชัดเจน 2. ปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมาย การจัดหาล่ามให้กับชาวต่างประเทศหรือกลุ่มชาติพันธุ์นั้น บุคคลที่มาเป็นล่ามนั้น จะต้องเป็นล่ามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ หรือล่ามประจำที่ได้มีการอบรมแล้ว แต่อุปสรรคที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดหาล่ามได้ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มาเป็นล่ามนั้นมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะ ล่ามกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนล่ามและไม่มีการอบรมล่าม เจ้าหน้าที่จึงแก้ปัญหาโดยให้ ผู้ที่มาด้วยกับผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาหรือชาวบ้านในละแวกนั้นเป็นล่ามให้ ทั้งนี้เพราะเจ้าหน้าที่ ไม่ทราบว่าจะจัดหาล่ามได้จากที่ใด รวมทั้งยังไม่มีองค์การกลางหรือองค์กรหลักในการดูแลรับผิดชอบจัดหาล่ามตามบทบัญญัติทางกฎหมาย ทำให้การดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นชั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และศาล ขาดความเป็นเอกภาพในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการจัดหาองค์กรหลักในการดูแลรับผิดชอบการจัดหาล่ามและประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น จากศูนย์อพยพเพื่อขอล่ามที่เชี่ยวชาญภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ จากสถานทูต กงสุล หรือสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นต้น รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดหาล่ามให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้บุคคลที่ไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาได้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมen_US
Appears in Collections:LAW: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.