Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/63762
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์รัตนา ณ ลำพูน-
dc.contributor.authorนางสาวศุภวรรณ อาจกล้าen_US
dc.date.accessioned2019-05-03T01:46:30Z-
dc.date.available2019-05-03T01:46:30Z-
dc.date.issued2559-05-24-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/63762-
dc.description.abstractThis independent study on Information-seeking Behavior of Foreign Students at Chiang Mai University has 3 objectives 1) the study of foreign students’ needs and their information seeking behavior in Chiang Mai University, 2) the study of factors affecting information seeking of foreign students of Chiang Mai University, and 3) the study of guidelines for the development of information services of Chiang Mai University Library (CMUL) needed by foreign students at Chiang Mai University. The instrument used for gathering data was a questionnaire. The population studied was three groups of foreign students totaling 461 students: 255 from bachelor’s degree programs, 174 from master’s degree programs and 32 from doctoral degree programs who were enrolled in the academic year 2015. The criteria for the reliability of the questionnaire returning was at least 30 percentages. Data was analyzed by using descriptive statistics including frequency counting, percentage, mean and standard deviation. The results showed that the majority of foreign undergraduate students of Chiang Mai University, most of them used and needed general books and textbooks for the purpose of their studying. The majority graduate students used and needed information resources including e-Databases and e-Journals for conducting research. Moreover, undergraduate students and graduate students preferred to use the Main Library and their own faculty library. For information-seeking behavior, the results showed that the majority of undergraduate students used CMUL OPAC. Most of the graduate students used e-Databases. Moreover, both groups created keywords before starting searching and then they retrieved information using keyword search in basic search box. From the search results, most of them refined the search using the link in those results such as author and subject, etc. In terms of the evaluation of those two groups, the information was evaluated by an author, year of publication and content. Factors affecting information seeking according to those students showed that each factor was affected undergraduate students and graduate students. The factors with the high score in each section including: 1) English and other languages information resources were adequate 2) students were preferred to access library services online 3) students preferred to use modern and various information technology equipment 4) library staff should have the skills of English speaking and 5) library buildings and places should be easy to access.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศen_US
dc.subjectนักศึกษาต่างชาติen_US
dc.subjectInformation seekingen_US
dc.subjectForeign studentsen_US
dc.subjectInformation behavioren_US
dc.subjectInformation needen_US
dc.subjectInformation useen_US
dc.titleพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeInformation-seeking Behavior of Foreign Students at Chiang Mai Universityen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc025.524-
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -- นักศึกษาต่างชาติ-
thailis.controlvocab.thashการค้นข้อสนเทศ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 025.524 ศ467พ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระในหัวข้อพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของนักศึกษาต่างชาติและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการให้บริการสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การค้นคว้าแบบอิสระนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มประชากรมีจำนวนทั้งสิ้น 461 คน ประกอบด้วยนักศึกษาต่างชาติ 3 กลุ่ม คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 255 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 174 คน และนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 32 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2558 โดยเกณฑ์ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละกลุ่มต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่มีการใช้สารสนเทศและมีความต้องการด้านสารสนเทศ หนังสือ ตำรา ในระดับมาก โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีการใช้สารสนเทศประเภทฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และวารสารวิชาการ ในระดับมาก สำหรับการทำงานวิจัย นอกจากนี้ ยังพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษานิยมเข้าใช้บริการสำนักหอสมุดและห้องสมุดคณะ ตามหลักสูตรที่สังกัดเพื่อการค้นคว้าด้านสารสนเทศ สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ พบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีใช้ช่องทาง CMUL OPAC ในระดับมาก ในขณะที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศประเภทฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยนักศึกษาทั้ง 2 ระดับ ทำการสืบค้นสารสนเทศด้วยการกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ก่อนเริ่มต้นสืบค้นสารสนเทศ และหลังจากนั้นจึงทำการสืบค้นสารสนเทศโดยพิมพ์คำสำคัญลงในช่องสืบค้น (Basic search box) จากผลการสืบค้นสารสนเทศ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่สืบค้นสารสนเทศเพิ่มเติมโดยเชื่อมโยงจากผลลัพธ์ที่สืบค้นได้ เช่น ผู้เขียน และ หัวเรื่อง เป็นต้น โดยขอบเขตของการประเมินผลการใช้สารสนเทศทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า มีการสืบค้นสารสนเทศเกี่ยวกับ ผู้เขียน ปีที่ตีพิมพ์ และเนื้อหา ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาต่างชาติแสดงให้เห็นว่า แต่ละปัจจัยส่งผลต่อนักศึกษาระดับปริญญาตรีและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยปัจจัย ที่พบมากในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย 1) มีแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ที่เพียงพอต่อความต้องการ 2) นักศึกษานิยมใช้บริการห้องสมุดออนไลน์ 3) นักศึกษานิยมใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความหลากหลายและทันสมัย 4) พนักงานสำนักหอสมุดควรเพิ่มทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น และ 5) ควรมีการจัดสถานที่ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สะดวกต่อการเข้าถึงสารสนเทศมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.