Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46122
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorกสิพันธุ์ เมืองอินทร์en_US
dc.date.accessioned2018-04-18T03:58:59Z-
dc.date.available2018-04-18T03:58:59Z-
dc.date.issued2558-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46122-
dc.description.abstractAn Independent Study, Quality of Working Life of Nurse at Intensive Care Unit and Sub-Intensive Care Unit Chiang Rai Prachanukroh Hospital, has an objective to investigate factors which had effected to the nurse’s quality of working life of this hospital, and to discover their quality levels as well. The study based on the quality of work life concept of Management System of Quality of Working Life MS-QWL), The Human Capacity Building Institute, The Federation of Thai Industries, which consists of the quality of working life 6 factors; physical, mentality, social relationship, environment, spirituality, and career stability. In this study, data were collected by questionnaires which asked 165 populations of nurse at intensive care unit and sub-intensive care unit chiang rai Prachanukraw hospital. The collected data were analyzed by a statistics; frequency, percentage, mean, T-test and One-way ANOVA, LSD, including using the correlation analysis and multiple regression analysis. The results were found that the nurse at intensive care unit and sub-intensive care unit chiang rai Prachanukroh hospital overall quality of working life in medium level. In terms of factors that affected the working life quality, they ranked mentality, social relationship and spirituality at high level. However, they ranked physical, environment and career stability in moderate level. In terms of factors effected to the nurses’ working life quality at intensive care unit and sub-intensive care unit of this hospital that were classified in personal factors, results showed that factors of age, education, positions, department, salary and period of working all effected to various qualities of working life with statistical significance. After the relationship between the 6 aspects of working life quality; physical, mentality, social relationship, environment, spirituality, and career stability, and the overall image of their work-life quality was analyzed, it was discovered that they related as statistical significantly with the same direction of a medium level. It could be said that if their qualities of working life are more focused, the nurses at intensive care unit and sub-intensive care unit chiang rai Prachanukroh hospital will gain better overall images of their work-life qualities. The multiple regression also shown the positive variation (R = 0.897) and the prediction of their working life quality was at 56.1%, while 43.9% of the respondents was affected by other factors. From the study of statistic significance, it was found that mentality, environment and career stability affected the working quality significantly 0.05 level. The result also showed that spirituality, mentality and career stability were able to predict the working life quality accordingly at β = 0.268, 0.205 and 0.180, which means career stability effected on the working life quality more than mentality and environment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.subjectโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์en_US
dc.title.alternativeQuality of Work Life of Nurses at Intensive Care Units and Sub-Intensive Care Units in Chiang Rai Prachanukroh Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc306.361-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน -- เชียงราย-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 306.361 ก173ค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระหัวข้อ คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์และศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยใช้แนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life) ตามมาตรฐานระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน (Management System of Quality of Work Life: MS-QWL) ของสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพชีวิตการทำงาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านความมั่นคงในชีวิต การศึกษาในครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 165 ราย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติอ้างอิง ประกอบด้วย การทดสอบค่าแจกแจงแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า พยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ มีคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นในปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านจิตวิญญาณ และมีความคิดเห็นในปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านร่างกาย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความมั่นคงในชีวิต จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน แผนกที่ปฏิบัติงาน ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกัน มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านความมั่นคงในชีวิต กับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตการทำงานในแต่ละด้านมากขึ้น พยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จะมีคุณภาพชีวิตภาพรวมเพิ่มมากขึ้น ในการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานทั้ง 6 ด้านกับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวม พบว่า มีการแปรผันตามกันในเชิงบวก (R = 0.897) ซึ่งสามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมได้ร้อยละ 56.10 ส่วนคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมของพยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤติและแผนกผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อีกร้อยละ 43.90 เป็นผลที่เกิดจากด้านอื่นๆ โดยปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยด้านความมั่นคงในชีวิต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( β ) ด้านจิตใจเท่ากับ 0.205 ด้านจิตวิญญาณเท่ากับ 0.268 และด้านความมั่นคงในชีวิตเท่ากับ 0.180 หมายความว่า ปัจจัยด้านจิตวิญญาณส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานมากกว่าปัจจัยด้านจิตใจและปัจจัยด้านความมั่นคงในชีวิต ตามลำดับen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.docxAbstract (words)176.03 kBMicrosoft Word XMLView/Open
ABSTRACT.pdfAbstract301.69 kBAdobe PDFView/Open
FULL.pdfFull IS4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.