Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46014
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงหทัย กาศวิบูลย์-
dc.contributor.authorณัฐพัฒฐ์ มุกดาen_US
dc.date.accessioned2018-04-05T04:17:15Z-
dc.date.available2018-04-05T04:17:15Z-
dc.date.issued2557-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46014-
dc.description.abstractThe purposes of this research were 1) to study and analyze mathematical knowledge in local wisdom found in Chiang Mai Province. 2) to develop a fundamental database which analyzed mathematical knowledge in local wisdom found in Chiang Mai Province; in order to be the guidelines for mathematics learning in primary and secondary levels. This research employed a qualitative research design. During data collection, the researcher chose and gathered the data of local wisdoms which were obvious in holding mathematical knowledge found in Chiang Mai Province local wisdoms and there were no limitation in terms of access area. 1) Lanna Lantern 2) Salung Muang (Northern Thai Silver Water Bowl) 3) Lanna Umbrella and 4) Northern Thai Carved Paper. The research instruments were camera, video recorder, and field notes. The researcher used participatory observations, informal interviews, taking field notes, recording videos, and taking pictures. Then, analyzing the data in order to identify mathematical knowledge. The findings were as follows: 1. There were totally 42 items of mathematics knowledge found in local wisdom. 1.1 Lanna Lantern includes 1) Two-dimensional geometry contains gable triangle, rectangular, squares, and equilateral pentagonal 2) The ratio of numbers 3) The congruent of triangle 4) Front view, side view, and top view of three dimensional geomatry 5) Creating of equilateral line segment 6) Creating of equilateral pentagonal 7) Equilateral pentagonal base prism 8) Square base pyramid and rectangular base pyramid 9) Creatia of octagon 10) Creating of squares and gable triangle and 11) Length measurement and use of measurement tools. 1.2 Salung Muang (Northern Thai Silver Water Bowl includes 1) Circle 2) Translation 3) Reflection 4) Rotation 5) Shape relation form 6) Axis of symmetry 7) Length relation 8) Scale relation 9) Linear relation 10) Creation of circle 11) Ratio and 12) Two-dimensional geometry contains rectangular, square, and triangle. 1.3 Lanna Umbrella includes 1) Cylindrical characteristic 2) Circle component 3) Equilateral number property 4) Rotation 5) Angle component 6) Side-Side-Side Triangle congruent 7) Appropriate in selection of mesurement tools 8) Fraction semantic 9) Creation of circle 10) Counting 11) Cylindrical unfold figure 12) Ratio and 13) Relation of two quantity 1.4 Northern Thai Carved Paper includes 1) Axis of symmetry 2) Transformatio (Geometric) 3) Shape pattern 4) Geometric figure 2 dimensions 5) Parallel and 6) Divided area 2. Database contained 42 items classified by 6 items of strand 1: number and operation, 5 items of strand 2: measurement, 27 items of strand 3: geometry, and 4 items of strand 4: algebra. There were 4 learning units of examples involving mathematics learning activities in Lanna Lantern, Salung Muang (Northern Thai Silver Water Bowl), Lanna Umbrella, and Northern Thai Carved Paper, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.titleการวิเคราะห์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่พบในภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAn Analysis of Mathematical Knowledge Found in Local Wisdom of Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc510.712-
thailis.controlvocab.thashคณิตศาสตร์วิเคราะห์-
thailis.controlvocab.thashภูมิปัญญาชาวบ้าน-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 510.712 ณ113ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่มีใน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการวิเคราะห์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ค้นคว้าข้อมูลและเลือกภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเด่นชัดของความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่สอดแทรกอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่นและไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงพื้นที่ ได้แก่ 1) โคมล้านนา 2) สลุงเมือง 3) ร่มล้านนา และ 4) งานต้องลายกระดาษ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดีโอ และแบบบันทึกภาคสนาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสังเกตอย่างมีส่วนรวม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การบันทึกข้อมูลที่ได้ลงในแบบบันทึกภาคสนาม การบันทึกภาพเคลื่อนไหวและการบันทึกภาพนิ่งแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาความรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่พบในภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวมีทั้งสิ้น 42 ประเด็นได้แก่ 1.1 โคมล้านนา 11 ประเด็น ได้แก่ 1) รูปเรขาคณิตสองมิติที่ประกอบด้วยสามเหลี่ยม หน้าจั่ว สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัสและห้าเหลี่ยมด้านเท่า 2) อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน 3) การเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม 4) การมองภาพที่ได้จากการมองทางด้านหน้า ด้านข้างและด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ 5) การสร้างส่วนของเส้นตรงให้มีขนาดที่เท่ากัน 6) การสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 7) ปริซึมฐานห้าเหลี่ยมด้านเท่า 8) พีระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสและพีระมิดฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า 9) การสร้างรูปแปดเหลี่ยม 10) การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และ11) การวัดความยาวและการใช้เครื่องมือวัดความความยาว 1.2 สลุงเมือง 12 ประเด็นได้แก่ 1) รูปวงกลม 2) การเลื่อนขนาน 3) การสะท้อน 4) การหมุน 5) แบบรูปที่มีรูปร่างสัมพันธ์กัน 6) รูปที่มีแกนสมมาตร 7) ความสัมพันธ์ของหน่วยความยาว 8) ความสัมพันธ์ของหน่วยการชั่ง 9) ความสัมพันธ์เชิงเส้น 10) การสร้างรูปวงกลม 11) อัตราส่วนและ 12) รูปเรขาคณิต 2 มิติ ที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปสามเหลี่ยม 1.3 ร่มล้านนา 13 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะของรูปทรงกระบอก 2) ส่วนประกอบของรูปวงกลม 3) สมบัติการเท่ากันของจำนวนนับ 4) การหมุน 5) ส่วนประกอบของมุม 6) การเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมแบบด้าน–ด้าน–ด้าน 7) การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดความยาว 8) ความหมายของเศษส่วน 9) การสร้างรูปวงกลม 10) การนับเพิ่มทีละหนึ่ง 11) รูปคลี่ของทรงกระบอก 12) อัตราส่วน และ 13) ความสัมพันธ์ของปริมาณ 2 ปริมาณ 1.4 งานต้องลายกระดาษ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) รูปที่มีแกนสมมาตร 2) การแปลงทางเรขาคณิต 3) แบบรูปที่มีรูปร่างสัมพันธ์กัน 4) รูปเรขาคณิต 2 มิติ 5) เส้นขนานและ 6) การแบ่งพื้นที่ให้มีขนาดเท่ากัน 2. ฐานข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่มีในภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 4 ภูมิปัญญา มีจำนวนทั้งสิ้น 42 ประเด็น สามารถแบ่งความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ได้ตามสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จำนวน 4 สาระคือ สาระที่ 1) จำนวนและการดำเนินการ จำนวน 6 ประเด็น สาระที่ 2) การวัด จำนวน 5 ประเด็น สาระที่ 3) เรขาคณิต จำนวน 27 ประเด็นและสาระที่ 4) พีชคณิต จำนวน 4 ประเด็น และตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ใน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ออกแบบมีจำนวน 4 หน่วยหน่วยละ 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 20 กิจกรรม ได้แก่ หน่วยที่ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโคมล้านนา หน่วยที่ 2) กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในสลุงเมือง หน่วยที่ 3) กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในร่มล้านนา และหน่วยที่ 4) กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในงานต้องลายกระดาษen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT252.17 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX4.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1187.33 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2355.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3264.77 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 43.43 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5222.58 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT272.12 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER622.78 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE267.23 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.