Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46010
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์-
dc.contributor.advisorนิสิต พันธมิตร-
dc.contributor.authorธีรทัศน์ ศักดิ์กุลเจริญen_US
dc.date.accessioned2018-04-05T03:27:44Z-
dc.date.available2018-04-05T03:27:44Z-
dc.date.issued2557-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/46010-
dc.description.abstractThis study on “Factors Affecting the People’s Decision on Participation in Wood Handicraft Exhibition in Mae Tha District, Lamphun Province” had the objectives of 1) learning about the general condition of the members of the craftsmen group in Mae Tha District of Lamphun Province; 2) finding the factors affecting their decision to participate in the annual wood handicraft exhibition in Mae Tha District and 3) examining the attitude of the entrepreneurs on the exhibition. The study involved 500 people in the sample group of wood carvers and entrepreneurs in the study area using questionnaires as the tool to collect the data in 3 parts: 1) personal information, 2) factors affecting their decision to participate in the annual wood handicraft exhibition in Mae Tha District, and 3) the entrepreneurs’ attitude about the decision to participate in the annual exhibition of wood carving products. The data was analyzed using a statistical program and the following results were obtained. 1) Their main occupation as wood carvers or those dealing with the wood carving business was the most important factor for them to gain a higher chance of 81.34 percent to participate in the exhibition. 2) The people’s experience in wood carving served as the second most important factor for their decision in participating in the exhibition. With at least 10 years of wood carving experience, the chance of their participation would increase by 41.30 percent. 3) The sample group’s attitude about attracting tourists and shoppers to the area had a negative correlation coefficient which indicated that people who were not tourists and shoppers had a higher chance of participating in the wood carving exhibition. This factor would lead to a 41.86 percent increase in the likelihood of people to participate. 4) The gender of the sample group was a significant factor in affecting the people’s decision in participating in the wood carving exhibition. A 99 percent confidence interval indicated that males were more likely to participate in the exhibition than females. The chance increase was 21.73 percent. 5) Marital status was a significant factor in affecting the people’s decision in participating in the wood carving exhibition. A 90 percent confidence interval indicated a 17.46 percent increase in chance of exhibition participation for those who are married. 6) Satisfaction in revenue generated from organizing the exhibition was a significant factor in affecting the people’s decision in participation. A 90 percent confidence interval indicated that people experience satisfaction from other factors not limited to revenue generated from organizing the exhibition. This led to a 28.49 percent increase in chance of people deciding to participate in the wood carving exhibition at Mae Tha district. 7) The sample group’s perception of increasing public awareness of the wood carving exhibition was a significant factor in affecting the people’s decision in participation. A 90% confidence interval indicated that the wood carving exhibition was popular amongst the public. This led to a 24.96 percent increase in chance of people deciding to participate in the wood carving exhibition at Mae Tha district. The study revealed the following problems: 1) wood used for carving violated forest protection laws; 2) high production costs; 3) expensive selling prices due to high production costs limited the target market to high income customers, where middle and low income customers have no purchasing power to afford the products; 4) tourists’ perception of wood carving products in Mae Tha district as more expensive than those at Baan Tawai, Chiang Mai province, reduced the revenue generated from the exhibition; 5) increased scarcity of talented craftsmen due to career shifts.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดงานไม้แกะสลักen_US
dc.subjectการตัดสินใจen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานไม้แกะสลักประจำปีของประชาชนในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeFactoros Affecting the People’s Decision on Participation in Wood Handicraft Exhibition in Mae Tha District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.classification.ddc736.4-
thailis.controlvocab.thashการแกะสลักไม้ -- แม่ทา (ลำพูน)-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 736.4 ธ374ป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานไม้แกะสลักประจำปีของประชาชนในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของประชาชนกลุ่มไม้แกะสลักในอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานไม้แกะสลักประจำปีของอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน และ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการ การศึกษากลุ่มประชาชนที่ประกอบอาชีพงานไม้แกะสลักทั้งรับจ้างแกะสลักและเป็นผู้ประกอบการที่เคยประกอบอาชีพงานไม้แกะสลักทั้งรับจ้างแกะสลักมาแล้ว จำนวน 500 คน ในพื้นที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ 1) ข้อมูลทั่วไปสถานภาพของบุคคล 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานไม้แกะสลัก 3) ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการจัดงานไม้แกะสลัก และมีการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) อาชีพหลัก เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการเข้าร่วมงาน อธิบายได้ว่า โอกาสที่ประชาชนจะเข้าร่วมงานไม้แกะสลักเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 81.34 นั่นคือ ประชาชนที่มีอาชีพหลักเป็นช่างแกะสลักหรือมีธุรกิจค้าไม้แกะสลักมีโอกาสสูงที่จะ เข้าร่วมงานก่อนเป็นอันดับแรก 2) ประสบการณ์แกะสลัก ปัจจัยนี้ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อประชาชนในการเข้าร่วมงานไม้แกะสลักอย่างมีนัยสำคัญเป็นอันดับสองรองจากอาชีพหลัก หากประชาชนมีการประกอบอาชีพแกะสลักมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โอกาสที่ประชาชนกลุ่มนี้จะเข้าร่วมงานไม้แกะสลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.30 คือกลุ่มประชาชนที่มีประสบการณ์ในด้านการแกะสลักเข้าร่วมงาน 3) ทัศนคติของประชาชนกลุ่มตัวอย่างว่าการดึงนักท่องเที่ยวและนักช้อปปิ้งเข้าสู่พื้นที่ ปัจจัยนี้ค่าสัมประสิทธิ์มีค่าเป็นลบ สามารถอธิบายได้ว่า ประชาชนกลุ่มที่ไม่ใช่นักท่องเที่ยวและนักช้อปปิ้งมีโอกาสที่จะเข้าร่วมงานไม้แกะสลักมากกว่า มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานไม้แกะสลัก อำเภอแม่ทา พบว่า หากประชาชนที่ไม่ได้เป็นนักท่องเที่ยวและนักช้อปปิ้ง มีโอกาสที่จะเข้าร่วมงานไม้แกะสลัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.86 4) เพศของกลุ่มตัวอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้าร่วมงานไม้แกะสลัก มีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% อธิบายได้ว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมงานที่เป็นเพศชายมีโอกาสที่จะเข้าร่วมงานมากกว่าเพศหญิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.73 5) สถานภาพสมรส เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมงานไม้แกะสลัก มี นัยยะสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมัน 90% อธิบายได้ว่า หากประชาชนที่มีสถานภาพสมรสแล้ว มีเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46 6) ความพึงพอใจกับรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัด เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% นั่นหมายความว่า ประชาชนผู้เข้าร่วมงานไม้แกะสลักมีความพึงพอใจในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากด้านรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน โอกาสที่ประชาชนจะเข้าร่วมงานไม้แกะสลัก อำเภอแม่ทา จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.49 7) ทัศนคติของประชาชนกลุ่มตัวอย่างว่าเป็นการทำให้งานไม้แกะสลักเป็นที่รู้จักมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% โดยค่าของปัจจัยที่มีต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมงาน หมายความว่างานไม้แกะสลัก อำเภอแม่ทา เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โอกาสที่ประชาชนจะเข้าร่วมงานไม้แกะสลัก อำเภอแม่ทาเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.96 ส่วนปัญหา อุปสรรคที่พบได้แก่ 1) ไม้ที่ใช้ในการแกะสลักขัดต่อกฎหมายที่ห้ามตัดไม่ทำลายป่า 2) ต้นทุนในการผลิตสูง 3) สินค้ามีต้นทุนที่สูง ราคาขายสินค้าจึงค่อนข้างแพงกลุ่มลูกค้าจึงเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีฐานะดีจึงทำให้คนระดับกลางถึงระดับล่างไม่มีอำนาจในการซื้อ 4)กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างมีความเห็นว่าราคาของไม้แกะสลักที่จำหน่ายในอำเภอแม่ทามีราคาขายที่สูงกว่าราคาขายที่หมู่บ้านถวาย จ.เชียงใหม่ ทำให้รายได้ลดลง 5) ช่างฝีมือเริ่มหายากมากขึ้น เนื่องจากหันไปประกอบอาชีพอื่นๆen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT170.85 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdf APPENDIX435.76 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1178.48 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdf CHAPTER 2377.47 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3203.21 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdf CHAPTER 4250.92 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdf CHAPTER 5214.31 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT167.41 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER507.73 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE241.3 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.