Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติสุดา ศรีสุข-
dc.contributor.authorอภิรักษ์ โภชพิพิธen_US
dc.date.accessioned2018-04-05T02:41:17Z-
dc.date.available2018-04-05T02:41:17Z-
dc.date.issued2557-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/45997-
dc.description.abstractThis research aims to analyze the operating conditions of the teachers used to do classroom action research, to analyze the problems of doing classroom action research and to assess suitably the needs for development of classroom action research of teachers by classifying each step of classroom action research. The samples used in this study were 376 people from multi-stage random (population 1,934 people, the confidence level of 95% of the sample must be more than 322 people).The research instruments created by synthesis the methods that the teachers used in doing classroom action research. The tool were divided into 3 sections, general information, conditions of doing classroom action research and problem condition of doing classroom action research. The reliability of the questionnaire in each section were 0.9797 and 0.9768 respectively. The data was analyzed by using basic statistics and Modified Priority Needs Index (PNImodified) to arrange the importance and the needed results. The findings of this research were as follows : 1. The analysis of the operating conditions of doing classroom action research. The highest condition that the teachers always do is defining some issues to run the classroom action research and the figure out plan. By contrast the lowest condition that the teachers always do is reflecting after the performance. 2. The analysis of the problem conditions of doing classroom action research. The analysis of the problems in the process of determining the issues that need to research and plan to modify top 3 are: (1) Teachers do not have time to plan or innovate in research, (2) the teacher can not do the research to develop the learners individually because there are too many students in the class, and (3) the schools do not have the examples of innovation or the tools to do the research. The analysis of the problems, in the process of implementing the planned top 3 are: (1) the teachers have too much responsibility in the work, (2) the teachers can not perform research on time and (3) the teachers can not apply the result of the previous research into the real performances visibly. The analysis of the problems, in the process of observing the effects of operating top 3 are: (1) the teachers do not have time to follow up on findings continuously, (2) the teachers do not have helpers to collect data while they are teaching and (3) the school lack of data collecting instrument examples. And analysis of the problem condition in the process of reflection after practice top 3 are: (1) The teachers do not have time to meet colleagues who are concerned to attend the performance (2) the colleagues and others have no time for reflection on the research, and (3) the teacher does not know how to reflect the findings. 3. The results of the assessment about the needs of doing classroom action research. The needs to determine the issues that need to research and plan to modify the most important is to do the research to develop the student as an individual, followed by an analysis the needs of individual learners. And recording information about the research issues. The requirements needed to follow the plan is to do research quickly to keep pace with the needs of the students, followed by controlling the research according to the research plan, and the revised research plan to be flexible. The requirements needed to observe the effects of the practice is to monitor the findings periodically to measure the development of students, followed by the simple inspection of the tools. To ensure the result of the measurement and record the issues that must be resolved in order to improve the next time. And the needs to reflect the performance including those who are concerned to attend the performance, followed by an opportunity for those involved to share reviews to achieve the learning. And an opportunity for those involved to share analysis approach to research utilization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการen_US
dc.subjectระดับมัธยมศึกษาen_US
dc.titleการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการทำวิจัย เชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในระดับมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeNeed Assessment for Developing Teacher’s Classroom Action Research in Secondary Levelen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc373.011-
thailis.controlvocab.thashวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาขั้นมัธยม -- วิจัย-
thailis.manuscript.callnumberว 373.011 อ163ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์สภาพของการปฏิบัติการที่ครูใช้ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัย และเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นสำหรับการพัฒนาการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูให้เหมาะสมตามวิธีการ ที่ควรจะเป็น จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 376 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (ประชากร 1,934 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้กลุ่มตัวอย่างไม่น้อยกว่า 322 คน) เครื่องมือสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์วิธีการที่ครูควรใช้ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูและตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ไปทดลองใช้กับครูที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เพื่อทำการตรวจสอบความเที่ยง (reliability) ด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีผลการหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามสภาพการปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูมีค่าเท่ากับ 0.9797 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามสภาพปัญหาในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู มีค่าเท่ากับ 0.9768 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การหาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ระดับการปฏิบัติในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ระดับการปฏิบัติในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู จำแนกตามแต่ละขั้นตอนของการวิจัยโดยสรุปรวม ผลปรากฏว่าขั้นตอนที่ครูมีการปฏิบัติสูงที่สุด คือ การกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยและแผนการแก้ไข ส่วนขั้นตอนการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน ครูมีการปฏิบัติน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ระดับการปฏิบัติการ พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกข้อรายการ 2. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในขั้นตอนของการกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยและแผนการแก้ไข สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) ครูไม่มีเวลาวางแผนหรือผลิตนวัตกรรมในการวิจัย (2) ครูไม่สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เป็นรายบุคคล เนื่องจากนักเรียนในความรับผิดชอบมีจำนวนมากและ (3) โรงเรียนไม่มีตัวอย่างนวัตกรรมหรือเครื่องมือให้ในการทำวิจัย ส่วนผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในขั้นตอนของการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด สูงสุด 3 อันดับแรกคือ (1) ครูมีงานประจำมากจนทำการวิจัยไม่ได้ตามแผน (2) ครูไม่สามารถปฏิบัติการวิจัยได้ทันตามกำหนดเวลา และ (3) ครูไม่สามารถนำแผนการวิจัยมาจัดทำเป็นสื่อหรือไม่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ ส่วนผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในขั้นตอนของการสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) ครูไม่มีเวลาที่จะติดตามผลการวิจัยอย่างต่อเนื่อง (2) ครูไม่มีผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลในขณะทำการสอน และ (3) โรงเรียนขาดตัวอย่างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้ศึกษา และผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาในขั้นตอนของการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน สูงสุด 3 อันดับแรก คือ (1) ครูไม่มีเวลาที่จะนัดหมายเพื่อนครูรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาเข้ารับฟังการปฏิบัติงาน (2) เพื่อนครูรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่มีเวลาสำหรับสะท้อนผลการทำวิจัยของครู และ (3) ครูไม่ทราบวิธีการสะท้อนผลการวิจัย 3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ความต้องการจำเป็นในการกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยและแผนการแก้ไขที่สำคัญที่สุด คือ การทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล รองลงมา ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และการบันทึกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาวิจัย ส่วนความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดที่สำคัญที่สุด คือการทำวิจัยอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อการแก้ปัญหาของผู้เรียนรองลงมา ได้แก่ การควบคุมการวิจัยให้เป็นไปตามแผนการวิจัยที่วางไว้และการปรับแผนการทำวิจัยให้มีความยืดหยุ่น ส่วนความต้องการจำเป็นในการสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่สำคัญที่สุด คือการคอยตรวจสอบผลการวิจัยเป็นระยะ ๆ เพื่อวัดพัฒนาการของผู้เรียนรองลงมา ได้แก่ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมืออย่างง่าย เพื่อให้มั่นใจในผลของสิ่งที่ต้องการวัด และการบันทึกประเด็นที่ต้องแก้ไข เพื่อนำไปปรับปรุงในการปฏิบัติครั้งต่อไป และความต้องการจำเป็นในการสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงานที่สำคัญที่สุด คือ การเชิญเพื่อนครูรวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาเข้ารับฟังการปฏิบัติงานรองลงมา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์งานวิจัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์  en_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ABSTRACT.pdfABSTRACT204.37 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
APPENDIX.pdfAPPENDIX402.25 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 1.pdfCHAPTER 1263.05 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 2.pdfCHAPTER 2694.92 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 3.pdfCHAPTER 3312.2 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 4.pdfCHAPTER 4343.54 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CHAPTER 5.pdfCHAPTER 5203.7 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
CONTENT.pdfCONTENT166.95 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
COVER.pdfCOVER617.66 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy
REFERENCE.pdfREFERENCE218.61 kBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.